ทภ.4 ยันพร้อมใช้ พ.ร.บ.มั่นคงคุมสถานการณ์ 4 อำเภอสงขลา ด้านรองนายกฯ “สุเทพ” สั่งระงับใช้ ม.21 ระบุสิทธินิรโทษกรรม หวั่นกระทบคดีอาญาใต้ โยน ยธ.ทำกรอบชัดเจนแล้วชง ครม.พิจารณาอีกครั้ง ขณะที่ ผบ.พตท.เผยตรียมใช้ช่วงพบญาติ ชักจูงคนหลงผิดให้กลับเนื้อกลับตัว และยอมมอบตัวกับเจ้าหน้าที่
วันนี้ (1 ธ.ค.) พล.ต.กสิกร คีรีศรี ผู้บัญชาการกองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) กล่าวถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ว่า การประกาศในพื้นที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล โดยยกเลิกอัยการศึกใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงแทน ซึ่งกองทัพภาคที่ 4 เตรียมการจัดตั้งหน่วยที่จะใช้และรับมอบอำนาจตามกฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงที่มีอยู่ และให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติใน 4 อำเภอ ทั้งนี้ วันนี้เรามีความพร้อมใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง แต่คงต้องลองดูว่าพื้นที่ 4 อำเภอที่มีเหตุการณ์น้อยการปฏิบัติยุทธการไม่มาก เป็นการดีที่จะได้เริ่มทดลองว่ามีผลอย่างไร อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนมหามงคล ได้สั่งการให้ทุกหน่วยทำกิจกรมให้พี่น้องทุกหมู่เหล่ามีกิจกรมสามัคคี ผู้หลงผิดจะเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรม และญาติจะชักจูงผู้หลงผิดกลับเข้ามาก็ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีติดต่อยังญาติผู้ก่อเหตุเพื่อให้พาผู้ก่อเหตุมามอบตัว แต่หากผู้ที่เข้ามามอบตัวมีความผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย แต่เรารับรองว่าเขาจะได้ความเป็นธรรมทางกฎหมาย
“ขณะนี้เรารณรงค์ในเลิกพฤติกรมที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่ง พ.ร.บ.ความมั่นคง ไม่ได้พูดถึงการนิรโทษกรรม ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่เราจะเน้นการเลิกพฤติกรรม แต่หากเมื่อไรที่ก้าวข้ามขั้นไปประกาศมาตรา 21 ใน พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งคล้ายกับการนิรโทษกรรม ค่อยว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง ทั้งนี้ กลุ่มขบวนการมีประมาณ 10,000 คน ทั้งผู้ก่อเหตุ แนวร่วม และแกนนำ ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ทราบที่อยู่และรู้ตัวแล้วกว่า 9,000 คน แต่ที่ยังจับกุมไม่ได้ เพราะที่อยู่ตามบัตรประชาชน แต่ไม่ใช่ที่เขาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาจะเคลื่อนไหวหลบซ่อนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลยังไม่พบสิ่งบอกเหตุว่า มีกลุ่มก่อการร้ายนอกประเทศเข้ามาร่วมด้วย” พล.ท.กสิกร กล่าว
ด้านแหล่งข่าวนายทหารจากกองทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา จะเริ่มใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก ทั้งนี้ ทางศูนย์อำนวยการร่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาแล้ว ยังมีข้อห่วงใยที่อาจกระทบต่อการทำงานในพื้นที่ คือ ตามมาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดเข้ามามอบตัวแล้วจะได้สิทธิพิเศษ ซึ่งอาจกระทบกับคดีอาญาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ดังนั้น ทำให้นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะเป็นประธานศูนย์อำนวยการร่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ให้มีการระงับการประกาศใช้มาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ก่อน โดยจะให้กระทรวงยุติธรรมนำกลับไปพิจารณารายละเอียดของขอบข่ายการเงื่อนไขที่ ผู้กระทำผิดจะมีสิทธิตามมาตรา 21 เพื่อให้มีกรอบกฎหมายที่ชัดเจน และเมื่อได้กรอบชัดเจนจะมีการนำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศกรอบชัดเจนอีกครั้ง แต่ขณะนี้มาตราอื่นใน พ.ร.บ.ความมั่นคง ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ
