มนุษย์ล้อ ยื่นอุทธรณ์ศาล ปค.สูงสุด ทวงถามสิทธิ์เพื่อคนพิการตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 หวังให้กลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สั่ง กทม.-บีทีเอสสร้างสิ่งความสะดวกให้คนพิการ
วันนี้ (21 ต.ค.) นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอและพวกรวม 3 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกคำฟ้อง ให้กรุงเทพมหานคร ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม.และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส ไม่ต้องจัดสร้างลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส โดย นายสนธิพงศ์ กล่าวว่า ต้องการให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลปกครองกลาง และบังคับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่อคนพิการ
เนื่องจากเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทราบถึงความจำเป็นและสิทธิของคนพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 แล้วว่าต้องได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมาย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงมีหน้าที่ต้องจัด ดำเนินการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้แก่คนพิการในบริเวณสถานีรถไฟฟ้า แม้การทำสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าฯจะทำก่อนที่กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ 2544 ใช้บังคับ แต่ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหลุดพ้นหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดบังคับให้ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนพิการ ซึ่งเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงข้อร้องของคนพิการที่ฟ้องคดีแล้วแต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัย ว่า การที่จะดำเนินการตามที่คนพิการฯร้องขอนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ ความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่จะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น การบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ให้บริการนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่า การบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน ก็เพื่อประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนโดยรวมอย่างทั่วถึงและเสมอภาคกันนั้น ดังนั้น การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ งบประมาณ และความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่จะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณา เพราะแม้แต่มีคนพิการคนเดียวหรือจำนวนเพียงใดก็ตามรัฐย่อมมีหน้าที่ต้องจัดสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชนทุกอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน อย่างไม่มีเงื่อนไข อีกทั้งปัจจัยดังกล่าวก็ไม่ใช่เหตุที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2528 และพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 ที่อ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในส่วนนี้ จึงขัดต่อสิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิคนพิการ อีกทั้งขัดต่อหลักการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง
วันนี้ (21 ต.ค.) นายสนธิพงศ์ มงคลสวัสดิ์ ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก นายสุภรธรรม มงคลสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อความเสมอและพวกรวม 3 คน ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด กรณีที่ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษายกคำฟ้อง ให้กรุงเทพมหานคร ผู้ว่าฯ กทม. ผอ.สำนักการโยธา กทม.และ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ บีทีเอส ไม่ต้องจัดสร้างลิฟต์ และสิ่งอำนวยความสะดวกทั่วบริเวณสถานี และบนขบวนรถสำหรับคนพิการที่มาใช้บริการระบบขนส่งมวลชนบีทีเอส โดย นายสนธิพงศ์ กล่าวว่า ต้องการให้ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลปกครองกลาง และบังคับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกต่อคนพิการ
เนื่องจากเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทราบถึงความจำเป็นและสิทธิของคนพิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วย ผู้สูงอายุ ตาม พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 แล้วว่าต้องได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฎหมาย ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด จึงมีหน้าที่ต้องจัด ดำเนินการให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้แก่คนพิการในบริเวณสถานีรถไฟฟ้า แม้การทำสัญญาสัมปทานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าฯจะทำก่อนที่กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2542) ออกตามความใน พ.ร.บ.การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการฯ และระเบียบคณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการว่าด้วยมาตรฐานอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการ 2544 ใช้บังคับ แต่ก็ไม่ใช่เหตุที่จะทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหลุดพ้นหน้าที่ตามกฎหมายที่กำหนดบังคับให้ต้องปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่คนพิการ ซึ่งเมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบถึงข้อร้องของคนพิการที่ฟ้องคดีแล้วแต่เพิกเฉยไม่ดำเนินการ จึงเป็นการละเลยต่อหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
และที่ศาลปกครองกลางวินิจฉัย ว่า การที่จะดำเนินการตามที่คนพิการฯร้องขอนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยในด้านต่างๆ เช่น งบประมาณ ความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่จะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้น การบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ให้บริการนั้น ผู้ฟ้องเห็นว่า การบริหารจัดการระบบขนส่งมวลชน ก็เพื่อประโยชน์สาธารณะแก่ประชาชนโดยรวมอย่างทั่วถึงและเสมอภาคกันนั้น ดังนั้น การจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการจึงไม่อาจหยิบยกเรื่องผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ งบประมาณ และความมั่นคงแข็งแรงของอาคารที่จะจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านั้นขึ้นมาพิจารณา เพราะแม้แต่มีคนพิการคนเดียวหรือจำนวนเพียงใดก็ตามรัฐย่อมมีหน้าที่ต้องจัดสาธารณูปโภคให้แก่ประชาชนทุกอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน อย่างไม่มีเงื่อนไข อีกทั้งปัจจัยดังกล่าวก็ไม่ใช่เหตุที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร 2528 และพ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ 2534 ที่อ้างเป็นข้อยกเว้นไม่ต้องจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกโดยตรงแก่คนพิการคำพิพากษาของศาลปกครองกลางในส่วนนี้ จึงขัดต่อสิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ และขัดต่อบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิคนพิการ อีกทั้งขัดต่อหลักการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง