ชงร่าง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฉบับแก้ปัญหามาบตาพุด เข้า ครม.เพื่อแต่งตั้ง กก.ชำนาญการให้อำนาจพิจารณารายงานการวิเคราะห์ พร้อมทั้งกำหนดองค์กรอิสระตาม รธน.ที่ต้องรายงานความเห็นภายใน 90 วัน ขณะที่ 3 หน่วยงานรัฐ เห็นพ้องสมควรสร้างความชัดเจนให้กระจ่าง โดยในส่วนเงินสนับสนุนรัฐ-เอกชน
วันนี้ (13 ต.ค.) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.วันนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... (กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง) มาเพื่อดำเนินการและมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดประเภทของโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง รวมกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ โดยประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมทั้งสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีคณะกรรมการชำนาญการเป็นผู้พิจารณารายงานการวิเคราะห์
โดยองค์กรอิสระต้องรายงานความเห็นภายใน 90 วัน และกรณีที่องค์กรอิสระไม่ให้ความเห็นชอบหรือความเห็นแตกต่าง ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอความเห็นกลับมาอีกครั้งต่อคณะกรรมการชำนาญการ และให้ความเห็นนี้ให้เป็นที่สุด
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระจำนวนหลายองค์กรนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ จึงเสนอให้มีองค์การอิสระตามกลุ่มประเภทของโครงการ หรือกิจกรรมที่ประกาศตามมาตรา 51/1 เพื่อให้ได้องค์ประกอบ ด้านองค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาที่สอดคล้องกับประเภทโครงการ หรือกิจกรรมที่ต้องพิจารณา รวมทั้งควรกำหนดแนวทางในการคัดเลือกผู้แทนขององค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาและแนวทางการพิจารณาโครงการ หรือกิจกรรมไว้ด้วย
ในร่างมาตรา 51/3 นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่ “มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกบการคุ้มครอง สงวน อนุรักษ์ หรือส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม” นั้น เสนอให้กำหนดข้อความให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ คือ “มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ”
กรณีที่องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้จดทะเบียนแล้ว และให้ความเห็นที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม ให้อำนาจรัฐมนตรีในการเพิกถอนการจดทะเบียนได้นั้น เสนอให้กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือมีกระบวนการพิจารณาที่ชัดเจนว่า ความเห็นอย่างไรที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม รวมทั้งกรณีที่องค์กรอิสระ ไม่ได้ให้ความเห็นภายใน 90 วัน จำนวนกี่ครั้ง จะเพิกถอนการจดทะเบียนหรือไม่ ทั้งนี้ควรกำหนดไว้ในกฏกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนด มิใช้ดุลยพินิจของรัฐมนตรีเท่านั้น
ขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ในหลักการร่าง พ.ร.บ.นี้ และมีข้อสังเกตในร่างมาตรา 51/2 ว่า หากสามารถลดกรอบระยะเวลาลงให้น้อยกว่า 90 วัน ได้ก็จะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนอีกทางหนึ่ง
ส่วนสำนักงานคณกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไปนี้
1.เห็นควรให้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2.ควรแยกบทบาทหน้าที่ของผู้แทนขององค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกจากการเป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าวอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดเงื่อนไขของผู้แทนในองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ให้สามารถเป็นผู้จัดทำรายการดังกล่าวได้ในขณะที่ดำรงสถานะของผู้แทน รวมทั้งการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากเจ้าของโครงการจากเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่องค์กรอิสระนั้น ควรพิจารณาความรอบคอบโดยอาจพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บผลตอบแทนจากภาคเอกชนและกำหนดสัดส่วนการสมทบเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ชัดเจน รวมทั้งพิจารณาความเหมาสมของการเรียกเก็บตามประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจะมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อถือ ความโปร่งใส และป้องกันปัญหาคงามขัดแย้งด้านผลประโยชน์
3.ควรกำหนดแนวทางให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ควบคู่ไปกับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ 4.ด้านกระบวนการรับฟังของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเห็นควรให้กระทรวงทรัพย์ฯ พิจารรษยกร่างหลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็น โดยยึดหลักความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล และเปิดกว่งให้ผู้มีส่วนได้เสียมุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยใช้ประสบการณ์ละปัญหาอุปสรรคในการรับฟังความคิดเห็นของโครงการต่างๆ ที่ผ่านมา ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้สามารถนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วน้สียไปเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจได้อย่างแท้จริง มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
5.เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพย์ และกระทรวงสาธารณสุข เร่งกำหนดขอบเขตหรือนิยามขนาดและประเภทโครงการ หรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ไว้ในรายงานดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินงานตามมาตรา 51/1 ของร่าง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
