คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอรัฐบาลทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดภายในสิ้นปีนี้ เหตุไม่คุ้มงบประมาณที่รัฐต้องแบกรับภาระและไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการประหยัด แต่อาจให้คงไว้แค่ รถเมล์-รถไฟฟรี
วานนี้ (23 พ.ย.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งความเห็นของ สศช.แล้วเห็นว่ารัฐบาลควรเลือกต่ออายุให้กับบางมาตรการที่ให้ประโยชน์กับประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่น การรับภาระค่าโดยสารรถเมล์ฟรี และค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ฟรีเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นและให้ประโยชน์ต่อประชาชนครอบคลุมมากกว่าการให้ใช้น้ำไฟฟรีตามปริมาณที่กำหนด
“สศช.เห็นว่าควรยกเลิกมาตรการการใช้น้ำ-ไฟฟรีออกไป เพราะเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปที่สำคัญยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเกิดขึ้นแต่อย่างใด ขณะที่เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดน่าจะนำมาใช้สำหรับมาตรการที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับคนจำนวนมากจริงๆ ทั้งเรื่องของค่ารถเมล์และค่ารถไฟชั้น 3 เท่านั้น ที่ทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า”
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่จะพิจารณา ส่วนตนเองไม่ใช่นักการเมืองจึงไม่สามารถระบุได้ว่ารัฐบาลจะยกเลิกหรือไม่ แต่ในแง่ของ สศช.แล้วเห็นว่าควรใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ่มค่ามากที่สุดและยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจกับการประหยัดพลังงานให้มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ 5 มาตรการ 6 เดือนที่นำออกมาใช้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระค่าครองชีพจากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงเป็นหลัก
ทั้งนี้ มาตรการลดค่าครองชีพให้ประชาชนจะสิ้นสุดระยะเวลาในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ ประกอบด้วย มาตรการรับภาระการใช้จ่ายการใช้น้ำประปาของครัวเรือนที่กำหนดไว้ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งทำให้ประชาชนประหยัดค่าน้ำได้เดือนละ 197-200 บาทต่อเดือน ใช้งบประมาณ 5,840 ล้านบาท มาตรการรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ซึ่งครอบคลุมประชาชน 11 ล้านราย ใช้งบประมาณ 6,811 ล้านบาท มาตรการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถโดยสาร (ขสมก.) ทำให้ประชาชน 4 แสนคน สามารถขึ้นรถเมล์ฟรี ใช้งบประมาณ 650 ล้านบาท มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถไฟชั้น 3 ทำให้ประชาชน 3.2 ล้านคน ใช้บริการฟรี ใช้งบประมาณ 600 ล้านบาท
วานนี้ (23 พ.ย.) นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า รัฐบาลจำเป็นต้องทบทวนนโยบาย 5 มาตรการ 6 เดือน เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งความเห็นของ สศช.แล้วเห็นว่ารัฐบาลควรเลือกต่ออายุให้กับบางมาตรการที่ให้ประโยชน์กับประชาชนเป็นจำนวนมาก เช่น การรับภาระค่าโดยสารรถเมล์ฟรี และค่าโดยสารรถไฟชั้น 3 ฟรีเท่านั้น เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นและให้ประโยชน์ต่อประชาชนครอบคลุมมากกว่าการให้ใช้น้ำไฟฟรีตามปริมาณที่กำหนด
“สศช.เห็นว่าควรยกเลิกมาตรการการใช้น้ำ-ไฟฟรีออกไป เพราะเห็นว่าไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่เสียไปที่สำคัญยังไม่ได้ส่งเสริมให้เกิดการประหยัดเกิดขึ้นแต่อย่างใด ขณะที่เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดน่าจะนำมาใช้สำหรับมาตรการที่จำเป็นและเป็นประโยชน์กับคนจำนวนมากจริงๆ ทั้งเรื่องของค่ารถเมล์และค่ารถไฟชั้น 3 เท่านั้น ที่ทำให้เกิดประโยชน์มากกว่า”
อย่างไรก็ตาม ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่จะพิจารณา ส่วนตนเองไม่ใช่นักการเมืองจึงไม่สามารถระบุได้ว่ารัฐบาลจะยกเลิกหรือไม่ แต่ในแง่ของ สศช.แล้วเห็นว่าควรใช้เงินงบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ่มค่ามากที่สุดและยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ประชาชนหันมาสนใจกับการประหยัดพลังงานให้มากขึ้นด้วย ที่สำคัญ 5 มาตรการ 6 เดือนที่นำออกมาใช้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดภาระค่าครองชีพจากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงเป็นหลัก
ทั้งนี้ มาตรการลดค่าครองชีพให้ประชาชนจะสิ้นสุดระยะเวลาในวันที่ 31 ธ.ค.นี้ ประกอบด้วย มาตรการรับภาระการใช้จ่ายการใช้น้ำประปาของครัวเรือนที่กำหนดไว้ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อเดือน ซึ่งทำให้ประชาชนประหยัดค่าน้ำได้เดือนละ 197-200 บาทต่อเดือน ใช้งบประมาณ 5,840 ล้านบาท มาตรการรับภาระค่าใช้จ่ายไฟฟ้าสำหรับครัวเรือนไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน ซึ่งครอบคลุมประชาชน 11 ล้านราย ใช้งบประมาณ 6,811 ล้านบาท มาตรการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางด้วยรถโดยสาร (ขสมก.) ทำให้ประชาชน 4 แสนคน สามารถขึ้นรถเมล์ฟรี ใช้งบประมาณ 650 ล้านบาท มาตรการลดค่าใช้จ่ายเดินทางด้วยรถไฟชั้น 3 ทำให้ประชาชน 3.2 ล้านคน ใช้บริการฟรี ใช้งบประมาณ 600 ล้านบาท