ที่ประชุมอนุกรรมการสมานฉันท์ สรุปข้อเสนอ 6 ข้อระดับเร่งด่วนต่อที่ประชุมใหญ่ของกรรมการ เน้นทุกฝ่ายลดการโต้แย้ง เร่งสื่อสารกับสังคม ร่วมมือสื่อเสนอข่าวที่ไม่สร้างความแตกแยก พร้อมเสนอเจรจากลุ่มแกนนำทุกฝ่ายลดความขัดแย้ง ขณะที่ ส.ส.ซีกฝ่ายค้านเห็นแย้งในบางประเด็น ที่สุดประธานที่ประชุมต้องอีกครั้ง พร้อมเชิญคนนอกร่วมถก เตรียมเชิญสำนักโพลร่วมสอบถามความเห็น
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ นัดที่ 2 โดยมี นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธานในที่ประชุม หลังการประชุมกว่า 5 ชั่วโมง ที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ ในระดับเร่งด่วนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ 1.ทุกฝ่ายควรลดการตอบโต้และใส่ร้ายทางการเมือง อันนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านควรลดการสร้างเงื่อนไขอันนำไปสู่ความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยปรับปรุงสาระและวิธีการสื่อสารกับสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้ทางการเมืองของผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้สื่อที่อยู่ในกำกับของรัฐเปิดพื้นที่ ให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี 3.ควรขอความร่วมมือจากสื่อทุกประเภทในการเป็นภาคีประคับประคองสถานการณ์ที่อยู่ในภาวะไม่ปกติเพื่อนำไปสู่ความสมานฉันท์ โดยให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวที่นำไปสู่ความแตกแยก 4.ควรให้มีกระบวนการเจรจาในกลุ่มของผู้นำที่มีความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย และให้ทุกฝ่ายยอมรับกระบวนการในการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 5.ควรจัดให้มีสมัชชาเพื่อความสมานฉันท์ทางการเมืองระดับภูมิภาค เพื่อให้คนในสังคมแสดงจุดยืน และความคิดเห็นทางการเมือง 6. ควรร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยในเบื้องต้นให้พิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอข้อที่ 5 คณะอนุกรรมการจากซีกฝ่ายค้าน ได้แสดงความเห็นคัดค้าน โดยมองว่า กระบวนการดังกล่าวอาจต้องใช้เวลานาน โดย นายภาวิช ทองโรจน์ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า กระบวนการดังกล่าว อาจเป็นเพียงไฟไหม้ฟาง รวมทั้งอาจมีการจัดตั้งคนมาเป็นสมัชชา ส่วนข้อที่ 6 ได้มีการถกเถียงอย่างยาวนาน และสุดท้ายก็ต้องใส่ความเห็นทั้งฝ่ายพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ไปด้วยกัน โดยตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย อาทิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร นายประเกียรติ นาสิมา ส.ส.สัดส่วน เห็นควรให้พิจารณา เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 220 คน ข้าราชการ ประชาชน รวมทั้งกลุ่มอำนาจอื่นๆ ในขณะที่ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี ไม่เห็นด้วยกับการเยียวยา
ทั้งนี้ นายตวง อันทะไชย ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้นัดประชุมคณะอนุกรรมการครั้งต่อไป ในวันที่ 20 พ.ค.โดยจะเชิญคนนอก ประกอบด้วย คณาจารย์ แพทยสภา รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนสื่อมวลชนมาร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอเร่งด่วนของคณะอนุกรรมการ จากนั้นวันที่ 21 พ.ค.จะเชิญหน่วยงานที่จัดทำโพล อาทิ สวนดุสิตโพล เอแบคโพลล์ มาหารือเพื่อจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ในประเด็นต่างๆ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย ที่ออกมาปูดข้อมูลใบสั่งยุบพรรค ไม่ได้มาร่วมประชุมในครั้งนี้ และที่ประชุมไม่ได้ติดใจนำเรื่องใบสั่งยุบพรรคมาเป็นประเด็นในที่ประชุม เพราะเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของนายศักดิ์เท่านั้น
