xs
xsm
sm
md
lg

“น้องเดียว” ฉุนไข่แม้วตีรวนถกลับ ยกเลิก MOU อ้างละเอียดอ่อน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
“สาทิตย์” ฉุน “ฝ่ายค้าน” ตีรวนค้านรัฐบาล เสนอถกวาระ “เขมร” ลับ ยันเรื่องละเอียดอ่อน เปิดสาธารณะอันตราย จวก “นพเหล่” บิดเบือนเอ็มโอยูพื้นที่ทับซ้อน ไทย-กัมพูชา ยอมรับเซ็นสมัยรัฐบาล ปชป.แต่ยืดเวลาทิ้งไว้ พิจารณาผล ปย.ประเทศ ไม่เหมือนรัฐบาล “แม้ว” 4 เดือน ตัดสินใจลงนาม


วันนี้ (9 พ.ย.) นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวถึงการที่รัฐบาลเสนอให้ถกประเด็นการยกเลิกสัญญาระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นการประชุมลับโดยที่ฝ่ายค้านไม่เห็นด้วยว่า หากฝ่ายค้านพูดเฉพาะในกรอบการเจรจาก็ไม่มีปัญหา แต่คุณไม่รับประกัน นายกฯถามว่าคุณรับประกันหรือเปล่า ว่า จะไม่พูดออกนอกกรอบ มันก็ไม่รับประกัน ได้แต่หัวเราะ หากถามเรื่องความลับทางทหาร การดำเนินการท่าทีของไทย หากรัฐบาลไม่ตอบหาว่าปิด ถ้าตอบไปก็เป็นสาธารณะ ถามว่าใครเสีย ก็ประเทศ อีกฝ่ายก็รู้หมดว่าจะทำอย่างนี้ๆ คิดว่าดาวเทียมเขาเปิดกันไม่ได้หรือไง เขาเปิดกันได้ทุกประเทศ นี่คือ ความละเอียดอ่อน รัฐบาลขอเป็นการประชุมลับก็หาว่ารัฐบาลใจแคบ ไม่เปิดกว้าง

ผู้สื่อข่าวถามว่า นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ออกมาบอกว่าเอ็มโอยูบางฉบับเซ็นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ นายสาทิตย์ กล่าวว่า ประเด็นคือ กรณีพื้นที่ทับซ้อนเป็นเอ็มโอยูที่ทำในปี 2544 แน่นอนเรื่องกรอบเจรจากรอบใหญ่ในเรื่องไทย-กัมพูชา มันมีมาก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ภายใต้กรอบใหญ่มันมีเรื่องละเอียดเรื่องเล็กน้อย หากเรื่องเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่มีการเจรจากันมาก่อนรัฐบาลชุดก่อน เขาคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ เขาถึงต้องใช้เวลาในการพิจารณาถึงผลดีผลเสียของประเทศ แต่รัฐบาลคุณทักษิณ กล้าหาญมากใช้เวลา 4 เดือน ตัดสินใจลงนามเลย

“คำถามคือ คุณละเอียดอ่อนพอไหม เคารพรับผิดชอบเพียงพอไหมกับผลประโยชน์ของประเทศ นี่คือ ประเด็น ฉะนั้นวันนี้ นายนพดล ก็ออกมาบิดเบือนว่า ทำสมัยนั้น สมัยโน้น บางฉบับเซ็นสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ แต่ประเด็นคือ กรณีพื้นที่ทับซ้อนซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนของผลประโยชน์ประเทศชาติ รัฐบาลอื่นเขายืดระยะเวลา พรุ่งนี้ ใน ครม.ต้องคุยกันเยอะในประเด็นนี้ เพราะได้ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องศึกษาข้อกฎหมายมา โดยเฉพาะการบอกเลิกฝ่ายเดียวทำได้หรือไม่ แต่ในฐานะเราเป็นรัฐบาลไทย ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติมาก่อนเรื่องอื่น แต่ต้องดูผลกระทบระหว่างประเทศในแง่ข้อกฎหมายด้วย” นายสาทิตย์ กล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น