วาระครม.เศรษฐกิจ จับตามอง “คลัง” ชงของบ 2 แสนล้าน ขับเคลื่อนแผนลงทุนไทยเข้มแข็ง ปี 53-55 เพื่อจัดสรรงบกระตุ้น ศก. ทั้งเดินหน้ารถไฟฟ้า 4 สาย ปรับปรุงถนนชำรุดทรุดโทรม และส่งเสริมด้านสาธารณสุข
วันนี้ (18 ส.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับแผนลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง ปี 2553-2555 ว่า ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลมีแผนปฏิบัติการโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งเป็นการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) กำหนดเวลา 3 ปี คือ ในช่วงปี 2553-2555 วงเงินรวม 1.43 ล้านล้านบาท โดยในส่วนโครงการที่ต้องลงทุนระยะที่ 1 ในปี 2552 มีบางส่วนต่อเนื่องไปถึงปี 2553 ด้วยมีวงเงินทั้งสิ้น 342,160 ล้านบาท ซึ่งมาจากเงินงบประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท รวมทั้งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ 64 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศตามกฎหมายปกติประมาณ 3,000 ล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศตามกฎหมายปกติ 2,771 ล้านบาท ส่วนเงินก้อนใหญ่ที่จะมาจากเงินกู้ตามกฎหมายพิเศษหรือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท อีกจำนวน 289,070 ล้านบาท
สำหรับแผนการลงทุน 3 ปี มีโครงการใช้เงินกว่า 6,000 โครงการนั้น ในเฉพาะปีแรกมีโครงการที่ขอใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงินนับพันโครงการ ซึ่งรัฐบาลระบุว่าต้องเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในปี 2553 แต่ที่น่าสังเกต คือ มีโครงการถูกบรรจุในประเภทที่ 1 นั่นหมายถึง สามารถดำเนินการได้บางส่วนได้ปี 2552 และพร้อมจะดำเนินการได้ในปี 2553 จำนวน 12 สาขา ด้วยวงเงิน 231,311 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 57,759 ล้านบาทนั้น ถูกบรรจุอยู่ในโครงการประเภทที่ 2 หรือกลุ่มที่พร้อมดำเนินการได้ในปี 2553 แต่ยังมีปัญหาที่อาจทำให้ไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 2553 ทำให้ขณะนี้มีกระจายอยู่ใน 11 สาขา ยกเว้นแผนการเพิ่มทุนในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ วงเงิน 14,500 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่ โครงการด้านสาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตรที่ดำเนินการได้ทันที ได้รับการจัดสรรเงินจำนวน 62,422 ล้านบาท โดย 3 อันดับแรกเป็นงบประมาณที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน เกือบ 50,000 ล้านบาท อาทิ โครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานเดิมทั่วประเทศ และจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่ สำหรับโครงการที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะดำเนินการได้จริง (ประเภทที่ 2) มีการจัดสรรเงินไว้แล้วจำนวน 4,916 ล้านบาท รวมโครงการ 2 ประเภทได้รับงบประมาณสูงถึง 67,113 ล้านบาท
ส่วนสาขาขนส่ง ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 47,874 ล้านบาท แยกเป็นระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียวอ่อน สายเขียวเข้ม และสายสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในความดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 4,842 ล้านบาท ระบบขนส่งทางราง ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,455 ล้านบาท ระบบขนส่งทางหลวง กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบจำนวน 10 โครงการ วงเงิน 39,819 ล้านบาท เช่น โครงการถนนไร้ฝุ่น การแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล การปรับปรุงสะพานทั่วประเทศ การติดตั้งไฟฟ้า การติดป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ส่วนระบบขนส่งทางอากาศ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 758 ล้านบาท อาทิ การปรับปรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยหากรวมกับโครงการประเภทที่ 2 ในทุกระบบขนส่ง จะมีวงเงินกันไว้อีกจำนวน 17,656 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สาขาขนส่งได้รับจัดสรรงบสูงถึง 65,530 ล้านบาท สำหรับในส่วนโครงการที่ยังไม่พร้อมดำเนินการ แต่ถูกบรรจุในโปรแกรมใช้เงินไว้แล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีน้ำตาล และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นต้น
ด้าน สาขาการศึกษา ได้รับจัดสรรเงินรวม 53,270 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ดำเนินการได้ทันปี 2553 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นอกจากนี้ยังมีสาขาสาธารณสุขที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ วงเงินรวม 32,325 ล้านบาท มีโครงการประเภทที่ 2 เพียง 549 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข สุดท้าย คือ โครงการสาขาลงทุนระดับชุมชน โครงการประเภท 1 วงเงิน 16,838 ล้านบาท เน้นพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 175 โครงการ รวมทั้งโครงการต้นกล้าอาชีพด้วย ส่วนโครงการประเภท 2 ในสาขาดังกล่าว ได้รับการอนุมัติด้วยวงเงิน 19,783 ล้านบาท มีทั้งสิ้น 212 โครงการ นำไปพัฒนาพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด แต่ในส่วน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับงบประมาณเพิ่มอีกจำนวน 4,859 ล้านบาท ทำให้สาขานี้มีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 36,621 ล้านบาท
