สสช.เผยหนี้ครัวเรือนยุครัฐบาล “อภิสิทธิ์” แค่ 6 เดือนหนี้ทะลุ 1.33 แสนต่อครอบครัว โดยหนี้สินครัวเรือนเกิดจากการซื้ออสังหาฯ 36.3% รองลงมาใช้ซื้อเครื่องอุปโภคบริโภค 29.7% ขณะที่ใช้จ่ายเพื่อการศึกษา 2.8% เท่านั้น
วันนี้ (4 ต.ค.) นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้ออกสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552 ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพไม่รวมเงินออม เงินสะสมและซื้อที่อยู่อาศัย หนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนทั่วประเทศ 26,000 ครัวเรือน พบว่าในครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 52) ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,255 บาท
นางธนนุชกล่าวต่อถึงผลสำรวจว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สินมากคิดเป็น 61.8% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 133,293 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้เพียง 68,405 บาท และส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ แยกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว 82.9% และเป็นครัวเรือนที่เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ 9.7 % ส่วนครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียง 7.4% ขณะที่หนี้ในระบบมีประมาณครัวเรือนละ 127,152 บาท หนี้นอกระบบ จำนวน 6,140 บาท หรือเป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ 21 เท่า โดยหนี้สินของครัวเรือนเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือซื้อบ้านหรือที่ดิน 36.3% รองลงมาได้แก่การบริโภคอุปโภค 29.7 % ส่วนหนี้เพื่อใช้ในการศึกษามีเพียง 2.8% เท่านั้น สำหรับหนี้เพื่อทำการเกษตร และทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณ 14.8%
นางธนนุชกล่าวอีกว่า ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ นักบริหาร มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 48,838 บาท ส่วนที่มีรายได้ต่ำสุด คือครัวเรือนผู้ทำประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า เฉลี่ย 9,073 บาท และพบว่าครัวเรือนอาชีพใดมีรายได้สูง ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงเช่นเดียวกัน และรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากการทำงานมากถึง 72.2% ทั้งค่าจ้างเงินเดือน, ทำธุรกิจ, รายได้จากการทำการเกษตร ส่วนรายจ่ายส่วนใหญ่ 33.5% เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 20.5% ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและยานพาหนะ 17.5% เป็นต้น และยังพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ด้านอุปโภคบริโภค ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน ซื้อล็อตเตอรี่และหวย สูงถึง 12.1%
“เมื่อเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 43-52 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ และพบว่าทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยรายได้เพิ่มจากเดือนละ 12,150 บาท ในปี 43 เป็น 21,135 บาท ในปี 52 เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาท โดยส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายประมาณคนละ 1,476 บาท แต่ถูกนำไปชำระหนี้ ทั้งค่าผ่อนบ้าน ค่าที่ดิน ส่วนหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 47 จะสูงที่สุด และมีแนวโน้มลดลงจาก 7 เท่า ในปี 43 เป็น 6.3 เท่า ในปี 50 และเริ่มทรงตัวในปี 52 ขณะที่จำนวนเงินที่เป็นหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้สินเฉลี่ย ครัวเรือนละ 68,405 บาทเป็น 133,239 บาท ในปี 52” นางธนนุช กล่าว
วันนี้ (4 ต.ค.) นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เปิดเผยว่า สสช.ได้ออกสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2552 ทั้งรายได้ ค่าใช้จ่ายเพื่อยังชีพไม่รวมเงินออม เงินสะสมและซื้อที่อยู่อาศัย หนี้สินและทรัพย์สินของครัวเรือน โดยสุ่มตัวอย่างจากครัวเรือนทั่วประเทศ 26,000 ครัวเรือน พบว่าในครึ่งปีแรก (ม.ค.-มิ.ย. 52) ครัวเรือนทั่วประเทศมีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 21,135 บาท มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ 16,255 บาท
นางธนนุชกล่าวต่อถึงผลสำรวจว่า ครัวเรือนที่มีหนี้สินมากคิดเป็น 61.8% ของครัวเรือนทั้งหมด โดยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละ 133,293 บาท ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่มากขึ้นมาโดยตลอดนับตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้เพียง 68,405 บาท และส่วนใหญ่ครัวเรือนเป็นหนี้สินในระบบ แยกเป็นครัวเรือนที่มีหนี้ในระบบอย่างเดียว 82.9% และเป็นครัวเรือนที่เป็นหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ 9.7 % ส่วนครัวเรือนที่มีหนี้นอกระบบอย่างเดียว มีเพียง 7.4% ขณะที่หนี้ในระบบมีประมาณครัวเรือนละ 127,152 บาท หนี้นอกระบบ จำนวน 6,140 บาท หรือเป็นหนี้ในระบบสูงกว่านอกระบบ 21 เท่า โดยหนี้สินของครัวเรือนเป็นการก่อหนี้เพื่อใช้ในครัวเรือนคือซื้อบ้านหรือที่ดิน 36.3% รองลงมาได้แก่การบริโภคอุปโภค 29.7 % ส่วนหนี้เพื่อใช้ในการศึกษามีเพียง 2.8% เท่านั้น สำหรับหนี้เพื่อทำการเกษตร และทำธุรกิจมีใกล้เคียงกันประมาณ 14.8%
นางธนนุชกล่าวอีกว่า ครัวเรือนลูกจ้างที่ปฏิบัติงานวิชาชีพ นักวิชาการ นักบริหาร มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 48,838 บาท ส่วนที่มีรายได้ต่ำสุด คือครัวเรือนผู้ทำประมง ป่าไม้ ล่าสัตว์ หาของป่า เฉลี่ย 9,073 บาท และพบว่าครัวเรือนอาชีพใดมีรายได้สูง ส่วนใหญ่จะมีค่าใช้จ่ายและจำนวนเงินที่เป็นหนี้สูงเช่นเดียวกัน และรายได้ของครัวเรือนส่วนใหญ่มาจากการทำงานมากถึง 72.2% ทั้งค่าจ้างเงินเดือน, ทำธุรกิจ, รายได้จากการทำการเกษตร ส่วนรายจ่ายส่วนใหญ่ 33.5% เป็นค่าอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นค่าที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ภายในบ้าน 20.5% ค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางและยานพาหนะ 17.5% เป็นต้น และยังพบว่าครัวเรือนมีค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ด้านอุปโภคบริโภค ค่าภาษี ของขวัญ เบี้ยประกัน ซื้อล็อตเตอรี่และหวย สูงถึง 12.1%
“เมื่อเปรียบเทียบรายได้ ค่าใช้จ่าย และหนี้สินต่อรายได้ พบว่า ครัวเรือนทั่วประเทศตั้งแต่ปี 43-52 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการยังชีพ และพบว่าทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยรายได้เพิ่มจากเดือนละ 12,150 บาท ในปี 43 เป็น 21,135 บาท ในปี 52 เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มจาก 9,848 เป็น 16,255 บาท โดยส่วนใหญ่มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายประมาณคนละ 1,476 บาท แต่ถูกนำไปชำระหนี้ ทั้งค่าผ่อนบ้าน ค่าที่ดิน ส่วนหนี้สินต่อรายได้ครัวเรือนในปี 47 จะสูงที่สุด และมีแนวโน้มลดลงจาก 7 เท่า ในปี 43 เป็น 6.3 เท่า ในปี 50 และเริ่มทรงตัวในปี 52 ขณะที่จำนวนเงินที่เป็นหนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ปี 43 ที่มีหนี้สินเฉลี่ย ครัวเรือนละ 68,405 บาทเป็น 133,239 บาท ในปี 52” นางธนนุช กล่าว