สัมมนาผลงานวิปวุฒิฯ หวิดวงแตก ขาดเอกภาพ ส.ว.แบ่งฟากซัดกันนัว กลุ่ม 40 ส.ว.สรรหาจวกตัวแทนวิปวุฒิ “เสธ.อู้-วิทยา” ถกแก้ รธน.กลับให้ข่าวเหมือนเป็นมติวุฒิสมาชิกเต็มคณะ
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่โรงแรมสปริงฟิลด์ แอทซี รีสอร์ทแอนด์สปา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ได้จัดสัมมนาโครงการประเมินผลทบทวนการดำเนินงานของวิปวุฒิสภาในรอบ 1 ปี มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิสภาเป็นประธาน โดยมี ส.ว.เข้าร่วมประมาณ 60 คน โดยนายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม เลขานุการวิปวุฒิสภา กล่าวว่า เป็นการจัดสัมมนาเพื่อประเมินผลงานของวิปวุฒิสภาในรอบ 1 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างสมาชิกกับสื่อมวลชน เพื่อรวบรวมข้อมูลสนับสนุนการทำงานของวุฒิสภา ส่วนปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพนั้น เป็นเรื่องธรรมดาเพราะมีที่มาจาก 2 ส่วน ย่อมมีความแตกต่างกันบ้าง เป็นดุลพินิจของแต่ละคน สมาชิกบางกลุ่มอาจมีแนวทางทางการเมืองที่คล้ายกัน เมื่อถามว่าจะมีการประเมินผลงานของปรานวุฒิสภา และประธานคณะกรรมิการชุดต่างๆด้วยหรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ไม่มี เพียงแต่รวบรวมความเห็นต่อการทำงานของวิปวุฒิสภาที่ผ่านมาเท่านั้น
นายนิคมกล่าวระหว่างการสัมมนาว่า การสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรับรู้บทบาทหน้าที่ของวุฒิสภา เป็นเรื่องสำคัญที่จะดึงประชาชนมาร่วมเป็นเครือข่าย แต่การทำงานอาจมีปัญหาบ้าง เช่น เมื่อวิปวุฒิสภามีมติตั้งสมาชิกเข้าเป็นกรรมาธิการบางคณะ แต่บางครั้งมีการไปเปลี่ยนในที่ประชุมใหญ่ ทั้งที่ในวิปวุฒิสภามีมติอีกแบบหนึ่ง ที่สำคัญเมื่อวิปวุฒิส่งตัวแทนไปเจรจากับฝ่ายอื่น ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเพื่อนสมาชิก มักมีข่าวว่าวิปฯ ไม่สามารถมาตัดสินใจแทนสมาชิกได้ ทำให้ทำงานลำบากมาก โดยเฉพาะล่าสุดกับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่วิปวุฒิมีมติส่งตัวแทน 3 คน ไปร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ แต่กลับมาไม่ถึงชั่วโมงก็มีเสียงค้านแล้ว ทำให้เราเสียโอกาสเจรจา และเสียภาพความน่าเชื่อถือจากประชาชน เพราะภาพลักษณ์ที่ผ่านมาประชาชนหรือสภาผู้แทนฯให้ความยกย่องนับถือวุฒิสภา แต่เรากลับไม่เชื่อถือกันเอง แถมยังออกมาให้ข่าวคัดค้าน ทำให้เกิดภาพความขัดแย้งภายใน ซึ่งวิปฯเองก็คงต้องทบทวนบทบาท แต่ ส.ว.ก็ควรทบทวนบทบาท เพื่อให้ข่าวไปในทางเดียวกัน แม้ในใจจะเห็นแย้ง แต่ต้องเก็บความรู้สึกไว้ และใช้ห้องประชุมเป็นที่อภิปราย หรือใช้วิธีสงวนคำแปรญัตติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้เปิดให้ ส.ว.อภิปรายแสดงความเห็น ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างเคร่งเครียดมีการถกเถียงกันอย่างหนัก โดย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า บางครั้งกรรมาธิการฯ ที่เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการบางคณะขาดประชุม บางเรื่องจึงไม่สามารถนำมาแจ้งสมาชิกได้ ทำให้สมาชิกอาจหงุดหงิดแล้วออกมาให้สัมภาษณ์ต่อว่ากัน ก็ต้องทำใจ สถานภาพของวิปวุฒิฯ เหมือนฝ่ายประสานงานของกองทัพ วุฒิสภามี 148 คน ก็ 148 ความคิด ดังนั้น เรื่องเอกภาพอย่าไปหวังอะไรมาก และเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา
