นางยาใจ ชูวิชา หัวหน้าคณะจัดทำหอการค้าโพลล์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลการสำรวจประชาชนทั่วประเทศจำนวน 1,232 ตัวอย่าง ถึงสถานภาพหนี้ภาคครัวเรือน ว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.7 มีภาระหนี้ครัวเรือน โดยส่วนใหญ่มีหนี้เฉลี่ยมากกว่ารายได้ประมาณ 1-1.5 เท่าของรายได้ ซึ่งมีมูลหนี้เฉลี่ย 135,166.34 บาทต่อครัวเรือน มีการชำระหนี้ 8,318.42 บาทต่อครัวเรือน
สำหรับวัตถุประสงค์ในการกู้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.81 กู้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 25.89 เพื่อใช้จ่ายกับยานพาหนะ และร้อยละ 13.81 เพื่อการลงทุน ส่วนความสามารถในการชำระหนี้ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.5 ระบุว่ามีปัญหา และสถานภาพทางการเงินของครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.5 มีปัญหารายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย โดยสาเหตุหลัก กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุว่าเป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้นร้อยละ 17.2 เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และร้อยละ 4.6 ระบุว่าเพราะราคาน้ำมันที่แพงขึ้น โดยการแก้ปัญหาด้านรายได้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.1 กู้ยืม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.9 แก้ปัญหาโดยการนำเงินออมออกมาใช้ และร้อยละ 12 ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง
นางยาใจ กล่าวว่า จำนวนหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง จากการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยผู้ที่มีหนี้ทั้งหมด 135,166.34 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการสำรวจ โดยวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมปัจจุบันเป็นการกู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และค่ายานพาหนะ ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีหนี้สินร้อยละ 56.50 ระบุว่า หนี้ปัจจุบันของเขาเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับรายได้ในปัจจุบัน ซึ่งยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของประชาชน
สำหรับวัตถุประสงค์ในการกู้ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.81 กู้เพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 25.89 เพื่อใช้จ่ายกับยานพาหนะ และร้อยละ 13.81 เพื่อการลงทุน ส่วนความสามารถในการชำระหนี้ในรอบปีที่ผ่านมากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 64.5 ระบุว่ามีปัญหา และสถานภาพทางการเงินของครัวเรือนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.5 มีปัญหารายได้ไม่พอค่าใช้จ่าย โดยสาเหตุหลัก กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 75.3 ระบุว่าเป็นเพราะราคาสินค้าแพงขึ้นร้อยละ 17.2 เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น และร้อยละ 4.6 ระบุว่าเพราะราคาน้ำมันที่แพงขึ้น โดยการแก้ปัญหาด้านรายได้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.1 กู้ยืม กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.9 แก้ปัญหาโดยการนำเงินออมออกมาใช้ และร้อยละ 12 ขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้อง
นางยาใจ กล่าวว่า จำนวนหนี้ครัวเรือนเฉลี่ยเปรียบเทียบ 3 ปีย้อนหลัง จากการสำรวจพบว่า โดยเฉลี่ยผู้ที่มีหนี้ทั้งหมด 135,166.34 บาทต่อครัวเรือน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการสำรวจ โดยวัตถุประสงค์ในการกู้ยืมปัจจุบันเป็นการกู้มาใช้ในชีวิตประจำวัน และค่ายานพาหนะ ตามลำดับ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่มีหนี้สินร้อยละ 56.50 ระบุว่า หนี้ปัจจุบันของเขาเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับรายได้ในปัจจุบัน ซึ่งยังเป็นสิ่งที่น่ากังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของประชาชน