“อำพล” ปาฐกถา เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความโปร่งใสในรัฐ แนะข้าราชการยึดแนวทางทศพิธราชธรรม 10 ประการ “ซื่อสัตย์-สุจริต” เช่นเดียวกับ “ในหลวง” ย้ำ ทรงเป็นกลางทางการเมือง ไม่กระทำผิดขัด รธน.ทั้งไม่ทรงสนับสนุนอบายมุข “แข่งม้า-ชนไก่”
วันนี้ (2 ก.ย.) นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งระหว่างปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในภาครัฐ” แก่ผู้บริหารและข้าราชการกว่า 500 คน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.โดยเน้นย้ำว่า ให้ข้าราชการทุกระดับชั้น ทำประโยชน์กับบ้านเมือง ยึดแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 ประการ
นายอำพล ยังกล่าวถึงผู้บริหารระดับสูงบางคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน เนื่องจากมีความเห็นแก่ตัว และมีการทุจริตเชิงนโยบาย
“พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกลางทางการเมืองมาตลอด และไม่เคยกระทำการใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทรงช่วยเหลือประชาชนทุกด้าน รวมถึงการถวายฎีกาของพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้กระทำความผิด ส่วนกรณีการจัดแข่งม้า หรือชนไก่ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยสนับสนุน และทรงไม่เห็นด้วยกับการที่มีอบายมุขเหล่านี้” องคมนตรี กล่าว
ส่วนการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ควรยึดหลักสุจริตและความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ข้าราชการในปัจจุบันควรตระหนักถึงความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือแม้กระทั่งเกรงกลัวคำสั่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงจนละเมิดความถูกต้อง
วันนี้ (2 ก.ย.) นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี กล่าวตอนหนึ่งระหว่างปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และความโปร่งใสในภาครัฐ” แก่ผู้บริหารและข้าราชการกว่า 500 คน จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ.โดยเน้นย้ำว่า ให้ข้าราชการทุกระดับชั้น ทำประโยชน์กับบ้านเมือง ยึดแนวทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม 10 ประการ
นายอำพล ยังกล่าวถึงผู้บริหารระดับสูงบางคนที่ไม่ประสบความสำเร็จในการบริหารงาน เนื่องจากมีความเห็นแก่ตัว และมีการทุจริตเชิงนโยบาย
“พระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกลางทางการเมืองมาตลอด และไม่เคยกระทำการใดที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และทรงช่วยเหลือประชาชนทุกด้าน รวมถึงการถวายฎีกาของพระราชทานอภัยโทษให้กับผู้กระทำความผิด ส่วนกรณีการจัดแข่งม้า หรือชนไก่ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยสนับสนุน และทรงไม่เห็นด้วยกับการที่มีอบายมุขเหล่านี้” องคมนตรี กล่าว
ส่วนการแต่งตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ก็ควรยึดหลักสุจริตและความยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ ข้าราชการในปัจจุบันควรตระหนักถึงความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ควรใช้อำนาจในทางที่ผิด หรือแม้กระทั่งเกรงกลัวคำสั่งผู้บังคับบัญชาระดับสูงจนละเมิดความถูกต้อง