xs
xsm
sm
md
lg

“กษิต” ยัน รมต.4 ปท.ส่ง จนท.เข้าร่วม ไม่มีผลต่อการประชุม ปัดถอนตัวจากเหตุบึ้มอินโด-ไฟใต้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ
“กษิต” ถึงภูเก็ต การันตี แม้ 4 ประเทศคู่เจรจา ส่งระดับเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมจะไม่มีผลต่อการประชุม รมต.ต่างประเทศอาเซียน ที่จะมาครบถ้วน ปัดถอนตัวจากเหตุบึ้มในอินโดฯ-ภัย 3 จังหวัดชายแดนใต้ จับตา รมต.ต่างประเทศอาเซียน รับรอง หรือทบทวน จัดตั้ง “องค์การสิทธิมนุษยชนอาเซียน”

วันนี้ (19 ก.ค.) เวลา 08.35 น.นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เดินทางมาถึงสนามบินภูเก็ตเพื่อร่วมประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 42 ที่ จ.ภูเก็ต โดยกล่าวยืนยันว่า แม้รัฐมนตรีต่างประเทศ 4 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย เกาหลีเหนือ แคนาดา มองโกเลีย และปาปัวนิวกินี ไม่ได้เดินทางมาด้วยตัวเองก็ไม่มีผลกับการกระชุม และการที่รัฐมนตรีไม่เดินทางมาเองก็ไม่ใช่เป็นเรื่องเกรงความปลอดภัยจากความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือเหตุวางระบิดในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย แต่อย่างใด ส่วนวาระงานที่รัฐมนตรีต่างประเทศมองโกเลียจะเข้าหารือทวิภาคีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีก็ไม่มีผลกระทบเช่นกัน

“ล่าสุด ไม่มีรัฐมนตรีต่างประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศคู่เจรจาขอถอนตัวจากการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีและประเทศคู่เจรจาอีก หลังจากทั้ง 4 ประเทศได้หมอยหมายให้ผู้แทนที่ต่ำกว่ารัฐมนตรีต่างประเทศเข้าร่วมเป็นคู่เจรจาแทน”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกัน คณะทำงานอาวุโส (High Level Panel) ซึ่งมีหน้าที่ในการร่าง TOR ของการจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN human rights body) จะเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเพื่อยื่นร่าง TOR ดังกล่าว เพื่อขอรับรอง

นายศีนาพัน สไมโดไร ผู้ประสานงานของคณะทำงานด้านคนงานพลัดถิ่นในอาเซียน กล่าวว่า ยินดีที่จะมีการจัดตั้งองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน และเห็นว่า ได้มีความคืบหน้าในการแก้ปัญหาต่างๆในระดับภูมิภาค สิ่งสำคัญอย่างแท้จริง คือ สิ่งที่จะทำให้อาเซียนแข็งแกร่ง คือ การมีองค์กรที่จะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เข้มแข็ง และมิใช่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนเพียงบางเรื่อง แต่ต้องเข้าใจเรื่องสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการ

“มาตรา 1.7 ในกฎบัตรอาเซียนระบุว่าวัตถุประสงค์ของอาเซียน คือ “เพื่อเสริมสร้างประชาธิปไตย ธรรมาภิบาล และการบังคับใช้กฎหมาย และเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และเสรีภาพขั้นพื้นฐานโดยคำนึงถึงสิทธิและความรับผิดชอบของประเทศสมาชิกอาเซียน”

ภาคประชาสังคมเรียกร้องให้มีการผสานการทำงานและร่วมมือกันมากขึ้นระหว่างกลไกด้านสิทธิมนุษยชนทั้งสามองค์กรที่กำลังมีการจัดตั้งขึ้นโดยอาเซียน ซึ่งประกอบด้วย องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน (ASEAN human rights body) คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของสตรีและเด็ก และคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองคนงานพลัดถิ่น องค์กรทั้ง 3 นี้ ควรได้บูรณการเข้าด้วยกันภายใต้กรอบทำงานและกระบวนการตัดสินใจเดียวกัน เพื่อให้มีสถานะเดียวกันภายใต้กรอบของอาเซียน

นางสาวมิซุน วู เจ้าหน้าที่จากเครือข่ายด้านสตรี กฎหมายและการพัฒนาในเอเชียและแปซิฟิก ซึ่งมี 150 องค์กรในภูมิภาคเป็นสมาชิก กล่าวว่า ควรยอมรับกันว่า สิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องที่ติดมากับตัว สิทธิด้านต่างๆ นั้น เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และแบ่งแยกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นจึงควรถือว่าสิทธิด้านต่างๆ มีความสำคัญเท่าๆ กัน และไม่มีประเด็นสิทธิมนุษยนชนด้านใดเป็นเรื่องปลีกย่อย กลไกด้านสิทธิสำหรับสตรี เด็ก คนงานพลัดถิ่น คนพิการ ชนพื้นเมือง หรืออื่นๆ ไม่อาจแยกจากกรอบใหญ่ขององค์กรสิทธิมนุษยชน”
กำลังโหลดความคิดเห็น