xs
xsm
sm
md
lg

ปชป.แขวะ “จิ๋ว” แจงโมเดลรัฐปัตตานี จี้ใจดำกรือเซะผลงานอัปยศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เทพไท เสนพงศ์
ปชป.เตรียมขยับช่วย ส.ส.ใน 3 จว.ภาคใต้ หลัง “จิ๋ว” เจาะพื้นที่ “เทพไท” เตือนอย่ากวนน้ำให้ขุ่น จี้แจงความชัดเจน “โมเดลนครปัตตานี” แนะลงไปดูกรือเซะ ตากใบ ผลงานอัปยศของ “แม้ว-จิ๋ว” ยอมรับ 3 จว.ภาคใต้เป็นจุดอ่อนแอที่สุด เปิดช่องให้หลายพรรคพยายามช่วงชิงพื้นที่ โฆษก ปชป.จวก “จิ๋ว” ลากสภาร่วมสร้างขัดแย้งระหว่างประเทศ


วันนี้ (3 พ.ย.) นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวภายหลังการประชุมวอร์รูมของพรรคประชาธิปัตย์ร่วมกับ ส.ส.5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ที่ประชุมได้พูดคุยถึงบทบาทของพรรคประชาธิปัตย์ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า ในภาวะที่เป็นรัฐบาลพรรคได้พยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มที่ จะปรับปรุงการทำงานของพรรค ให้มีบทบาทมากขึ้น เพราะที่ผ่านมาพรรคมีบทบาทค่อนข้างน้อย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นบทบาทของรัฐบาลมากกว่า และพรรคจะต้องสนองตอบต่อความคาดหวังของคนในพื้นที่มากขึ้น เพราะเชื่อว่าคนในพื้นที่คาดหวังกับการทำงานแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์มากกว่าพรรคอื่น ดังนั้น พรรคต้องปรับปรุงการทำงาน 3 ส่วน คือ 1.ต้องทำงานเคียงคู่กับรัฐบาลในเรื่องของโครงการต่างๆ 2.พรรคต้องทำงานร่วมกับภาคประชาชนอย่างเต็มที่และเต็มรูปแบบอย่างใกล้ชิด และ 3.พรรคต้องประสานงานกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีเขตแดนติดต่อกัน โดยมีการประสานงานในความร่วมมือของการพัฒนาระหว่างประเทศ

ส่วนกรณีการเคลื่อนไหวของ พล.อ.ชวลิต ในจังหวัดภาคใต้โดยการเสนอนโยยาบไทยร่มเย็นออกมาที่ประชุมได้วิเคราะห์เรื่องดังกล่าว โดยไม่มีความรู้สึกตระหนกตกใจหรือให้ความสำคัญเป็นกรณีพิเศษ แต่สิ่งที่แปลกใจคือการเสนอนครรัฐปัตตานี ซึ่งการเสนอการปกครองเช่นนี้ไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าเป็นอย่างไร จึงอยากให้ พล.อ.ชวลิต พูดให้ชัดเจน แล้วเสนอโมเดลของรัฐปัตตานีให้ชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร ส่วนที่จะทำนครปัตตานีให้เหมือนนครเชียงใหม่ อยากถามว่า จ.ยะลา และ จ.นราธิวาส พล.อ.ชวลิต จะคิดอย่างไรกับการปกครองใน 2จังหวัดนี้ด้วย หากพล.อ.ชวลิตจะเสนอรูปแบบการปกครองในรูปแบบพิเศษอาจจะเป็นการเปิดช่องว่างหม้มีการนำกาเรมืองนอกประเทศ หรือองค์กรสากลเข้ามาแทรกแซงในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ จึงไม่อยากให้สถานการณ์ในพื้นที่ดังกล่าวมีการเมืองหรือองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้อง เหมือนกรณีติมอร์ อาเจะห์ หรือปาเลสไตน์

“การลงพื้นที่ของ พล.อ.ชวลิต ในครั้งนี้อยากถามว่าลงไปเพื่ออะไร เพื่อไปก่อกวนสถานการณ์ กวนน้ำให้ขุ่น หรือเพื่อต้องการทำลายความน่าเชื่อถือของรัฐบาล ผมคิดว่าการลงไปครั้งนี้จะสร้างความลำบากใจให้กับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่ต้องเตรียมการรับ และสุ่มเสี่ยงต่อเหตุการณ์ความรุนแรงที่ไม่หวังดี ที่ต้องการท้าทายอำนาจรัฐ คิดว่า พล.อ.ชวลิต คงจะลงไปดูความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีส่วนร่วมในการก่อความผิดพลาดนี้ขึ้น ท่านจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าได้สบคบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อสร้างความรุนแรงและความเสียหายเกิดขึ้นในภาคใต้ หากท่านต้องการไปดูความเสียหายขอแนะนำให้ไปที่กรือเซะและสภอ.ตากใบ เพราะเป็นฝีมือของคนใกล้ชิด พล.อ.ชวลิต ล้วนๆ ในการสร้างความรุนแรงและบาดแผลให้จังหวัดใต้ และอยากเรียกร้องให้ พล.อ.ชวลิต หลังกลับมาจากใต้ให้สรุปแนวความคิดเพื่อให้สังคมวิพากษ์วิจารณ์ เพราะไม่รู้เรื่องว่า พล.อ.ชวลิตต้องการอะไร หากยังพูดไม่เข้าใจอีก อยากให้มีล่ามประจำตัวมาอธิบายในสิ่งที่ พล.อ.ชวลิตพูด” นายเทพไทกล่าว

