ปธ.กรรมาธิการตรวจสอบประวัติ พฤติกรรมผู้ได้รับการเสนอชื่อดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชน เผยเตรียมให้ว่าที่กรรมการสิทธิฯแสดงวิสัยทัศน์ 29 เม.ย.นี้ พร้อมเปิดห้องให้สื่อร่วมรับฟัง ระบุ เน้นประวัติเชิงลึก ความประพฤติ ส่วนประสบการณ์ตรงเป็นเรื่องรอง ขณะที่รายงานข่าวระบุมีว่าที่บางคนถูกร้องเรียนไม่มีผลงานตรง แถมเคยมีกรณีพิพาทกับชุมชน ชี้อาจมีแค่ 3 คนที่ได้ผ่านการคัดเลือก
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่รัฐสภา นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 29 เมษายน เวลา 16.00 น.ที่อาคารรัฐสภา 2 จะมีการแสดงวิสัยทัศน์ ของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการสิทธิฯ ทั้ง 7 คน โดยจะเปิดให้สื่อมวลชนรับฟังด้วยเพื่อความโปร่งใส ซึ่งกรอบการพิจารณาหลักๆ ได้แก่ ประวัติเชิงลึก ความประพฤติด้านจริยธรรมคุณธรรม ส่วนเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชน กรรมาธิการก็คำนึงถึงด้วย แต่คงไม่ใช่เป็นหลักใหญ่ที่สุด เนื่องจากต้องการเปิดโอกาสให้คนดีมีความสามารถได้มีโอกาสมาทำงานด้านนี้ ทั้งนี้ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้ส่งข้อมูล ข้อร้องเรียนผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน เข้ามาแล้ว คณะกรรมาธิการก็จะรับฟังและให้ความเป็นธรรม โดยจะมีการซักถามในการแสดงวิสัยทัศน์
เมื่อถามว่า เบื้องต้นมีผู้ได้รับการเสนอชื่อรายหนึ่งถูกร้องเรียนว่ามีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน นายธีระจิตต์กล่าวว่า เรื่องนี้สื่อรู้ดีกว่าตนอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีหนังสือจากหน่วยงานต่างๆ เป็นทางการมา กมธ.ก็จะพิจารณาอยู่แล้ว
รายงานข่าวจากกรรมาธิการแจ้งว่า สำหรับผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน กรรมาธิการได้รับข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว ปรากฏว่ามีอยู่รายหนึ่งที่กรรมการสิทธิชุดปัจจุบัน ส่งข้อมูลมายังกรรมาธิการว่าเคยมีกิจการที่พิพาทกับชุมชน ขณะที่บางรายกรรมาธิการหลายคนเห็นว่ายังมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ที่บัญญัติว่า ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าวุฒิสภาอาจลงมติเห็นชอบไม่ครบทั้ง 7 คน โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 3 คน ค่อนข้างแน่นอนว่า จะได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภา เนื่องจากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ตามมาตรา 256 ขณะที่รายอื่นต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ วุฒิสภามีวาระการประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อ ในช่วงบ่ายวันที่ 1 พฤษภาคม นี้
สำหรับผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ได้แก่ 1.นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ 2.นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต ส.ว.อุบลราชธานี และประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต 3.นายปริญญา ศิริสารการ อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรม จ.นครราชสีมา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ 5.พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ผู้ช่วย ผบ.ตร. 6.นางวิสา เบ็ญจะมโน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 7.นางอมรา พงศาพิชญ์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่รัฐสภา นายธีระจิตต์ สถิโรตมวงศ์ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 29 เมษายน เวลา 16.00 น.ที่อาคารรัฐสภา 2 จะมีการแสดงวิสัยทัศน์ ของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการสิทธิฯ ทั้ง 7 คน โดยจะเปิดให้สื่อมวลชนรับฟังด้วยเพื่อความโปร่งใส ซึ่งกรอบการพิจารณาหลักๆ ได้แก่ ประวัติเชิงลึก ความประพฤติด้านจริยธรรมคุณธรรม ส่วนเรื่องประสบการณ์การทำงานด้านสิทธิมนุษยชน กรรมาธิการก็คำนึงถึงด้วย แต่คงไม่ใช่เป็นหลักใหญ่ที่สุด เนื่องจากต้องการเปิดโอกาสให้คนดีมีความสามารถได้มีโอกาสมาทำงานด้านนี้ ทั้งนี้ขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้ส่งข้อมูล ข้อร้องเรียนผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน เข้ามาแล้ว คณะกรรมาธิการก็จะรับฟังและให้ความเป็นธรรม โดยจะมีการซักถามในการแสดงวิสัยทัศน์
เมื่อถามว่า เบื้องต้นมีผู้ได้รับการเสนอชื่อรายหนึ่งถูกร้องเรียนว่ามีปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน นายธีระจิตต์กล่าวว่า เรื่องนี้สื่อรู้ดีกว่าตนอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อมีหนังสือจากหน่วยงานต่างๆ เป็นทางการมา กมธ.ก็จะพิจารณาอยู่แล้ว
รายงานข่าวจากกรรมาธิการแจ้งว่า สำหรับผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน กรรมาธิการได้รับข้อมูลเชิงลึกจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว ปรากฏว่ามีอยู่รายหนึ่งที่กรรมการสิทธิชุดปัจจุบัน ส่งข้อมูลมายังกรรมาธิการว่าเคยมีกิจการที่พิพาทกับชุมชน ขณะที่บางรายกรรมาธิการหลายคนเห็นว่ายังมีคุณสมบัติไม่สอดคล้องรัฐธรรมนูญมาตรา 256 ที่บัญญัติว่า ต้องมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นที่ประจักษ์ ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าวุฒิสภาอาจลงมติเห็นชอบไม่ครบทั้ง 7 คน โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 3 คน ค่อนข้างแน่นอนว่า จะได้รับการเห็นชอบจากวุฒิสภา เนื่องจากมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ตามมาตรา 256 ขณะที่รายอื่นต้องรอการพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ วุฒิสภามีวาระการประชุมพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ได้รับการเสนอชื่อ ในช่วงบ่ายวันที่ 1 พฤษภาคม นี้
สำหรับผู้ได้รับการเสนอชื่อทั้ง 7 คน ได้แก่ 1.นพ.แท้จริง ศิริพานิช เลขาธิการมูลนิธิเมาไม่ขับ 2.นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ อดีต ส.ว.อุบลราชธานี และประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต 3.นายปริญญา ศิริสารการ อดีตรองประธานสภาอุตสาหกรรม จ.นครราชสีมา อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 4.นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานมูลนิธิพัฒนาข้าราชการ 5.พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด ผู้ช่วย ผบ.ตร. 6.นางวิสา เบ็ญจะมโน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการ 10) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ 7.นางอมรา พงศาพิชญ์ อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย