“มาร์ค” เตรียมออกแถลงการณ์ฐานะประธานอาเซียน แสดงท่าทีต่อรัฐบาลทหารพม่า ระบุคำพิพากษาจำคุก “ซูจี” จะถือเป็นกิจการภายในไม่ได้ เชื่อพม่าอาจเจอแรงกดดันทั้งจากประชาคมโลก และการประชุมอาเซียนในเดือนตุลาคมนี้ เนื่องจากมีการละเมิดข้อตกลง
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์
วันนี้ (12 ส.ค.) ที่บริเวณหน้าบ้านพักซอยสุขุมวิท 31 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงท่าทีของอาเซียนต่อกรณีที่นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า ถูกศาลสั่งกักตัวอีก 18 เดือนว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับสถานทูตของกลุ่มประเทศอาเซียนคาดว่าไทยในฐานะประธานอาเซียนจะมีแถลงการณ์จุดยืนออกมาในวันเดียวกัน สาระหลักของแถลงการณ์ คือ 1.เราผิดหวังกับคำพิพากษาของนางอองซาน ซูจี ที่เกิดขึ้น 2.อาเซียนยังยืนยันในจุดยืนเดิมที่ต้องการเห็นการปล่อยผู้ที่ถูกกักขังทางการเมืองทั้งหลายเพื่อที่จะให้กระบวนการของการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยของพม่าสามารถดำเนินการ และการเลือกตั้งจะเป็นการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และ 3.อาเซียนมีความพร้อมในการที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่พม่าในการที่จะสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่จะมีการนำไปสู่ประชาธิปไตยตามแผน และสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ ในการดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป อาเซียนต้องทำงานให้หนักขึ้น และต้องระมัดระวังการไปแทรกแซงกิจการภายในคงไม่ใช่สิ่งพึงกระทำ แต่เส้นแบ่งมันยากขึ้น เมื่อความเป็นกลุ่มอาเซียนมันได้รับผลกระทบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะประสานเพื่อให้มีแถลงการณ์ออกมาจะเป็นในนามประธานอาเซียน หรือในนามร่วมกันก็ตาม และกำลังประสานความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินการก้าวต่อไปอย่างไร ส่วนข้อเรียกร้องของชาติตะวันตกที่จะให้คว่ำบาตรพม่านั้นก็จะต้องหารือกันในกลุ่มอาเซียน และเคยเป็นความห่วงใยของอาเซียนหลายครั้งว่า หากการตอบสนองต่อเสียงสะท้อนต่อประชาคมโลกไม่เกิดขึ้น สุดท้ายอาเซียนจะได้ช่วยสามารถแก้ปัญหาได้เรื่องนี้จะยกระดับไปสู่เวทีอื่นๆ เราพยามสื่อสารกับพม่ามาโดยตลอดด้วยความปรารถนาดี เพราะจริงๆ แล้วน่าจะต้องมาปรึกษาหารือในอาเซียนดีที่สุด เท่าที่ติดตามขณะนี้ประเทศต่างๆ ที่เรียกร้องจะเรียกร้องในเรื่องการค้าอาวุธมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการกดดันให้พม่าออกจากประเทศสมาชิกอาเซียนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในชั้นนี้จะดูในกรอบความเคลื่อนไหวของประชาคมโลกซึ่งดูจะมุ่งไปที่สหประชาชาติ เมื่อถามว่า ท่าทีอาเซียนมีออกไปจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กับพม่าหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่า สิ่งที่เราสะท้อนออกไป เป็นการสะท้อนบนความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ต้องการเห็นพม่าอยู่ในเวทีต่างๆ และในประชาคมโลก เพื่อประโยชน์ของคนพม่าทั้ง เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคง กระบวนการการเลือก ตั้งที่วางเอาไว้พม่าต้องการให้เป็นขั้นตอนสำคัญที่ไปสู่เรื่องการปรองดอง ระหว่างกลุ่มต่างๆ หากไม่ได้รับความเชื่อถือก็จะเป็นปัญหาที่กลับไปสู่จุด เดิมสิ่งที่พม่าทำมาก็สูญเปล่า ดังนั้น ทุกอย่างที่เราพูดเป็นเรื่องของเพื่อนบ้านที่ดีพึงจะสะท้อนต่อกัน