วันนี้ (18 ส.ค.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยถึงกรณีที่กระทรวงการคลังจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาเกี่ยวกับแผนลงทุนโครงการไทยเข้มแข็ง ปี 2553-2555 ว่า ก่อนหน้านี้ ทางรัฐบาลมีแผนปฏิบัติการโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งเป็นการลงทุนภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (SP2) กำหนดเวลา 3 ปี คือ ในช่วงปี 2553-2555 วงเงินรวม 1.43 ล้านล้านบาท โดยในส่วนโครงการที่ต้องลงทุนระยะที่ 1 ในปี 2552 มีบางส่วนต่อเนื่องไปถึงปี 2553 ด้วยมีวงเงินทั้งสิ้น 342,160 ล้านบาท ซึ่งมาจากเงินงบประมาณ 2.1 หมื่นล้านบาท รวมทั้งรายได้ของรัฐวิสาหกิจ 64 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศตามกฎหมายปกติประมาณ 3,000 ล้านบาท และเงินกู้ต่างประเทศตามกฎหมายปกติ 2,771 ล้านบาท ส่วนเงินก้อนใหญ่ที่จะมาจากเงินกู้ตามกฎหมายพิเศษหรือ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 แสนล้านบาท อีกจำนวน 289,070 ล้านบาท
สำหรับแผนการลงทุน 3 ปี มีโครงการใช้เงินกว่า 6,000 โครงการนั้น ในเฉพาะปีแรกมีโครงการที่ขอใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงินนับพันโครงการ ซึ่งรัฐบาลระบุว่าต้องเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันทีในปี 2553 แต่ที่น่าสังเกต คือ มีโครงการถูกบรรจุในประเภทที่ 1 นั่นหมายถึง สามารถดำเนินการได้บางส่วนได้ปี 2552 และพร้อมจะดำเนินการได้ในปี 2553 จำนวน 12 สาขา ด้วยวงเงิน 231,311 ล้านบาท ส่วนที่เหลืออีก 57,759 ล้านบาทนั้น ถูกบรรจุอยู่ในโครงการประเภทที่ 2 หรือกลุ่มที่พร้อมดำเนินการได้ในปี 2553 แต่ยังมีปัญหาที่อาจทำให้ไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ภายในปีงบประมาณ 2553 ทำให้ขณะนี้มีกระจายอยู่ใน 11 สาขา ยกเว้นแผนการเพิ่มทุนในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ วงเงิน 14,500 ล้านบาทเท่านั้น
ขณะที่ โครงการด้านสาขาทรัพยากรน้ำและการเกษตรที่ดำเนินการได้ทันที ได้รับการจัดสรรเงินจำนวน 62,422 ล้านบาท โดย 3 อันดับแรกเป็นงบประมาณที่อยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน เกือบ 50,000 ล้านบาท อาทิ โครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทานเดิมทั่วประเทศ และจัดหาแหล่งน้ำเพิ่มพื้นที่ชลประทานใหม่ สำหรับโครงการที่ยังไม่แน่ชัดว่าจะดำเนินการได้จริง (ประเภทที่ 2) มีการจัดสรรเงินไว้แล้วจำนวน 4,916 ล้านบาท รวมโครงการ 2 ประเภทได้รับงบประมาณสูงถึง 67,113 ล้านบาท
ส่วนสาขาขนส่ง ได้รับการจัดสรรงบประมาณ 47,874 ล้านบาท แยกเป็นระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีเขียวอ่อน สายเขียวเข้ม และสายสีน้ำเงิน ซึ่งอยู่ในความดูแลของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย วงเงิน 4,842 ล้านบาท ระบบขนส่งทางราง ในความดูแลของการรถไฟแห่งประเทศไทย วงเงิน 2,455 ล้านบาท ระบบขนส่งทางหลวง กรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบจำนวน 10 โครงการ วงเงิน 39,819 ล้านบาท เช่น โครงการถนนไร้ฝุ่น การแก้ไขปัญหาจราจรในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล การปรับปรุงสะพานทั่วประเทศ การติดตั้งไฟฟ้า การติดป้ายจราจรและสัญญาณไฟจราจร ส่วนระบบขนส่งทางอากาศ ได้รับจัดสรรงบประมาณ 758 ล้านบาท อาทิ การปรับปรุงท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยหากรวมกับโครงการประเภทที่ 2 ในทุกระบบขนส่ง จะมีวงเงินกันไว้อีกจำนวน 17,656 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สาขาขนส่งได้รับจัดสรรงบสูงถึง 65,530 ล้านบาท สำหรับในส่วนโครงการที่ยังไม่พร้อมดำเนินการ แต่ถูกบรรจุในโปรแกรมใช้เงินไว้แล้ว ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู สายสีน้ำตาล และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย เป็นต้น
ด้าน สาขาการศึกษา ได้รับจัดสรรเงินรวม 53,270 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ดำเนินการได้ทันปี 2553 ของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นอกจากนี้ยังมีสาขาสาธารณสุขที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ วงเงินรวม 32,325 ล้านบาท มีโครงการประเภทที่ 2 เพียง 549 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นโครงการในความรับผิดชอบของกระทรวงสาธารณสุข สุดท้าย คือ โครงการสาขาลงทุนระดับชุมชน โครงการประเภท 1 วงเงิน 16,838 ล้านบาท เน้นพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 175 โครงการ รวมทั้งโครงการต้นกล้าอาชีพด้วย ส่วนโครงการประเภท 2 ในสาขาดังกล่าว ได้รับการอนุมัติด้วยวงเงิน 19,783 ล้านบาท มีทั้งสิ้น 212 โครงการ นำไปพัฒนาพื้นที่ทั้ง 76 จังหวัด แต่ในส่วน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับงบประมาณเพิ่มอีกจำนวน 4,859 ล้านบาท ทำให้สาขานี้มีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 36,621 ล้านบาท