สมาคมชาวนาไทยขู่รัฐบาล ชาวนากว่า 1,000 คน รวมตัวบุกกระทรวงพาณิชย์ พรุ่งนี้ ยื่นหนังสือค้านรัฐใช้ระบบประกันสินค้า แทนรับจำนำ อ้างเพิ่มภาระเกษตรกร แฉ “กอร์ปศักดิ์” ล้มรับจำนำกุ้ง หลังถูก ส.ส.ใต้ พรรค ปชป.กดดัน ในการประชุม คชก.เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายนนี้ สมาคมชาวนาไทย ซึ่งอ้างว่า มีชาวนาจากภาคกลาง กว่า 1,000 คน จะเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐบาลผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่กระทรวงพาณิชย์ หลังจากที่รัฐบาลแสดงความชัดเจนจะไม่มีโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร และจะหันไปใช้วิธีประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแทน ทั้งนี้ หากรัฐบาลยังยืนยันเช่นเดิม จะมีกลุ่มชาวนาและเกษตรกรทุกกลุ่มจากทั่วประเทศ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อประท้วงรัฐบาลแน่นอน
กลุ่มที่อ้างว่าเป็นสมาคมชาวนาไทยและกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ที่จะเปลี่ยนจากโครงการรับจำนำ เป็นการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแทน เนื่องจากวิธีการรับจำนำแบบเดิมรัฐบาลจะเป็นผู้จัดหายุ้งฉางเก็บผลผลิตทางการเกษตรและรัฐดำเนินการให้เกษตรกรทุกอย่าง เกษตรกรมีหน้าที่นำผลผลิตไปเข้าโครงการรับจำนำเท่านั้น แต่หากเป็นการประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรจะสร้างภาระให้กับเกษตรกร อีกทั้งเชื่อว่าจะไม่สามารถแทรกแซงราคา หรือพยุงราคาตลอดจนดึงราคาให้สินค้าเกษตรสูงขึ้นได้ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนอีกครั้ง หากการรับจำนำสินค้าเกษตรเกิดปัญหาตรงจุดไหนก็ควรไปแก้ตรงจุดนั้น
ทั้งนี้ ยังมีข้อร้องเรียน คือ การขอเพิ่มโควตารับจำนำข้าวในแต่ละจังหวัด เนื่องจากขณะนี้โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในหลายพื้นที่ประสบปัญหา ผลผลิตข้าวในแต่ละจังหวัดเกินโควต้าที่รัฐบาลจัดสรรให้ เช่น ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจัดสรรโควต้ารับจำนำเพียง 54,374 ตัน แต่จนถึงขณะนี้มียอดรับจำนำเกินไปถึงกว่า 1,000 ตัน ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องขายข้าวเปลือกแก่พ่อค้าในราคาต่ำเพียง 7,000-8,000 บาท
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไม่อนุมัติให้มีการรับจำนำกุ้งตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอโครงการช่วยเหลือราคากุ้งขาวแวนนาไม ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งได้พิจารณา 2 แนวทาง คือ 1.ให้เปิดรับจำนำ 10,000 ตัน ราคากก.ละ 105-160 บาท จากปริมาณผลผลิตรวม 400,000 ตัน ตามที่ ส.ส.ภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์เสนอมา เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนแนวทางที่ 2.ให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกฟาร์มมิง) ให้เอกชนไปรับซื้อจากมือเกษตรกรโดยตรง โดยที่ประชุมได้อนุมัติในแนวทางนี้เท่านั้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมตัวแทน จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงมหาดไทยได้คัดค้าน เพราะเห็นว่าการเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายรัฐที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ โดยให้ไปดำเนินการรับประกันสินค้าการเกษตรแทน และยังเห็นว่า การเปิดจำนำเพียง 10,000 ตัน ไม่ส่งผลดีต่อภาพรวมของเกษตรกร ขณะที่ประธานในที่ประชุม ได้ให้นำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุม คชก.ครั้งหน้า
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งว่า วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายนนี้ สมาคมชาวนาไทย ซึ่งอ้างว่า มีชาวนาจากภาคกลาง กว่า 1,000 คน จะเข้ายื่นหนังสือต่อรัฐบาลผ่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่กระทรวงพาณิชย์ หลังจากที่รัฐบาลแสดงความชัดเจนจะไม่มีโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร และจะหันไปใช้วิธีประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแทน ทั้งนี้ หากรัฐบาลยังยืนยันเช่นเดิม จะมีกลุ่มชาวนาและเกษตรกรทุกกลุ่มจากทั่วประเทศ เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อประท้วงรัฐบาลแน่นอน
กลุ่มที่อ้างว่าเป็นสมาคมชาวนาไทยและกลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ ที่จะเปลี่ยนจากโครงการรับจำนำ เป็นการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแทน เนื่องจากวิธีการรับจำนำแบบเดิมรัฐบาลจะเป็นผู้จัดหายุ้งฉางเก็บผลผลิตทางการเกษตรและรัฐดำเนินการให้เกษตรกรทุกอย่าง เกษตรกรมีหน้าที่นำผลผลิตไปเข้าโครงการรับจำนำเท่านั้น แต่หากเป็นการประกันราคาผลผลิตทางการเกษตรจะสร้างภาระให้กับเกษตรกร อีกทั้งเชื่อว่าจะไม่สามารถแทรกแซงราคา หรือพยุงราคาตลอดจนดึงราคาให้สินค้าเกษตรสูงขึ้นได้ จึงอยากให้รัฐบาลทบทวนอีกครั้ง หากการรับจำนำสินค้าเกษตรเกิดปัญหาตรงจุดไหนก็ควรไปแก้ตรงจุดนั้น
ทั้งนี้ ยังมีข้อร้องเรียน คือ การขอเพิ่มโควตารับจำนำข้าวในแต่ละจังหวัด เนื่องจากขณะนี้โครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในหลายพื้นที่ประสบปัญหา ผลผลิตข้าวในแต่ละจังหวัดเกินโควต้าที่รัฐบาลจัดสรรให้ เช่น ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับจัดสรรโควต้ารับจำนำเพียง 54,374 ตัน แต่จนถึงขณะนี้มียอดรับจำนำเกินไปถึงกว่า 1,000 ตัน ทำให้เกษตรกรหลายรายต้องขายข้าวเปลือกแก่พ่อค้าในราคาต่ำเพียง 7,000-8,000 บาท
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล แจ้งอีกว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มี นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ไม่อนุมัติให้มีการรับจำนำกุ้งตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอโครงการช่วยเหลือราคากุ้งขาวแวนนาไม ของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง 8 จังหวัดภาคใต้ ซึ่งได้พิจารณา 2 แนวทาง คือ 1.ให้เปิดรับจำนำ 10,000 ตัน ราคากก.ละ 105-160 บาท จากปริมาณผลผลิตรวม 400,000 ตัน ตามที่ ส.ส.ภาคใต้ พรรคประชาธิปัตย์เสนอมา เพราะเรื่องนี้ถูกกดดันจากกลุ่ม ส.ส.ภาคใต้ ซึ่งเป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์
ส่วนแนวทางที่ 2.ให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้กลุ่มสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งกู้ยืม และทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (คอนแทรกฟาร์มมิง) ให้เอกชนไปรับซื้อจากมือเกษตรกรโดยตรง โดยที่ประชุมได้อนุมัติในแนวทางนี้เท่านั้น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในที่ประชุมตัวแทน จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และกระทรวงมหาดไทยได้คัดค้าน เพราะเห็นว่าการเปิดรับจำนำขัดกับนโยบายรัฐที่ต้องการยกเลิกระบบจำนำ โดยให้ไปดำเนินการรับประกันสินค้าการเกษตรแทน และยังเห็นว่า การเปิดจำนำเพียง 10,000 ตัน ไม่ส่งผลดีต่อภาพรวมของเกษตรกร ขณะที่ประธานในที่ประชุม ได้ให้นำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาในการประชุม คชก.ครั้งหน้า