“เครือข่ายต้านน้ำเมา” บุก “ทำเนียบ” ยื่นหนังสือถึง “นายกฯอภิสิทธิ์” กระทุ้งจริงจังควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชี้ ควรบังคับใช้กฎหมายอย่างเด็ดขาด ชี้ สังคมไทยจะพินาศจากเหล้า ระบุ ผลวิจัยพบเสียเงินลงขวดปีละกว่าแสนล้านมากกว่ารายได้ภาษีถึง 2 เท่า
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครือข่ายชุมชน กทม.ลด ละ เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก และมูลนิธิเพื่อนหญิง กว่า 30 คน นำโดย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.ให้กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไข และควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเจ้าภาพหลักในการรณรงค์ วันงดดื่มสุราแห่งชาติของทุกปี
2.ให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนงบประมาณ และข้อมูลข่าวสาร ผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้หน่วยงานระดับจังหวัดทุกจังหวัดรณรงค์ ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติของทุกๆ ปี ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหาและให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3.ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมรณรงค์และสนับสนุนข้อมูล ข่าวสาร ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อปัญหาความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัวและรวมไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ ในการมีส่วนร่วมรณรงค์ในสถานศึกษาต่อไปด้วย
นายจะเด็จ กล่าวว่า ทางเครือข่ายตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากคนทุกกลุ่มในสังคมไทย ไม่ว่ากลุ่มเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ชาย เครือข่ายต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ปัญหาอุบัติเหตุ สุขภาพ ความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม ความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ การทะเลาะวิวาท โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
“จากการศึกษาจากศูนย์วิจัยสุรา พบว่า ต้นทุนสูญเสียด้านเศรษฐกิจในการบริโภคเครื่องดื่มในสังคมไทย ปี 2549 มีมูลค่าสูงถึง 156,105 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.99 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากกว่าภาษีที่เก็บได้ ถึง 2 เท่า การผลักดันให้มีวันงดดื่มสุราแห่งชาติในปี 2551 จึงเป็นความสำเร็จในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาชน จึงอยากเห็นภาครัฐให้ความสำคัญมากกว่านี้ ควรมีการรณรงค์อย่างเดียวกับวันงดสูบบุหรี่ และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง” นายจะเด็จ กล่าว
วันนี้ (1 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครือข่ายชุมชน กทม.ลด ละ เลิกเหล้า ยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงและเด็ก และมูลนิธิเพื่อนหญิง กว่า 30 คน นำโดย นายจะเด็จ เชาวน์วิไล ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อนหญิง ได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวันงดดื่มสุราแห่งชาติ โดยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล 3 ข้อด้วยกัน คือ 1.ให้กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลักมีหน้าที่รับผิดชอบในการป้องกัน แก้ไข และควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นเจ้าภาพหลักในการรณรงค์ วันงดดื่มสุราแห่งชาติของทุกปี
2.ให้รัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนงบประมาณ และข้อมูลข่าวสาร ผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อให้หน่วยงานระดับจังหวัดทุกจังหวัดรณรงค์ ในวันงดดื่มสุราแห่งชาติของทุกๆ ปี ให้ประชาชนได้ตระหนักถึงผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อนำมาสู่การแก้ปัญหาและให้มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 3.ให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมรณรงค์และสนับสนุนข้อมูล ข่าวสาร ผลกระทบของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่อปัญหาความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัวและรวมไปถึงกระทรวงศึกษาธิการ ในการมีส่วนร่วมรณรงค์ในสถานศึกษาต่อไปด้วย
นายจะเด็จ กล่าวว่า ทางเครือข่ายตระหนักถึงปัญหาผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากคนทุกกลุ่มในสังคมไทย ไม่ว่ากลุ่มเด็ก สตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ชาย เครือข่ายต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบทั้งโดยตรงและโดยอ้อมจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น ปัญหาอุบัติเหตุ สุขภาพ ความรุนแรงทางเพศ และความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม ความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ การทะเลาะวิวาท โรคเอดส์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
“จากการศึกษาจากศูนย์วิจัยสุรา พบว่า ต้นทุนสูญเสียด้านเศรษฐกิจในการบริโภคเครื่องดื่มในสังคมไทย ปี 2549 มีมูลค่าสูงถึง 156,105 ล้านบาท คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.99 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากกว่าภาษีที่เก็บได้ ถึง 2 เท่า การผลักดันให้มีวันงดดื่มสุราแห่งชาติในปี 2551 จึงเป็นความสำเร็จในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าอีกขั้นหนึ่งของเครือข่ายภาคประชาชน จึงอยากเห็นภาครัฐให้ความสำคัญมากกว่านี้ ควรมีการรณรงค์อย่างเดียวกับวันงดสูบบุหรี่ และมีงบประมาณสนับสนุนอย่างจริงจัง” นายจะเด็จ กล่าว