วันนี้ (13 ต.ค.) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุม ครม.วันนี้ ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่...) พ.ศ.... (กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณารายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง) มาเพื่อดำเนินการและมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่อง
ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศกำหนดประเภทของโครงการ หรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง รวมกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ โดยประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร รวมทั้งสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีคณะกรรมการชำนาญการเป็นผู้พิจารณารายงานการวิเคราะห์
โดยองค์กรอิสระต้องรายงานความเห็นภายใน 90 วัน และกรณีที่องค์กรอิสระไม่ให้ความเห็นชอบหรือความเห็นแตกต่าง ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอความเห็นกลับมาอีกครั้งต่อคณะกรรมการชำนาญการ และให้ความเห็นนี้ให้เป็นที่สุด
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงสาธารณสุข ให้ความเห็นว่า การกำหนดให้มีองค์กรอิสระจำนวนหลายองค์กรนั้น อาจทำให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติได้ จึงเสนอให้มีองค์การอิสระตามกลุ่มประเภทของโครงการ หรือกิจกรรมที่ประกาศตามมาตรา 51/1 เพื่อให้ได้องค์ประกอบ ด้านองค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาที่สอดคล้องกับประเภทโครงการ หรือกิจกรรมที่ต้องพิจารณา รวมทั้งควรกำหนดแนวทางในการคัดเลือกผู้แทนขององค์กรเอกชนและสถาบันการศึกษาและแนวทางการพิจารณาโครงการ หรือกิจกรรมไว้ด้วย
ในร่างมาตรา 51/3 นิติบุคคลหรือคณะบุคคลที่ “มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกบการคุ้มครอง สงวน อนุรักษ์ หรือส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม” นั้น เสนอให้กำหนดข้อความให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ คือ “มีวัตถุประสงค์หรือกิจกรรมเกี่ยวข้องโดยตรงด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ”
กรณีที่องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมได้จดทะเบียนแล้ว และให้ความเห็นที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม ให้อำนาจรัฐมนตรีในการเพิกถอนการจดทะเบียนได้นั้น เสนอให้กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือมีกระบวนการพิจารณาที่ชัดเจนว่า ความเห็นอย่างไรที่ไม่เป็นกลางหรือไม่เหมาะสม รวมทั้งกรณีที่องค์กรอิสระ ไม่ได้ให้ความเห็นภายใน 90 วัน จำนวนกี่ครั้ง จะเพิกถอนการจดทะเบียนหรือไม่ ทั้งนี้ควรกำหนดไว้ในกฏกระทรวงเพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนด มิใช้ดุลยพินิจของรัฐมนตรีเท่านั้น
ขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วย ในหลักการร่าง พ.ร.บ.นี้ และมีข้อสังเกตในร่างมาตรา 51/2 ว่า หากสามารถลดกรอบระยะเวลาลงให้น้อยกว่า 90 วัน ได้ก็จะเอื้อประโยชน์ต่อการลงทุนอีกทางหนึ่ง
ส่วนสำนักงานคณกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เห็นชอบในหลักการของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า เพื่อให้ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีความชัดเจนในการนำไปปฏิบัติ เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไปนี้
1.เห็นควรให้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของหน่วยงานรัฐ เพื่อให้องค์กรดังกล่าวมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2.ควรแยกบทบาทหน้าที่ของผู้แทนขององค์กรอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกจากการเป็นผู้จัดทำรายงานดังกล่าวอย่างเด็ดขาด โดยกำหนดเงื่อนไขของผู้แทนในองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม ไม่ให้สามารถเป็นผู้จัดทำรายการดังกล่าวได้ในขณะที่ดำรงสถานะของผู้แทน รวมทั้งการเรียกเก็บค่าตอบแทนจากเจ้าของโครงการจากเจ้าของโครงการ หรือกิจกรรมเพื่อเป็นค่าตอบแทนให้แก่องค์กรอิสระนั้น ควรพิจารณาความรอบคอบโดยอาจพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การเรียกเก็บผลตอบแทนจากภาคเอกชนและกำหนดสัดส่วนการสมทบเงินสนับสนุนจากภาครัฐที่ชัดเจน รวมทั้งพิจารณาความเหมาสมของการเรียกเก็บตามประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจกรรมที่อาจะมีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเชื่อถือ ความโปร่งใส และป้องกันปัญหาคงามขัดแย้งด้านผลประโยชน์
3.ควรกำหนดแนวทางให้องค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมสามารถพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ควบคู่ไปกับการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดระยะเวลาในการพิจารณาโครงการ 4.ด้านกระบวนการรับฟังของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียเห็นควรให้กระทรวงทรัพย์ฯ พิจารรษยกร่างหลักเกณฑ์การรับฟังความคิดเห็น โดยยึดหลักความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูล และเปิดกว่งให้ผู้มีส่วนได้เสียมุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม โดยใช้ประสบการณ์ละปัญหาอุปสรรคในการรับฟังความคิดเห็นของโครงการต่างๆ ที่ผ่านมา ประกอบการพิจารณาด้วย เพื่อให้สามารถนำผลการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วน้สียไปเป็นข้อมูลประกอบการ ตัดสินใจได้อย่างแท้จริง มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
5.เห็นควรให้กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงทรัพย์ และกระทรวงสาธารณสุข เร่งกำหนดขอบเขตหรือนิยามขนาดและประเภทโครงการ หรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนอย่างรุนแรง รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอน และแนวทางปฏิบัติในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการบูรณาการการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) ไว้ในรายงานดังกล่าว เพื่อรองรับการดำเนินงานตามมาตรา 51/1 ของร่าง พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