ผู้สันทัดกรณีชี้ กกต.อาจส่งศาลผิดกรณีวินิจฉัยสมาชิกภาพของ “สุรเดช” เพราะเป็นการร้องเรื่องคุณสมบัติการรับสมัคร จึงถือว่ายังอยู่ระหว่างขั้นตอนและกระบวนการของการเลือกตั้ง จึงเป็นหน้าที่ของศาลฎีกา แต่ กกต.กลับไปยื่นต่อศาล รธน.
วันนี้ (9 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอเรื่องให้ประธานวุฒิสภา เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสมาชิกภาพของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี เนื่องจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบกำหนด 5 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 115 (6) และเป็นเหตุให้สิ้นสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (4) อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาข้อถกเถียงกันอยู่ แม้แต่ในระดับชั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน หรือแม้แต่ใน กกต.เองก็ยังมีความเห็นในเรื่องนี้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากการกรณีดังกล่าว มีผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ดังนั้น กรณีของนายสุรเดชนี้น่าที่จะส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณา การที่ กกต.มีมติส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นจะเป็นการยื่นผิดศาลหรือไม่
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ นายสุรเดช นั้นยังร้องในขณะที่อยู่ในขั้นตอนของการเลือกตั้ง คือ เป็นการร้องคัดค้านหลังจากประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไม่ถึง 30 วัน อีกทั้งการร้องในครั้งนั้นเป็นการร้องเรื่องคุณสมบัติการรับสมัคร เรื่องจึงถือว่ายังอยู่ระหว่างขั้นตอนและกระบวนการของการเลือกตั้ง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่ กกต. เสียงส่วนมากกลับมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณสมบัติ โดยไม่มองว่าเป็นในขั้นตอนของกระบวนการเลือกตั้งหรือไม่ จึงเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 91
“กรณีนี้มีคนมองว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการรับพิจารณาวินิจฉัยกรณีนี้หรือไม่ เพราะกระบวนการของการดำเนินการของ กกต.ที่ต้องพิจารณาตามระเบียบของการสืบสวนสอบสวนของ กกต. เมื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนจนได้ข้อเท็จจริงปรากฏ และเห็นว่าสมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ต้องส่งเรื่องให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้วินิจฉัย ตามมาตรา 239 ของรัฐธรรมนูญมากกว่า”
วันนี้ (9 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอเรื่องให้ประธานวุฒิสภา เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสมาชิกภาพของนายสุรเดช จิรัฐิติเจริญ ส.ว.ปราจีนบุรี เนื่องจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไม่ครบกำหนด 5 ปี ตามที่รัฐธรรมนูญมาตรา 115 (6) และเป็นเหตุให้สิ้นสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญมาตรา 119 (4) อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวยังคงเป็นปัญหาข้อถกเถียงกันอยู่ แม้แต่ในระดับชั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวน หรือแม้แต่ใน กกต.เองก็ยังมีความเห็นในเรื่องนี้ที่แตกต่างกัน เนื่องจากการกรณีดังกล่าว มีผู้ร้องคัดค้านการเลือกตั้ง ดังนั้น กรณีของนายสุรเดชนี้น่าที่จะส่งให้ศาลฎีกาเป็นผู้พิจารณา การที่ กกต.มีมติส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นจะเป็นการยื่นผิดศาลหรือไม่
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า การร้องให้ตรวจสอบคุณสมบัติของ นายสุรเดช นั้นยังร้องในขณะที่อยู่ในขั้นตอนของการเลือกตั้ง คือ เป็นการร้องคัดค้านหลังจากประกาศรับรองผลการเลือกตั้งไม่ถึง 30 วัน อีกทั้งการร้องในครั้งนั้นเป็นการร้องเรื่องคุณสมบัติการรับสมัคร เรื่องจึงถือว่ายังอยู่ระหว่างขั้นตอนและกระบวนการของการเลือกตั้ง ซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดว่า เป็นหน้าที่ของศาลฎีกาที่จะพิจารณาเรื่องดังกล่าว แต่ กกต. เสียงส่วนมากกลับมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของคุณสมบัติ โดยไม่มองว่าเป็นในขั้นตอนของกระบวนการเลือกตั้งหรือไม่ จึงเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 91
“กรณีนี้มีคนมองว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจในการรับพิจารณาวินิจฉัยกรณีนี้หรือไม่ เพราะกระบวนการของการดำเนินการของ กกต.ที่ต้องพิจารณาตามระเบียบของการสืบสวนสอบสวนของ กกต. เมื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวนจนได้ข้อเท็จจริงปรากฏ และเห็นว่าสมควรให้มีการเลือกตั้งใหม่ก็ต้องส่งเรื่องให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาให้วินิจฉัย ตามมาตรา 239 ของรัฐธรรมนูญมากกว่า”