หลังท่าทีรัฐบาลเห็นควรแก้ รธน.แค่ 2 ประเด็น ทำ “ลิ่วล้อแม้ว” หาทางแก้เกมยัดร่างใหม่ ลดเงื่อนไขต่ออายุ ส.ว.ออกไป หวังดึงแนวร่วม ขณะที่บรรดา ส.ว.ซัดแก้แค่ 2 ประเด็นที่เหลือโยนทำประชามติอาจโดนหาว่าซื้อเวลา เผย พร้อมสนับสนุนร่างใหม่ของ “สมเกียรติ” หากตรงกับข้อเสนอ กก.สมานฉันท์ฯ
วันนี้ (17 ก.ย.) จากกรณีที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงท่าทีจะให้แก้รัฐธรรมนูญได้ทันที 2 ประเด็น คือ ระบบเลือกตั้ง ส.ส.และมาตรา 190 ว่าด้วยการทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ส่วนประเด็นที่เหลือตามข้อเสนอของ
คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะให้มีการทำประชามตินั้น
ปรากฏว่า ได้มีการแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยทางด้าน นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำ ส.ว.ที่เคยรวบรวมรายชื่อยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่วมกับ ส.ส.จำนวน 7 ประเด็น กล่าวว่า คงต้องรอผลการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ชัดๆ ก่อน ว่า นายกฯและรัฐบาล จะเอาอย่างไรแน่ อย่างไรก็ดี ตนเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทันที 6 ประเด็น ซึ่งตอนนี้กำลังคุยกับ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน แกนนำฝ่าย ส.ส.ที่เคยร่วมกันยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยทราบว่า ร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ กำลังร่าง มี 6 ประเด็น และตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ทุกเรื่อง และตัดเรื่องที่ทำให้ ส.ว.หลายคนถอนชื่อออกไป นั่นคือ การขยายวาระการดำรงตำแหน่ง ส.ว.สรรหา และพวกเงื่อนไขการไปเป็น ส.ส.หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ไม่มีอะไรเพิ่มเติมเกินเลยมาแน่ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว และรัฐบาลยังไม่เดินตามข้อเสนอขอคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็คงจะชวนเพื่อน ส.ว.ลงชื่อสนับสนุนร่างใหม่ของ นายสมเกียรติ ต่อไป
ด้าน นายจำนงค์ สวมประคำ ส.ว.สรรหา 1 ใน 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อในครั้งที่แล้ว กล่าวว่า ต้องดูท่าทีของรัฐบาลหลังประชุมร่วมเสร็จสิ้นก่อน อย่างไรก็ดี ถ้าจะมีการรวบรวมรายชื่อส.ส.ส.ว.ยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้ง ต้องขอดูร่างให้ชัดๆ ก่อน ว่า มีการหมกเม็ดหรือไม่ คราวที่แล้วตนอายมากพอเห็นร่างๆ ชัดในภายหลังว่า มีการเสนอแก้ไขในประเด็นที่ส.ว.ได้เสียโดยตรง คราวนี้เลยแหยงๆ ทั้งนี้ อะไรที่แก้แล้วไม่ได้ประโยชน์สาธารณะ ก็จะไม่สนับสนุน
เมื่อถามว่า ร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ จะเสนอ หากทุกประเด็นตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ จะสนับสนุนหรือไม่ นายจำนงค์ กล่าวว่า ต้องดูรายละเอียดทุกตัวอักษร ทั้งนี้ตนเห็นด้วยว่า รัฐธรรมนูญควรแก้ แต่ยังไม่คิดถึงขั้นว่า จะต้องแก้ทั้ง 6 ประเด็นแบบนั้นเลย เพราะเป็นไปได้ที่ อาจไม่เห็นด้วยหมดทั้ง 6 ประเด็น
ขณะที่ นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม 1 ใน 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อในครั้งที่แล้ว กล่าวว่า หากรัฐบาลจะให้แก้เลยแค่ 2 ประเด็น ส่วนที่เหลือจะให้ประชามติ หรือ ตั้ง ส.ส.ร.3 นั้น ตนคิดว่า รัฐบาลอาจจะโดนมองว่า กำลังซื้อเวลาอยู่หรือไม่ ทั้งนี้รายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มีความชัดเจนอยู่แล้ว และในเวทีประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว หากรัฐบาลยังมีท่าทีแบบนี้ ก็ไม่รู้ว่า จะเปิดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อรับฟังความเห็นของสมาชิกไปทำไม ซึ่งหลังประชุมเสร็จแล้ว ซึ่งรัฐบาลต้องแสดงท่าทีออกมาให้ชัดเจน เพราะทราบว่าตอนนี้ นายสมเกียรติ จะรวบรวมรายชื่อ ส.ส. ส.ว.เสนอร่างไปอีกครั้ง โดยร่างใหม่นี้ เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯทุกประการ ซึ่งหากมีการขอเสียงสนับสนุนมา ส.ว.ก็จะคุยกันก่อน
เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเหมือนครั้งที่แล้ว โดยถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ 6 ประเด็นของร่างใหม่ ก็จะสนับสนุนพร้อมกัน แต่สมมติว่า หากส่วนใหญ่เห็นด้วย 3-4 ประเด็น และจะเอาประเด็นไหนออก ก็ต้องดูความเห็นพ้องและต้องคุยกับนายสมเกียรติ เพื่อไม่ให้ต้องมาทยอยถอนชื่อในภายหลัง
รายงานข่าวจากวุฒิสภา แจ้งว่า สำหรับ 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อจากญัตติเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว ส่วนใหญ่ได้มีการคุยกันแล้วและรอดูท่าทีของรัฐบาลอยู่ว่า หลังจากประชุมร่วมรัฐสภาเสร็จสิ้นจะมีท่าทีอย่างไร หากยังไม่มีความชัดเจน และร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ จะเสนอ ตรงกันทุกประเด็นกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็ยินดีจะลงชื่อสนับสนุนร่างต่อไป
วันนี้ (17 ก.ย.) จากกรณีที่แกนนำพรรคประชาธิปัตย์ นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี แสดงท่าทีจะให้แก้รัฐธรรมนูญได้ทันที 2 ประเด็น คือ ระบบเลือกตั้ง ส.ส.และมาตรา 190 ว่าด้วยการทำหนังสือสัญญากับต่างประเทศ ส่วนประเด็นที่เหลือตามข้อเสนอของ
คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จะให้มีการทำประชามตินั้น
ปรากฏว่า ได้มีการแสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าว โดยทางด้าน นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี แกนนำ ส.ว.ที่เคยรวบรวมรายชื่อยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมร่วมกับ ส.ส.จำนวน 7 ประเด็น กล่าวว่า คงต้องรอผลการประชุมร่วมกันของรัฐสภาให้ชัดๆ ก่อน ว่า นายกฯและรัฐบาล จะเอาอย่างไรแน่ อย่างไรก็ดี ตนเห็นด้วยอย่างเต็มที่กับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ที่เสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญทันที 6 ประเด็น ซึ่งตอนนี้กำลังคุยกับ นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อแผ่นดิน แกนนำฝ่าย ส.ส.ที่เคยร่วมกันยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยทราบว่า ร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ กำลังร่าง มี 6 ประเด็น และตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ทุกเรื่อง และตัดเรื่องที่ทำให้ ส.ว.หลายคนถอนชื่อออกไป นั่นคือ การขยายวาระการดำรงตำแหน่ง ส.ว.สรรหา และพวกเงื่อนไขการไปเป็น ส.ส.หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น หลังจากหมดวาระการดำรงตำแหน่ง ไม่มีอะไรเพิ่มเติมเกินเลยมาแน่ ซึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการประชุมร่วมกันของรัฐสภาแล้ว และรัฐบาลยังไม่เดินตามข้อเสนอขอคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็คงจะชวนเพื่อน ส.ว.ลงชื่อสนับสนุนร่างใหม่ของ นายสมเกียรติ ต่อไป
ด้าน นายจำนงค์ สวมประคำ ส.ว.สรรหา 1 ใน 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อในครั้งที่แล้ว กล่าวว่า ต้องดูท่าทีของรัฐบาลหลังประชุมร่วมเสร็จสิ้นก่อน อย่างไรก็ดี ถ้าจะมีการรวบรวมรายชื่อส.ส.ส.ว.ยื่นญัตติเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกครั้ง ต้องขอดูร่างให้ชัดๆ ก่อน ว่า มีการหมกเม็ดหรือไม่ คราวที่แล้วตนอายมากพอเห็นร่างๆ ชัดในภายหลังว่า มีการเสนอแก้ไขในประเด็นที่ส.ว.ได้เสียโดยตรง คราวนี้เลยแหยงๆ ทั้งนี้ อะไรที่แก้แล้วไม่ได้ประโยชน์สาธารณะ ก็จะไม่สนับสนุน
เมื่อถามว่า ร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ จะเสนอ หากทุกประเด็นตรงกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ จะสนับสนุนหรือไม่ นายจำนงค์ กล่าวว่า ต้องดูรายละเอียดทุกตัวอักษร ทั้งนี้ตนเห็นด้วยว่า รัฐธรรมนูญควรแก้ แต่ยังไม่คิดถึงขั้นว่า จะต้องแก้ทั้ง 6 ประเด็นแบบนั้นเลย เพราะเป็นไปได้ที่ อาจไม่เห็นด้วยหมดทั้ง 6 ประเด็น
ขณะที่ นายประวัติ ทองสมบูรณ์ ส.ว.มหาสารคาม 1 ใน 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อในครั้งที่แล้ว กล่าวว่า หากรัฐบาลจะให้แก้เลยแค่ 2 ประเด็น ส่วนที่เหลือจะให้ประชามติ หรือ ตั้ง ส.ส.ร.3 นั้น ตนคิดว่า รัฐบาลอาจจะโดนมองว่า กำลังซื้อเวลาอยู่หรือไม่ ทั้งนี้รายงานของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ มีความชัดเจนอยู่แล้ว และในเวทีประชุมร่วมกันของรัฐสภา ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว หากรัฐบาลยังมีท่าทีแบบนี้ ก็ไม่รู้ว่า จะเปิดประชุมร่วมรัฐสภาเพื่อรับฟังความเห็นของสมาชิกไปทำไม ซึ่งหลังประชุมเสร็จแล้ว ซึ่งรัฐบาลต้องแสดงท่าทีออกมาให้ชัดเจน เพราะทราบว่าตอนนี้ นายสมเกียรติ จะรวบรวมรายชื่อ ส.ส. ส.ว.เสนอร่างไปอีกครั้ง โดยร่างใหม่นี้ เป็นไปตามข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯทุกประการ ซึ่งหากมีการขอเสียงสนับสนุนมา ส.ว.ก็จะคุยกันก่อน
เพื่อไม่ให้ผิดพลาดเหมือนครั้งที่แล้ว โดยถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยกับ 6 ประเด็นของร่างใหม่ ก็จะสนับสนุนพร้อมกัน แต่สมมติว่า หากส่วนใหญ่เห็นด้วย 3-4 ประเด็น และจะเอาประเด็นไหนออก ก็ต้องดูความเห็นพ้องและต้องคุยกับนายสมเกียรติ เพื่อไม่ให้ต้องมาทยอยถอนชื่อในภายหลัง
รายงานข่าวจากวุฒิสภา แจ้งว่า สำหรับ 36 ส.ว.ที่เคยถอนชื่อจากญัตติเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่แล้ว ส่วนใหญ่ได้มีการคุยกันแล้วและรอดูท่าทีของรัฐบาลอยู่ว่า หลังจากประชุมร่วมรัฐสภาเสร็จสิ้นจะมีท่าทีอย่างไร หากยังไม่มีความชัดเจน และร่างใหม่ที่ นายสมเกียรติ จะเสนอ ตรงกันทุกประเด็นกับข้อเสนอของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ก็ยินดีจะลงชื่อสนับสนุนร่างต่อไป