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า แผนการเยือนพม่าของตนนั้นขณะนี้ยังไม่มีเวลาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการประชุมอาเซียนครั้งต่อไปในเดือน ต.ค. ตนคิดว่าพม่าคงจะมีแรงกดดันมาก เพราะเป็นหัวข้อที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่มาบดบังที่อาเซียนทำไว้ในหลายด้านจึงอยากให้พม่าได้ทำความเข้าใจด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมานายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางไปพบปะผู้นำพม่าก็มีการสะท้อนพูดคุยแลกเปลี่ยนกันชัดเจน ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นรัฐบาลพม่าคงบอกว่าเป็นเรื่องของศาลและฝ่ายบริหารเป็นคนไปปรับลดโทษลงมา แต่ตนว่าข้อเท็จจริงจากเสียงสะท้อนของประชาคมโลกจะเป็น อุปสรรคในการทำงานแน่นอน ดังนั้น เป็นเรื่องที่เราอยากให้รัฐบาลพม่ารับฟัง ตนคิดว่าทุกคนต้องมาทบทวนจะมีวิธีใดสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้ ตนเข้าใจว่าทางรัฐบาลพม่ามองเป็นเรื่องภายในหรือเป็นเรื่องที่ใครจะมีแอบแฝงหรือไม่ แต่เราต้องพยายามสื่อสารว่า จริงๆ แล้วจุดยืนต่างสะท้อนออกมามันไม่ใช่ ทุกคนพยายามสื่อสาร แต่ไปไม่ถึงหรืออาจจะเป็นมุมมองที่แตกต่างกันก็ต้องมาคิด จุดนี้ให้รอบคอบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ยิ่งเราเป็นเพื่อนบ้านสถานการณ์แตกต่างไปจากประเทศที่อยู่ห่างไกลที่ทำอะไรก็ไม่กระทบกระเทือนคนของเขา ขณะที่เราต้องร่วมมือแก้ปัญหาหลายอย่าง เช่น ยาเสพติด
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้สัมภาษณ์
วันนี้ (12 ส.ค.) ที่บริเวณหน้าบ้านพักซอยสุขุมวิท 31 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงท่าทีของอาเซียนต่อกรณีที่นางอองซาน ซูจี ผู้นำฝ่ายค้านในพม่า ถูกศาลสั่งกักตัวอีก 18 เดือนว่า ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานงานกับสถานทูตของกลุ่มประเทศอาเซียนคาดว่าไทยในฐานะประธานอาเซียนจะมีแถลงการณ์จุดยืนออกมาในวันเดียวกัน สาระหลักของแถลงการณ์ คือ 1.เราผิดหวังกับคำพิพากษาของนางอองซาน ซูจี ที่เกิดขึ้น 2.อาเซียนยังยืนยันในจุดยืนเดิมที่ต้องการเห็นการปล่อยผู้ที่ถูกกักขังทางการเมืองทั้งหลายเพื่อที่จะให้กระบวนการของการไปสู่การเป็นประชาธิปไตยของพม่าสามารถดำเนินการ และการเลือกตั้งจะเป็นการเลือกตั้งที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง และ 3.อาเซียนมีความพร้อมในการที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่พม่าในการที่จะสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ที่จะมีการนำไปสู่ประชาธิปไตยตามแผน และสนับสนุนบทบาทของสหประชาชาติ ในการดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป อาเซียนต้องทำงานให้หนักขึ้น และต้องระมัดระวังการไปแทรกแซงกิจการภายในคงไม่ใช่สิ่งพึงกระทำ แต่เส้นแบ่งมันยากขึ้น เมื่อความเป็นกลุ่มอาเซียนมันได้รับผลกระทบกับสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า