กอ.รมน.เตรียมชงขยายเวลาใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 3 จว.ชายแดนใต้ ระบุยืดออกไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่ 19 ก.ค.นี้ พร้อมออกมาตรการเสริมเยียวยาผู้ได้รับกระทบจากการจับกุม-ควบคุมตัวไปสอบสวน ไม่ให้กระทบสมาชิกในครอบครัวที่เหลือ แย้ม 13 ก.ค.นี้ รมว.กลาโหม นำทีม ผบ.เหล่าทัพ ตรวจที่จัดประชุม รมต.อาเซียน เผยผนึกกำลังทุกภาคส่วนกว่า 9,000 นาย ตรึงพื้นที่
วันนี้ (12 ก.ค.) แหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวว่า ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ ได้เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติขยายเวลาการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานกรณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ออกไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.นี้ เป็นต้นไป หลังจากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดทำรายละเอียดการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักรไทย ให้เสร็จทันตามที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. มอบหมายนโยบายให้
ทั้งนี้ ในโอกาสนี้ กอ.รมน.จะเสนอมาตรการเสริม เพื่อออกเป็นระเบียบการเยียวยาบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการจับกุม ควบคุมตัวไปสอบสวน ควบคู่ไปกับการใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วย เพื่อช่วยเสริมมาตรการให้มีความอ่อนตัว และไม่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากนัก
“อย่างกรณีที่ผู้ถูกจับกุมเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว เมื่อถูกจับตัวมาแล้ว คนในครอบครัวก็จะได้รับผลกระทบเพราะไม่มีคนหารายได้เข้าบ้าน ซึ่งระเบียบที่จะเสนอสู่ที่ประชุม ครม.จะทำให้มีการผ่อนหนักให้เป็นเบามากขึ้น” แหล่งข่าวจาก กอ.รมน.กล่าว
นอกจากนี้ กอ.รมน.จะมีการเสนอแนวทางการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในพื้นที่หลังจากนี้อีก 3 เดือน ซึ่งคาดว่าการปฏิบัติจะทำได้ในลักษณะนำร่อง โดยใช้ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เพื่อดูว่าจะสามารถรองรับสถานการณ์จริง และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้หรือไม่ โดยในปัจจุบัน 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการควบคุมสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน พร้อมด้วย ผบ.เหล่าทัพ จะเดินทางมาตรวจสอบความพร้อมสถานที่จัดการประชุม ที่จ.ภูเก็ต ซึ่งขณะนี้กำลังพลจากกองทัพภาคที่ 1 และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เตรียมทยอยลงพื้นที่แล้ว โดยมีประมาณ 2,700 นาย ในขณะเดียวกันก็จะใช้กำลังพลจากกองทัพเรือในการตรวจดูความเรียบร้อยทางทะเลด้วย ทั้งนี้ กำลังทั้งหมดจากตำรวจ พลเรือน และทหาร ที่ใช้ดูแลความปลอดภัยในครั้งนี้ มีทั้งสิ้นกว่า 9,000 นาย แบ่งเป็นจากส่วนกลางประมาณ 5,000 นาย และในพื้นที่อีก 4,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 1 และกองทัพภาคที่ 4 เป็นหลัก
วันนี้ (12 ก.ค.) แหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวว่า ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ ได้เตรียมเสนอให้คณะรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติขยายเวลาการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานกรณ์ฉุกเฉิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ออกไปอีก 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ค.นี้ เป็นต้นไป หลังจากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สามารถจัดทำรายละเอียดการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักรไทย ให้เสร็จทันตามที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผอ.รมน. มอบหมายนโยบายให้
ทั้งนี้ ในโอกาสนี้ กอ.รมน.จะเสนอมาตรการเสริม เพื่อออกเป็นระเบียบการเยียวยาบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการจับกุม ควบคุมตัวไปสอบสวน ควบคู่ไปกับการใช้ พ.ร.ก.ดังกล่าวด้วย เพื่อช่วยเสริมมาตรการให้มีความอ่อนตัว และไม่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนมากนัก
“อย่างกรณีที่ผู้ถูกจับกุมเป็นหัวหน้าครอบครัว ต้องเลี้ยงดูคนในครอบครัว เมื่อถูกจับตัวมาแล้ว คนในครอบครัวก็จะได้รับผลกระทบเพราะไม่มีคนหารายได้เข้าบ้าน ซึ่งระเบียบที่จะเสนอสู่ที่ประชุม ครม.จะทำให้มีการผ่อนหนักให้เป็นเบามากขึ้น” แหล่งข่าวจาก กอ.รมน.กล่าว
นอกจากนี้ กอ.รมน.จะมีการเสนอแนวทางการใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในพื้นที่หลังจากนี้อีก 3 เดือน ซึ่งคาดว่าการปฏิบัติจะทำได้ในลักษณะนำร่อง โดยใช้ในพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา เพื่อดูว่าจะสามารถรองรับสถานการณ์จริง และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ได้หรือไม่ โดยในปัจจุบัน 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ในฐานะผู้บัญชาการควบคุมสถานการณ์ความสงบเรียบร้อยในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียน พร้อมด้วย ผบ.เหล่าทัพ จะเดินทางมาตรวจสอบความพร้อมสถานที่จัดการประชุม ที่จ.ภูเก็ต ซึ่งขณะนี้กำลังพลจากกองทัพภาคที่ 1 และหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษ ได้เตรียมทยอยลงพื้นที่แล้ว โดยมีประมาณ 2,700 นาย ในขณะเดียวกันก็จะใช้กำลังพลจากกองทัพเรือในการตรวจดูความเรียบร้อยทางทะเลด้วย ทั้งนี้ กำลังทั้งหมดจากตำรวจ พลเรือน และทหาร ที่ใช้ดูแลความปลอดภัยในครั้งนี้ มีทั้งสิ้นกว่า 9,000 นาย แบ่งเป็นจากส่วนกลางประมาณ 5,000 นาย และในพื้นที่อีก 4,000 นาย ส่วนใหญ่เป็นกำลังทหารจากกองทัพภาคที่ 1 และกองทัพภาคที่ 4 เป็นหลัก