ส่วนกรณีที่ทีมโฆษกพรรคเพื่อไทยทำกระทงพร้อมใส่ตะกร้อเพื่อมอบให้กับตนนั้น ขอเรียนว่าตนเป็นบุคคลสาธารณะที่วิจารณ์ได้ และไม่ถือสาแต่อยากเรียนว่าทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ไม่ใช่ชนวนความขัดแย้งและความรุนแรง เพียงแต่มีการให้สัมภาษณ์ของพรรคเพื่อไทยมาพาดพิงถึงรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ แต่ตนไม่นิยมไปฟ้องร้องคนที่กล่าวหาเรื่องส่วนตัวและการเมืองของตน แต่จะใช้วิธีการตอบโต้ชี้แจงตามสไตล์ของตน แทน จึงเรียกร้องให้ทีมโฆษกพรรคเพื่อไทยพึ่งสังวรและพิจารณาบทบาทของตัวเองก่อนที่จะไปเรียกร้องคนอื่น และอยากให้กลับไปดูต้นเหตุของความขัดแย้งและปัญหาของประเทศที่แท้จริงคือตัว พ.ต.ท.ทักษิณ เพียงผู้เดียวใช่หรือไม่

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมวอร์รูมได้วิเคาระห์หรือไม่ว่าที่พรรคต้องเข้าไปทำงานใน 3 จังหวัดภาคใต้ เพราะ ส.ส.ในพื้นที่ยังลงพื้นที่ไม่เพียงพอหรือไม่ นายเทพไทกล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ส.ส.ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้นัดหารือกันก่อนแล้ว แต่ประจวบเหมาะกับที่ พล.อ.ชวลิตลงไปใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เลยมีการมารายงานสถานการณ์ให้ทราบ และหยิบยกเรื่องนี้มาวิพากษ์วิจารณ์ในที่ประชุมเพื่อให้ทุกคนตกผลึกในความคิด และมีท่าทีในแนวทางเดียวกัน ตนคิดว่ ส.ส.ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่ามีบทบาทในระดับหนึ่ง แต่อย่ากให้ทำงานให้กระชับมากขึ้น ซึ่ง ส.ส.ในพื้นที่ได้ชี้ถึงปัญหาว่าส่วนหนึ่งเกิดจาก่ช่องว่างระหว่างรัฐบาลกับ ส.ส. ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องบทบาทตามรัฐธรรมนูญกำหนด ถือเป็นอุปสรรคให้การทำงานของ ส.ส.และรัฐบาลมีกำแพงกั้นอยู่ จึงต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้บทบาทการทำงานของ ส.ส.ผิดเงื่อนไขรัฐธรรมนูญมาตรา 265 1และ 266

เมื่อถามว่า มีการประเมินหรือไม่ว่าช่องว่างดังกล่าวจะทำให้พรรคอื่นถือโอกาสเข้าไปช่วงชิงพื้นที่ได้หรือไม่ นายเทพไทกล่าวว่า พื้นที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเป็นพื้นที่หลักของพรรคประชาธิปัตย์ เพียงแต่ยังเป็นพื้นที่ระเอียดอ่อน เช่น พรรคเพื่อไทยที่เคยเป็นพี้นที่เดิม จึงอาจจะทำให้รัฐบาลลงไปแก้ปัญหาได้โดยเฉพาะมีการตั้ง ครม.พิเศษ การตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ภาคใต้ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน เลยมีการเคลื่อนไหวผ่าน พล.อ.ชวลิต ลงไป ส่วนการเมืองกลุ่มอื่นเห็นว่าพื้นที่ตรงนี้น่าจะเป็นช่องว่างในภาคใต้มากที่สุด ก็มีพรรคมาตุภูมิ พรรคการเมืองใหม่ ถือว่าเป็นตลาดทางกาเรมืองของภาคใต้ที่ออกมาเคลื่อนไหวมากว่าพื้นที่อื่นทุกคนอาจจะคาดหวัง ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ต้องพยายามปรับปรุงและพัฒนาการทงานของตัวเองให้มากยิ่งขึ้น

