“เพื่อไทย” หน้าสลอนแถลงข่าวโจมตีรัฐบาลรายวัน โวยไม่ทำตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ส่อเค้านักลงทุนย้ายหนีไปลงทุนต่างประเทศ เฉ่งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมล้มเหลว หลังศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับ 65 โครงการ ทีม กม. เล็งยื่นถอดถอน “มาร์ค”
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสุชาติ ธาดาธำรงค์เวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน ร่วมกันแถลงข่าวผลการศึกษา ของคณะทำงานติดตามการดำเนินงานของรัฐบาล กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับ 65 โครงการในเขตมาบตาพุด โดยนายปานปรีย์ กล่าวว่า รัฐบาลขาดการติดตามแก้ไขปัญหา การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และกำกับให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 1 ปีรัฐบาลปล่อยวาง ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหา ไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ว่าจะป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชน รวมทั้งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในการคุ้มครองสิทธิของชุมชนจากมลภาวะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ ทั้งในด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้าน นายสุชาติกล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่าจะทำให้จีดีพีปี 2553 ลดลงประมาณ 0.5% ต่อปี การส่งออกจะลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่ม การจ้างงานทั้งประเทศลดลงประมาณ 200,000 คน กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ คือ ปิโตรเลียมและการกลั่น ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ พลาสติกและยาง เหล็ก ปูนซีเมนต์ ยานยนต์ ส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของภาษีเงินได้นิติบุคคลจะลดลง การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะลดลงตามปริมาณการบริโภคที่ลดลง กระทบต่อสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ลงทุนขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศ จนอาจมีการพิจารณาย้ายการผลิตไปลงทุนในต่างประเทศ
ขณะที่ นายประเกียรติกล่าวว่า รัฐบาลละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหลายข้อ เช่น มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ไม่ให้ความสำคัญกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเพื่อออกใบอนุญาตในการลงทุนให้กับทั้ง 76 โครงการ พยายามปรับแก้เนื้อหากฎหมายในมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้นฝ่ายกฎหมายจึงลงความเห็นว่าจะปล่อยรัฐบาลไว้ต่อไปไม่ได้ จึงจะเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อไป
วันนี้ (9 ธ.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนายสุชาติ ธาดาธำรงค์เวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน ร่วมกันแถลงข่าวผลการศึกษา ของคณะทำงานติดตามการดำเนินงานของรัฐบาล กรณีศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งระงับ 65 โครงการในเขตมาบตาพุด โดยนายปานปรีย์ กล่าวว่า รัฐบาลขาดการติดตามแก้ไขปัญหา การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และกำกับให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ตลอดระยะเวลา 1 ปีรัฐบาลปล่อยวาง ไม่ใส่ใจแก้ไขปัญหา ไม่มีการดำเนินการให้เป็นไปตามคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ว่าจะป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมกับประชาชน รวมทั้งบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญปี 2550 ในการคุ้มครองสิทธิของชุมชนจากมลภาวะที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ ทั้งในด้านความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
ด้าน นายสุชาติกล่าวว่า จากการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พบว่าจะทำให้จีดีพีปี 2553 ลดลงประมาณ 0.5% ต่อปี การส่งออกจะลดลง ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่ม การจ้างงานทั้งประเทศลดลงประมาณ 200,000 คน กลุ่มอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ คือ ปิโตรเลียมและการกลั่น ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ พลาสติกและยาง เหล็ก ปูนซีเมนต์ ยานยนต์ ส่งผลทำให้การจัดเก็บรายได้ของภาษีเงินได้นิติบุคคลจะลดลง การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะลดลงตามปริมาณการบริโภคที่ลดลง กระทบต่อสถาบันการเงิน รวมทั้งผู้ลงทุนขนาดใหญ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นในการลงทุนในประเทศ จนอาจมีการพิจารณาย้ายการผลิตไปลงทุนในต่างประเทศ
ขณะที่ นายประเกียรติกล่าวว่า รัฐบาลละเว้นการปฏิบัติตามกฎหมายหลายข้อ เช่น มาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ไม่ให้ความสำคัญกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเพื่อออกใบอนุญาตในการลงทุนให้กับทั้ง 76 โครงการ พยายามปรับแก้เนื้อหากฎหมายในมาตรา 51 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ให้สอดคล้องกับมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้นฝ่ายกฎหมายจึงลงความเห็นว่าจะปล่อยรัฐบาลไว้ต่อไปไม่ได้ จึงจะเสนอคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีต่อไป