ในเบื้องต้นนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ จะประสานเพื่อให้มีแถลงการณ์ออกมาจะเป็นในนามประธานอาเซียน หรือในนามร่วมกันก็ตาม และกำลังประสานความเป็นไปได้ว่าจะดำเนินการก้าวต่อไปอย่างไร ส่วนข้อเรียกร้องของชาติตะวันตกที่จะให้คว่ำบาตรพม่านั้นก็จะต้องหารือกันในกลุ่มอาเซียน และเคยเป็นความห่วงใยของอาเซียนหลายครั้งว่า หากการตอบสนองต่อเสียงสะท้อนต่อประชาคมโลกไม่เกิดขึ้น สุดท้ายอาเซียนจะได้ช่วยสามารถแก้ปัญหาได้เรื่องนี้จะยกระดับไปสู่เวทีอื่นๆ เราพยามสื่อสารกับพม่ามาโดยตลอดด้วยความปรารถนาดี เพราะจริงๆ แล้วน่าจะต้องมาปรึกษาหารือในอาเซียนดีที่สุด เท่าที่ติดตามขณะนี้ประเทศต่างๆ ที่เรียกร้องจะเรียกร้องในเรื่องการค้าอาวุธมากกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่าจะมีการกดดันให้พม่าออกจากประเทศสมาชิกอาเซียนหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ในชั้นนี้จะดูในกรอบความเคลื่อนไหวของประชาคมโลกซึ่งดูจะมุ่งไปที่สหประชาชาติ เมื่อถามว่า ท่าทีอาเซียนมีออกไปจะกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กับพม่าหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่า สิ่งที่เราสะท้อนออกไป เป็นการสะท้อนบนความเป็นเพื่อนบ้านที่ดี ต้องการเห็นพม่าอยู่ในเวทีต่างๆ และในประชาคมโลก เพื่อประโยชน์ของคนพม่าทั้ง เรื่องเศรษฐกิจและความมั่นคง กระบวนการการเลือก ตั้งที่วางเอาไว้พม่าต้องการให้เป็นขั้นตอนสำคัญที่ไปสู่เรื่องการปรองดอง ระหว่างกลุ่มต่างๆ หากไม่ได้รับความเชื่อถือก็จะเป็นปัญหาที่กลับไปสู่จุด เดิมสิ่งที่พม่าทำมาก็สูญเปล่า ดังนั้น ทุกอย่างที่เราพูดเป็นเรื่องของเพื่อนบ้านที่ดีพึงจะสะท้อนต่อกัน
นายอภิสิทธิ์กล่าวอีกว่า แผนการเยือนพม่าของตนนั้นขณะนี้ยังไม่มีเวลาที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการประชุมอาเซียนครั้งต่อไปในเดือน ต.ค. ตนคิดว่าพม่าคงจะมีแรงกดดันมาก เพราะเป็นหัวข้อที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากที่สุด ซึ่งเป็นเรื่องที่มาบดบังที่อาเซียนทำไว้ในหลายด้านจึงอยากให้พม่าได้ทำความเข้าใจด้วย
นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมานายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางไปพบปะผู้นำพม่าก็มีการสะท้อนพูดคุยแลกเปลี่ยนกันชัดเจน ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นรัฐบาลพม่าคงบอกว่าเป็นเรื่องของศาลและฝ่ายบริหารเป็นคนไปปรับลดโทษลงมา แต่ตนว่าข้อเท็จจริงจากเสียงสะท้อนของประชาคมโลกจะเป็น อุปสรรคในการทำงานแน่นอน ดังนั้น เป็นเรื่องที่เราอยากให้รัฐบาลพม่ารับฟัง ตนคิดว่าทุกคนต้องมาทบทวนจะมีวิธีใดสื่อสารให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันได้ ตนเข้าใจว่าทางรัฐบาลพม่ามองเป็นเรื่องภายในหรือเป็นเรื่องที่ใครจะมีแอบแฝงหรือไม่ แต่เราต้องพยายามสื่อสารว่า จริงๆ แล้วจุดยืนต่างสะท้อนออกมามันไม่ใช่ ทุกคนพยายามสื่อสาร แต่ไปไม่ถึงหรืออาจจะเป็นมุมมองที่แตกต่างกันก็ต้องมาคิด จุดนี้ให้รอบคอบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ยิ่งเราเป็นเพื่อนบ้านสถานการณ์แตกต่างไปจากประเทศที่อยู่ห่างไกลที่ทำอะไรก็ไม่กระทบกระเทือนคนของเขา ขณะที่เราต้องร่วมมือแก้ปัญหาหลายอย่าง เช่น ยาเสพติด