วันนี้ (1 ธ.ค.) พล.ต.กสิกร คีรีศรี ผู้บัญชาการกองกำลังผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) กล่าวถึงการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (พ.ร.บ.ความมั่นคง) ว่า การประกาศในพื้นที่เป็นไปตามนโยบายรัฐบาล โดยยกเลิกอัยการศึกใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงแทน ซึ่งกองทัพภาคที่ 4 เตรียมการจัดตั้งหน่วยที่จะใช้และรับมอบอำนาจตามกฎหมาย พ.ร.บ.ความมั่นคงที่มีอยู่ และให้ความรู้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติใน 4 อำเภอ ทั้งนี้ วันนี้เรามีความพร้อมใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง แต่คงต้องลองดูว่าพื้นที่ 4 อำเภอที่มีเหตุการณ์น้อยการปฏิบัติยุทธการไม่มาก เป็นการดีที่จะได้เริ่มทดลองว่ามีผลอย่างไร อย่างไรก็ตาม ในเดือนธันวาคมซึ่งเป็นเดือนมหามงคล ได้สั่งการให้ทุกหน่วยทำกิจกรมให้พี่น้องทุกหมู่เหล่ามีกิจกรมสามัคคี ผู้หลงผิดจะเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้ทางกระบวนการยุติธรรม และญาติจะชักจูงผู้หลงผิดกลับเข้ามาก็ได้ โดยเจ้าหน้าที่จะใช้วิธีติดต่อยังญาติผู้ก่อเหตุเพื่อให้พาผู้ก่อเหตุมามอบตัว แต่หากผู้ที่เข้ามามอบตัวมีความผิดก็ต้องดำเนินการตามกฎหมาย แต่เรารับรองว่าเขาจะได้ความเป็นธรรมทางกฎหมาย
“ขณะนี้เรารณรงค์ในเลิกพฤติกรมที่ทำผิดกฎหมาย ซึ่ง พ.ร.บ.ความมั่นคง ไม่ได้พูดถึงการนิรโทษกรรม ยังไม่ถึงขั้นนั้น แต่เราจะเน้นการเลิกพฤติกรรม แต่หากเมื่อไรที่ก้าวข้ามขั้นไปประกาศมาตรา 21 ใน พ.ร.บ.ความมั่นคง ซึ่งคล้ายกับการนิรโทษกรรม ค่อยว่ากันอีกขั้นตอนหนึ่ง ทั้งนี้ กลุ่มขบวนการมีประมาณ 10,000 คน ทั้งผู้ก่อเหตุ แนวร่วม และแกนนำ ซึ่งเราสามารถพิสูจน์ทราบที่อยู่และรู้ตัวแล้วกว่า 9,000 คน แต่ที่ยังจับกุมไม่ได้ เพราะที่อยู่ตามบัตรประชาชน แต่ไม่ใช่ที่เขาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งเขาจะเคลื่อนไหวหลบซ่อนในพื้นที่ต่างๆ ทั้งนี้ จากข้อมูลยังไม่พบสิ่งบอกเหตุว่า มีกลุ่มก่อการร้ายนอกประเทศเข้ามาร่วมด้วย” พล.ท.กสิกร กล่าว
ด้านแหล่งข่าวนายทหารจากกองทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า ในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ในพื้นที่ 4 อำเภอของ จ.สงขลา จะเริ่มใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเลิกการใช้กฎอัยการศึก ทั้งนี้ ทางศูนย์อำนวยการร่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พิจารณาแล้ว ยังมีข้อห่วงใยที่อาจกระทบต่อการทำงานในพื้นที่ คือ ตามมาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดเข้ามามอบตัวแล้วจะได้สิทธิพิเศษ ซึ่งอาจกระทบกับคดีอาญาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตาม พ.ร.บ.ความมั่นคง ดังนั้น ทำให้นาย สุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะเป็นประธานศูนย์อำนวยการร่วมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ให้มีการระงับการประกาศใช้มาตรา 21 ของ พ.ร.บ.ความมั่นคง ก่อน โดยจะให้กระทรวงยุติธรรมนำกลับไปพิจารณารายละเอียดของขอบข่ายการเงื่อนไขที่ ผู้กระทำผิดจะมีสิทธิตามมาตรา 21 เพื่อให้มีกรอบกฎหมายที่ชัดเจน และเมื่อได้กรอบชัดเจนจะมีการนำเข้าคณะรัฐมนตรี เพื่อประกาศกรอบชัดเจนอีกครั้ง แต่ขณะนี้มาตราอื่นใน พ.ร.บ.ความมั่นคง ก็สามารถใช้ได้ตามปกติ