ด้าน นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า พล.อ.ชวลิต จะตระหนักถึงบทบาทในฐานะที่เป็นอดีตผู้นำประเทศับการเดินทางไปเยือนต่างประเทศและจะได้รับการตอบรับที่ดีว่า ขอให้ยึดหลักการฑูตส่วนตัวจะต้องใช้เพื่อประโยชน์ส่วนร่วมของประเทศ กรณีปัญหาการเดินทางไปกัมพูชาเกิดขึ้นเพราะใช้การทูตส่วนตัว เพื่อประโยชน์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายใน และการเลือกจังหวะเวลาในการเคลื่อนไหว ก่อนการประชุมอาเซียน หรือการลงไปเยือนภาคใต้ ก่อนที่นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะมาเยือนไทย ตนคิดว่าการให้ความชัดเจนถึงบทบาทในการร่วมหารือเพื่อแก้ปัญหาประเทศ เป็นเรื่องที่สำคัญและต้องตระหนักตลอดเวลา

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า 2.ต้องระวังการอิงวัตถุประสงค์ทางการเมือง โดยเฉพาะการเดินสายไปประเทศต่างๆ หากมีวัตถุประสงค์เพื่อล๊อบบี้ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีจะเกิดปัญหาตามมา เหมือนกรณีความสับสนและกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมของไทยหลังจากไปเยือนกัมพูชา ถือเป็นบทเรียนที่ต้องพึ่งตระหนักไว้ 3.การหารือถึงปัญหาการร่วมมือกันระหว่างประเทศที่ไปเยือนควรทำในลักษณะของการรับฟังและให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ 2 เรื่อง คือ 1.อ้างบทบาทว่าไปในนามของกรรมมาธิการของสภาซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะในกรณีประเทศกัมพูชาเกิดขึ้นในลักษณะไปแก้ปัญหาที่ตัวเองก่อขึ้น แต่เพิ่มปัญหาความขัดแย้งในส่วนที่เดิมเป็นระหว่างพรรคการเมือง กลายเป็นสภาเข้ามามีส่วนร่วมโดยไม่รู้เห็นแต่อย่างใด 2.ต้องระวังว่าจะไม่นำไปสู่การเจรจาใดๆ ในนามของรัฐบาลก่อนที่จะมีการหารืออย่างชัดเจนก่อน ซึ่งในอดีตกรณี 3 จังหวัดชายแดตภาคใต้เคยมีความพยายามจะเจรจาโดย พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร แล้วทำให้เกิดปัญหาความสับสนตามมาจึงอยากให้พึ่งระวังด้วย

นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า การเสอนนโยบายของพรรคเพื่อไทยภายใต้โครงการไทยร่มเย็น เป็นมิตรเพื่อนบ้าน ถือเป็นแนวทางที่ดีในการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่พรรคการเมืองสามารถมีบทบาทในการเป๋นทางเลือก ซึ่งถือว่าดีกว่าใช้วิธกีการปลุกระดมให้เกิดความวุ่นวายในประเทศ แต่แนวทางดังกล่าวต้องสอดรับกับพฤติกรรมการปฏิบัติจริงด้วย อย่านำไปสู่การชักศึกนอก ก่อศึกใน และสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติเป็นเด็ดขาด

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่อง 5 จังหวัดภาคใต้ โดยพรรคสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ในการออกกฎหมาย การบริหารพิเศษ แต่ที่ประชุมได้ฝากรัฐบาลไว้เป็นกรณีพิเศษคือ การทวงคืนความเป็นธรรมจากปัญหาที่เกิดจากรัฐบาลชุดก่อน ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องสะสาง และรัฐบาลควรดูเรื่องการเยียวยาในกรณีตากใบ กรือเซะ ควบคู่ไปกับการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ด้วย

ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมได้หารือถึงการตั้งรัฐปัตตานีหรือไม่ นพ.บุรณัชย์ กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นว่า พล.อ.ชวลิต เคยเสนอเรื่องนี้ในสมัยที่เป็นรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แต่มีความผิดพลาดในการดำเนินนโยบายของ พ.ต.ท.ทักษิณ ทั้งเรื่องอุ้มฆ่า ละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้นโยบายเดินหน้าไม่ได้ ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเห็นด้วยว่า พล.อ.ชวลิต ต้องพูดถึงวิธีอื่นๆ ในการเดินหน้ามากกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต เพราะพูดได้ลำบาก เนื่องจากเคยอยู่ในความรับผิดชอบด้านความมั่นคงในขณะนั้นด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น