ขณะที่ นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เมื่อวิปวุฒิฯ มีมติในเรื่องใดอย่างไรแล้ว ไม่ใช่จะมาปิดปาก ส.ว.ได้ การพิจารณาในเรื่องต่างๆสมาชิกอาจเปลี่ยนการตัดสินใจได้ ไม่จำเป็นต้องไปทางวิปวุฒิ เห็นว่าในวิปวุฒิฯ ยังคุยกันด้วยเหตุผลไม่มาก ทำให้การตัดสินใจอาจไปตามพวกตนเอง ดังนั้น ต้องเปิดเวทีให้มากขึ้น อย่ากลัวการถกเถียงแลกเปลี่ยนอาจมีอารมณ์กันบ้าง อย่างเรื่องรัฐธรรมนูญเห็นได้ชัด ไม่ได้ร่วมกันค้นหาแก่นที่แท้จริงของปัญหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเริ่มตึงเครียดมากขึ้นเมื่อความคิดเห็น ส.ว.ได้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเข้าร่วมหารือในวิป 3 ฝ่าย โดยนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องสำคัญๆ ส.ว.มองเห็นแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะภารกิจเรื่องการเป็นตัวแทนวิปวุฒิไปประชุมร่วมวิป 3 ฝ่าย เมื่อไปฟังความเห็นแล้วต้องนำกลับมารายงานในวิปฯ ไม่ใช่ไปพูดในฐานะตัวแทนวุฒิสภา แต่ที่ผ่านมาตัวแทนวิปฯที่ไปเจรจาก็เป็นแบบนี้มาตลอด ทำให้นายนิคมปฏิเสธตอบโต้ทันทีว่า ไม่ใช่ ทำให้นายวิทยา และ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นตัวแทนวิปวุฒิฯไปหารือในวิป 3 ฝ่าย ชี้แจงว่าที่ไปหารือครั้งล่าสุดวิปวุฒิฯ เปลี่ยนท่าทีแล้ว คือเป็นคนกลางไปนั่งฟังเฉยๆ ไม่ได้ไปชี้ขาดให้คุณให้โทษฝ่ายใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ว.หลายคนพยายามไกล่เกลี่ย โดยระบุว่าควรหารือกันในกรอบการประเมินผลการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องการทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญที่ไม่ค่อยเป็นข่าว ทำให้ ส.ว.หลายคน อภิปรายตำหนิสื่อว่า ไม่ค่อยเสนอข่าวของคณะกรรมาธิการซึ่งมีความสำคัญ แต่กลับเน้นไปที่การเสนอข่าวประธานวุฒิสภา 60-70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บางคณะไปแถลงข่าวแล้วข่าวไม่ได้ลง มีสถิติเป็น 0 ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า คณะกรรมาธิการทุกคณะ ควรตั้งโฆษกหาเวลามาแถลงกับสื่อมวลชน อย่างไรก็ดี พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อแถลงแล้วไม่เป็นข่าว ก็โทษสื่อไม่ได้ ต้องดูว่า ผู้แถลงมีกึ๋นหรือไม่ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แถลงเอง
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่โรงแรมสปริงฟิลด์ แอทซี รีสอร์ทแอนด์สปา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ได้จัดสัมมนาโครงการประเมินผลทบทวนการดำเนินงานของวิปวุฒิสภาในรอบ 1 ปี มีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา ในฐานะประธานวิปวุฒิสภาเป็นประธาน โดยมี ส.ว.เข้าร่วมประมาณ 60 คน โดยนายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม เลขานุการวิปวุฒิสภา กล่าวว่า เป็นการจัดสัมมนาเพื่อประเมินผลงานของวิปวุฒิสภาในรอบ 1 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างสมาชิกกับสื่อมวลชน เพื่อรวบรวมข้อมูลสนับสนุนการทำงานของวุฒิสภา ส่วนปัญหาเรื่องความเป็นเอกภาพนั้น เป็นเรื่องธรรมดาเพราะมีที่มาจาก 2 ส่วน ย่อมมีความแตกต่างกันบ้าง เป็นดุลพินิจของแต่ละคน สมาชิกบางกลุ่มอาจมีแนวทางทางการเมืองที่คล้ายกัน เมื่อถามว่าจะมีการประเมินผลงานของปรานวุฒิสภา และประธานคณะกรรมิการชุดต่างๆด้วยหรือไม่ นายวิทยากล่าวว่า ไม่มี เพียงแต่รวบรวมความเห็นต่อการทำงานของวิปวุฒิสภาที่ผ่านมาเท่านั้น
นายนิคมกล่าวระหว่างการสัมมนาว่า การสร้างความเข้าใจให้ประชาชนรับรู้บทบาทหน้าที่ของวุฒิสภา เป็นเรื่องสำคัญที่จะดึงประชาชนมาร่วมเป็นเครือข่าย แต่การทำงานอาจมีปัญหาบ้าง เช่น เมื่อวิปวุฒิสภามีมติตั้งสมาชิกเข้าเป็นกรรมาธิการบางคณะ แต่บางครั้งมีการไปเปลี่ยนในที่ประชุมใหญ่ ทั้งที่ในวิปวุฒิสภามีมติอีกแบบหนึ่ง ที่สำคัญเมื่อวิปวุฒิส่งตัวแทนไปเจรจากับฝ่ายอื่น ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากเพื่อนสมาชิก มักมีข่าวว่าวิปฯ ไม่สามารถมาตัดสินใจแทนสมาชิกได้ ทำให้ทำงานลำบากมาก โดยเฉพาะล่าสุดกับเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ ที่วิปวุฒิมีมติส่งตัวแทน 3 คน ไปร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย หารือเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ แต่กลับมาไม่ถึงชั่วโมงก็มีเสียงค้านแล้ว ทำให้เราเสียโอกาสเจรจา และเสียภาพความน่าเชื่อถือจากประชาชน เพราะภาพลักษณ์ที่ผ่านมาประชาชนหรือสภาผู้แทนฯให้ความยกย่องนับถือวุฒิสภา แต่เรากลับไม่เชื่อถือกันเอง แถมยังออกมาให้ข่าวคัดค้าน ทำให้เกิดภาพความขัดแย้งภายใน ซึ่งวิปฯเองก็คงต้องทบทวนบทบาท แต่ ส.ว.ก็ควรทบทวนบทบาท เพื่อให้ข่าวไปในทางเดียวกัน แม้ในใจจะเห็นแย้ง แต่ต้องเก็บความรู้สึกไว้ และใช้ห้องประชุมเป็นที่อภิปราย หรือใช้วิธีสงวนคำแปรญัตติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้นได้เปิดให้ ส.ว.อภิปรายแสดงความเห็น ซึ่งบรรยากาศเป็นไปอย่างเคร่งเครียดมีการถกเถียงกันอย่างหนัก โดย พล.ร.อ.สุรศักดิ์ ศรีอรุณ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า บางครั้งกรรมาธิการฯ ที่เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการบางคณะขาดประชุม บางเรื่องจึงไม่สามารถนำมาแจ้งสมาชิกได้ ทำให้สมาชิกอาจหงุดหงิดแล้วออกมาให้สัมภาษณ์ต่อว่ากัน ก็ต้องทำใจ สถานภาพของวิปวุฒิฯ เหมือนฝ่ายประสานงานของกองทัพ วุฒิสภามี 148 คน ก็ 148 ความคิด ดังนั้น เรื่องเอกภาพอย่าไปหวังอะไรมาก และเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา
ขณะที่ นายสิริวัฒน์ ไกรสินธุ์ ส.ว.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เมื่อวิปวุฒิฯ มีมติในเรื่องใดอย่างไรแล้ว ไม่ใช่จะมาปิดปาก ส.ว.ได้ การพิจารณาในเรื่องต่างๆสมาชิกอาจเปลี่ยนการตัดสินใจได้ ไม่จำเป็นต้องไปทางวิปวุฒิ เห็นว่าในวิปวุฒิฯ ยังคุยกันด้วยเหตุผลไม่มาก ทำให้การตัดสินใจอาจไปตามพวกตนเอง ดังนั้น ต้องเปิดเวทีให้มากขึ้น อย่ากลัวการถกเถียงแลกเปลี่ยนอาจมีอารมณ์กันบ้าง อย่างเรื่องรัฐธรรมนูญเห็นได้ชัด ไม่ได้ร่วมกันค้นหาแก่นที่แท้จริงของปัญหา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศเริ่มตึงเครียดมากขึ้นเมื่อความคิดเห็น ส.ว.ได้แบ่งเป็น 2 ฝ่าย โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการเข้าร่วมหารือในวิป 3 ฝ่าย โดยนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา กล่าวว่า เรื่องสำคัญๆ ส.ว.มองเห็นแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะภารกิจเรื่องการเป็นตัวแทนวิปวุฒิไปประชุมร่วมวิป 3 ฝ่าย เมื่อไปฟังความเห็นแล้วต้องนำกลับมารายงานในวิปฯ ไม่ใช่ไปพูดในฐานะตัวแทนวุฒิสภา แต่ที่ผ่านมาตัวแทนวิปฯที่ไปเจรจาก็เป็นแบบนี้มาตลอด ทำให้นายนิคมปฏิเสธตอบโต้ทันทีว่า ไม่ใช่ ทำให้นายวิทยา และ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นตัวแทนวิปวุฒิฯไปหารือในวิป 3 ฝ่าย ชี้แจงว่าที่ไปหารือครั้งล่าสุดวิปวุฒิฯ เปลี่ยนท่าทีแล้ว คือเป็นคนกลางไปนั่งฟังเฉยๆ ไม่ได้ไปชี้ขาดให้คุณให้โทษฝ่ายใด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ส.ว.หลายคนพยายามไกล่เกลี่ย โดยระบุว่าควรหารือกันในกรอบการประเมินผลการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องการทำงานของคณะกรรมาธิการสามัญที่ไม่ค่อยเป็นข่าว ทำให้ ส.ว.หลายคน อภิปรายตำหนิสื่อว่า ไม่ค่อยเสนอข่าวของคณะกรรมาธิการซึ่งมีความสำคัญ แต่กลับเน้นไปที่การเสนอข่าวประธานวุฒิสภา 60-70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ บางคณะไปแถลงข่าวแล้วข่าวไม่ได้ลง มีสถิติเป็น 0 ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า คณะกรรมาธิการทุกคณะ ควรตั้งโฆษกหาเวลามาแถลงกับสื่อมวลชน อย่างไรก็ดี พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า เมื่อแถลงแล้วไม่เป็นข่าว ก็โทษสื่อไม่ได้ ต้องดูว่า ผู้แถลงมีกึ๋นหรือไม่ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของผู้แถลงเอง