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางสร้างความสมานฉันท์ นัดที่ 2 โดยมี นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธานในที่ประชุม หลังการประชุมกว่า 5 ชั่วโมง ที่ประชุมได้สรุปข้อเสนอของคณะอนุกรรมการ ในระดับเร่งด่วนเพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่ จำนวน 6 ข้อ ได้แก่ 1.ทุกฝ่ายควรลดการตอบโต้และใส่ร้ายทางการเมือง อันนำไปสู่ความขัดแย้งแตกแยก 2.รัฐบาลและฝ่ายค้านควรลดการสร้างเงื่อนไขอันนำไปสู่ความขัดแย้งในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยปรับปรุงสาระและวิธีการสื่อสารกับสังคม โดยเฉพาะการตอบโต้ทางการเมืองของผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้สื่อที่อยู่ในกำกับของรัฐเปิดพื้นที่ ให้ทุกภาคส่วนแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี 3.ควรขอความร่วมมือจากสื่อทุกประเภทในการเป็นภาคีประคับประคองสถานการณ์ที่อยู่ในภาวะไม่ปกติเพื่อนำไปสู่ความสมานฉันท์ โดยให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวที่นำไปสู่ความแตกแยก 4.ควรให้มีกระบวนการเจรจาในกลุ่มของผู้นำที่มีความขัดแย้งของแต่ละฝ่าย และให้ทุกฝ่ายยอมรับกระบวนการในการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม 5.ควรจัดให้มีสมัชชาเพื่อความสมานฉันท์ทางการเมืองระดับภูมิภาค เพื่อให้คนในสังคมแสดงจุดยืน และความคิดเห็นทางการเมือง 6. ควรร่วมกันสร้างรัฐธรรมนูญฉบับสมานฉันท์เพื่อลดผลกระทบจากปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ โดยในเบื้องต้นให้พิจารณาเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับข้อเสนอข้อที่ 5 คณะอนุกรรมการจากซีกฝ่ายค้าน ได้แสดงความเห็นคัดค้าน โดยมองว่า กระบวนการดังกล่าวอาจต้องใช้เวลานาน โดย นายภาวิช ทองโรจน์ ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย ระบุว่า กระบวนการดังกล่าว อาจเป็นเพียงไฟไหม้ฟาง รวมทั้งอาจมีการจัดตั้งคนมาเป็นสมัชชา ส่วนข้อที่ 6 ได้มีการถกเถียงอย่างยาวนาน และสุดท้ายก็ต้องใส่ความเห็นทั้งฝ่ายพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปัตย์ ไปด้วยกัน โดยตัวแทนจากพรรคเพื่อไทย อาทิ นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร นายประเกียรติ นาสิมา ส.ส.สัดส่วน เห็นควรให้พิจารณา เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ได้แก่ ผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง 220 คน ข้าราชการ ประชาชน รวมทั้งกลุ่มอำนาจอื่นๆ ในขณะที่ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี ไม่เห็นด้วยกับการเยียวยา
ทั้งนี้ นายตวง อันทะไชย ในฐานะประธานในที่ประชุม ได้นัดประชุมคณะอนุกรรมการครั้งต่อไป ในวันที่ 20 พ.ค.โดยจะเชิญคนนอก ประกอบด้วย คณาจารย์ แพทยสภา รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนสื่อมวลชนมาร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอเร่งด่วนของคณะอนุกรรมการ จากนั้นวันที่ 21 พ.ค.จะเชิญหน่วยงานที่จัดทำโพล อาทิ สวนดุสิตโพล เอแบคโพลล์ มาหารือเพื่อจัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน ในประเด็นต่างๆ ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับการประชุมในครั้งนี้ นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตศาลรัฐธรรมนูญ ตัวแทนจากพรรคภูมิใจไทย ที่ออกมาปูดข้อมูลใบสั่งยุบพรรค ไม่ได้มาร่วมประชุมในครั้งนี้ และที่ประชุมไม่ได้ติดใจนำเรื่องใบสั่งยุบพรรคมาเป็นประเด็นในที่ประชุม เพราะเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของนายศักดิ์เท่านั้น