ประชุมระหว่าง รมต.ต่างประเทศอาเซียน กับคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (HLP) เห็นชอบจัดตั้ง “องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน” เชื่อ สถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อพม่า จะไม่มีผลกระทบกับการจัดตั้งองค์กรดังกล่าว เพราะพม่าได้ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียนไว้แล้ว พร้อมยกร่างทีโออาร์ ที่ได้ให้เสร็จสิ้นพรุ่งนี้
วันนี้ (19 ก.ค.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ แถลงภายหลังหารือกว่า 2 ชั่วโมง ในการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน กับคณะทำงานระดับสูง ว่าด้วยกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน (HLP) ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยกับกลไกการจัดตั้ง “องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน” ทั้งนี้ ยืนยันว่า องค์กรนี้จะไม่เป็นองค์กรของภาครัฐ เช่น องค์กรนี้ในประเทศไทยจะประกาศรับสมัครจากบุคคลสาธารณะต่างๆ โดยอาจจะเปิดให้นักวิชาการ จากภาคเอกชน หรือประชาสังคม
อย่างไรก็ตาม แม้จะมีกระแสข่าวว่า กลไกการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชน จะมีประเทศพม่าคัดค้าน แต่ที่ประชุมและตนกลับไม่คิดว่าที่ประชุมไม่ลงรอยกัน เพราะเราเห็นพ้องกันที่จะทำให้เสร็จสิ้นในจุดนี้
นายกษิต ยังระบุต่อว่า สถานการณ์สิทธิมนุษยชนต่อพม่านั้น จะไม่มีผลกระทบกับการจัดตั้งองค์กรนี้ เพราะพม่าได้ให้สัตยาบันต่อกฎบัตรอาเซียน และเห็นว่า กระบวนการที่จะมีการยกร่างทีโออาร์ที่ได้ตกลงต่อทีโออาร์นี้ และจะต้องทำให้เสร็จสิ้นพรุ่งนี้ (20 ก.ค.) ซึ่งที่ประชุมและตนเชื่อว่า จะไม่มีการเบี่ยงเบน ได้ตกลงร่วมกัน
“ต่อจากนี้ไป กลไกการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษชน จะต้องมีการติดตามผลจากประเทศสมาชิก เป็นกลไกที่ทำงานของสมาชิกทุกประเทศที่เป็นสมาชิกเต็มของกฎบัตรอาเซียน และข้อจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์หลักกฎบัตรอาเซียน” นายกษิต กล่าว
รมว.ต่างประเทศ กล่าวต่อว่า ดังนั้น ฉันทามติต่อร่างทีโออาร์ เมื่อทำการรับรองในวันนี้ (19 ก.ค.) จะเกิดกลไกอย่างไร ตนคิดว่าไม่ได้ว่ามากที่สุด ซึ่งเราก็ตกลงคือนำเสนอต่อทีประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนใน เดือน ต.ค.2552 โดยจะทำการยกร่างต่อไปใน ต.ค.ไปข้างหน้า
นายกษิต กล่าวด้วยว่า การหารืออย่างเข้มข้นจากผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจะสามารถระงับข้อพิพาท เพราะอาเซียนมีกลไกเศรษฐกิจและการเมือง ความมั่นคง ของสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) แล้ว ดังนั้น กลไกใหม่ที่สามารถระงับข้อพิพาท จะถูกควบคุมจากกฎบัตรอาเซียนและควบคุมในอนาคต และกลไกนี้จะยึดมั่นใจกฎเกณฑ์การแก้ไขปัญหาในอาเซียนซัมมิต
ดังนั้น ที่ประชุมจึงเห็นด้วยกับผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย ว่า กลไกหลายๆ แบบที่ใช้ในการหารือไกล่เกลี่ยและตั้งอนุญาโตตุลาการ จึงได้มอบหมายให้กลุ่มนี้ทำงานต่อไป โดยไปดูพื้นที่สีเทา ที่ไม่มีการจัดตั้งกลไกใหม่ๆ โดยหากลไกเพื่อระงับข้อพิพาทได้