วิปวุฒิฯ อดใจรอที่ประชุมวิปรัฐบาล-ฝ่ายค้านหาข้อยุติร่างแก้ไข รธน. 1 ต.ค. ยอมรับวุฒิสมาชิกมีความเห็นต่าง แต่คงไม่มีมติที่ชัดเจนเพราะมีเอกสิทธิ์ 1 เสียงเท่าเทียมกันแต่ขอให้ ปชช.มีส่วนร่วม
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่ รร.สปริงฟิลล์ แอท ซี รีสอร์ท แอนด์สปา จ.เพชรบุรี นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้ง ส.ส. ส.ว. ลงชื่อจำนวน 1 ใน 5 หรือ 125 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แต่หากรัฐบาลมีความจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะต้องเสนอร่างแก้ไขโดย ครม.เอง เพราะจะมีน้ำหนักมากกว่า การลงชื่อของ ส.ส.และ ส.ว. ส่วนจะยกร่าง 6 ประเด็นเป็นฉบับเดียวกันหรือประเด็นละฉบับนั้น ตนคิดว่าเมื่อมีความตั้งใจจะแก้ไขก็ควรจะยกร่างเป็นฉบับเดียว เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวอยากให้ประชาชนมาส่วนร่วม โดยอาจจะทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ก็ได้ ส่วนกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว.บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีของระบอบประชาธิปไตย เรายอมรับและเคารพความเห็นต่าง ซึ่งจะต้องใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจ
นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม เลขานุการวิปวุฒิฯ ในฐานะตัวแทนวุฒิสภาที่ร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย กล่าวว่า ในวันที่ 30 ก.ย.วิปวุฒิสภาจะมีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะไปร่วมประชุมกับวิป 3 ฝ่ายอีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. แต่ยืนยันว่าอำนาจการตัดสินใจทั้งหมด ไม่ใช่อยู่ที่วิปวุฒิสภาเท่านั้น แต่เป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว.แต่ละคน โดยส่วนตัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่สำคัญที่สุดคือให้ประชาชนมีส่วนร่วม คือการทำประชาพิจารณ์ เพราะหากทำประชามติจะต้องเสียเวลาไปอีก 1 ปี และไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า ให้อำนาจกับ ส.ส. และส.ว.มีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนตัวแทนของวุฒิสภาที่เข้าร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย เรามีกรอบทำงานไม่เหมือนพรรคการเมืองอย่างฝ่ายค้านหรือรัฐบาล เพราะแต่ละพรรคจะมีข้อสรุปเพียงหนึ่งเดียว ขณะที่วุฒิสภาแต่ละคนมีหนึ่งเสียง เราจึงมีหน้าที่แค่รับฟังความเห็นและรวบรวมนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจไปตัดสินใจ
เมื่อถามถึงในเมื่อไม่มีอำนาจตัดสินใจแล้วจะมีความชัดเจนในการยกร่างได้อย่างไร นายวิทยากล่าวว่า ก็คงต้องให้วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านไปคุยกันให้ได้ข้อยุติของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะในวิปรัฐบาลพรรคร่วมก็ยังมีความเห็นต่างกันอยู่ ต้องไปคุยให้ได้ข้อยุติแล้วนำมาหารือในวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค. ขณะที่วิปวุฒิสภาก็คงคุยกันแต่จะเอาเป็นข้อยุติไม่ได้
วันนี้ (25 ก.ย.) ที่ รร.สปริงฟิลล์ แอท ซี รีสอร์ท แอนด์สปา จ.เพชรบุรี นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่หนึ่ง ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของวุฒิสภาว่า การเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้หลายวิธี ทั้ง ส.ส. ส.ว. ลงชื่อจำนวน 1 ใน 5 หรือ 125 คน ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แต่หากรัฐบาลมีความจริงใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะต้องเสนอร่างแก้ไขโดย ครม.เอง เพราะจะมีน้ำหนักมากกว่า การลงชื่อของ ส.ส.และ ส.ว. ส่วนจะยกร่าง 6 ประเด็นเป็นฉบับเดียวกันหรือประเด็นละฉบับนั้น ตนคิดว่าเมื่อมีความตั้งใจจะแก้ไขก็ควรจะยกร่างเป็นฉบับเดียว เพื่อไม่ให้ประชาชนเกิดความสับสน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวอยากให้ประชาชนมาส่วนร่วม โดยอาจจะทำประชามติหรือประชาพิจารณ์ก็ได้ ส่วนกรณีที่กลุ่ม 40 ส.ว.บางส่วนไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ดีของระบอบประชาธิปไตย เรายอมรับและเคารพความเห็นต่าง ซึ่งจะต้องใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจ
นายวิทยา อินาลา ส.ว.นครพนม เลขานุการวิปวุฒิฯ ในฐานะตัวแทนวุฒิสภาที่ร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย กล่าวว่า ในวันที่ 30 ก.ย.วิปวุฒิสภาจะมีการหารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนที่จะไปร่วมประชุมกับวิป 3 ฝ่ายอีกครั้งในวันที่ 1 ต.ค. แต่ยืนยันว่าอำนาจการตัดสินใจทั้งหมด ไม่ใช่อยู่ที่วิปวุฒิสภาเท่านั้น แต่เป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว.แต่ละคน โดยส่วนตัวการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่สำคัญที่สุดคือให้ประชาชนมีส่วนร่วม คือการทำประชาพิจารณ์ เพราะหากทำประชามติจะต้องเสียเวลาไปอีก 1 ปี และไม่เห็นด้วยกับการตั้ง ส.ส.ร.3 เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่า ให้อำนาจกับ ส.ส. และส.ว.มีสิทธิแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในส่วนตัวแทนของวุฒิสภาที่เข้าร่วมประชุมวิป 3 ฝ่าย เรามีกรอบทำงานไม่เหมือนพรรคการเมืองอย่างฝ่ายค้านหรือรัฐบาล เพราะแต่ละพรรคจะมีข้อสรุปเพียงหนึ่งเดียว ขณะที่วุฒิสภาแต่ละคนมีหนึ่งเสียง เราจึงมีหน้าที่แค่รับฟังความเห็นและรวบรวมนำเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ แต่ไม่มีอำนาจไปตัดสินใจ
เมื่อถามถึงในเมื่อไม่มีอำนาจตัดสินใจแล้วจะมีความชัดเจนในการยกร่างได้อย่างไร นายวิทยากล่าวว่า ก็คงต้องให้วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านไปคุยกันให้ได้ข้อยุติของแต่ละฝ่าย โดยเฉพาะในวิปรัฐบาลพรรคร่วมก็ยังมีความเห็นต่างกันอยู่ ต้องไปคุยให้ได้ข้อยุติแล้วนำมาหารือในวิป 3 ฝ่ายในวันที่ 1 ต.ค. ขณะที่วิปวุฒิสภาก็คงคุยกันแต่จะเอาเป็นข้อยุติไม่ได้