xs
xsm
sm
md
lg

“ป.ป.ช” เล็งแจ้งข้อกล่าวหา “ชายทมิฬ” “บิ๊กจิ๋ว” สั่งฆ่าประชาชน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

เหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551
ป.ป.ช.เล็งแจ้งข้อกล่าวหา “ชายจืด-ชวลิต-พัชรวาท” และอีก 4 นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ลุแก่อำนาจสั่งใช้กำลังสลายการชุมนุม 7 ตุลา ชี้หลักฐานแน่นหนา เอาผิดผู้เกี่ยวข้องทั้ง 7 คนได้ ส่วน “นวยนิ่ม” หลุด หลังสอบไม่พบเกี่ยวข้องกับการสั่งการ

วันนี้ (16 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปปช.ได้มีการประชุมพร้อมแถลงข่าว โดยมีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวนถึงกรณี การใช้ความรุนแรงในการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย โดยมีมติตั้งข้อกล่าวหาบุคคลที่เกี่ยวข้องในการสั่งสลายการชุมนุม ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิต รวม 7 คน

1.นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษและมีมติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการเปิดทางให้สมาชิกรัฐบาลเข้าประชุมในวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้บาดเจ็บแต่ก็ยังมิได้ยับยั้งมิให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก จึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157

2.พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรองนายกรัฐมตรี และได้รับการมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีให้เป็นผู้รับผิดชอบเหตุการณ์และเหตุการณ์และสั่งการสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ดำเนินการทุกวิถีทางในอันที่ผลักดันกลุ่มผู้ชุมนุม โดยใช้แก็สน้ำตา แม้ลาออกจากตำแหน่งในเวลา 09.00น.ก็ถือว่ามีส่วนรับผิดชอบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงแจ้งข้อกล่าวหาเกี่ยวกับความผิดทางอาญา ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 157

3.พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ แม้ได้ความว่ามีการมอบหมายให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน และแต่งตั้งผู้บัญชาการเหตุการณ์ใหแป็นผู้รับผิดชอบโดยตรง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมอย่างใกล้ชิด เมื่อเกิดเหตุรุนแรง ขาขาด แขนขาด ก็ต้องยับยั้งไม่ให้เหตุการณ์ลุกลามต่อไป จึงแจ้งข้อกล่าวหาทางวินัยฐานไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความอุตสาหะ เอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ ประมาทเลินเล่อในหน้าที่ราชการ

4.พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติได้รับมอบหมายหน้าที่จากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้สั่งและปฏิบัติราชการแทน ได้รับทราบนโยบายและควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยในการสลายฝูงชน จึงแจ้งข้อกล่าวหาความผิดทางวินัย เช่นเดียวกับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

5.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในฐานะผู้บัญชาการเหตุการณ์ ตามแผนกรกฎ 48 เป็นผู้ควบคุมสั่งการทุกเหตุการ์ที่มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและฝูงชนจนเกิดการบาดเจ็บสาหัสและถึงแก่ความตายและเว้นไม่หยุดยั้งการกระทำอันรุนแรงที่เกิดขึ้น จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัย และทางอาญา ฐานกระทำหรือละเว้นการกระทำใดๆอันเกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง

6.พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้รับมอบหมายให้มีภารกิจเปิดทางให้สมาชิกสภาเข้าประชุมด้านในประตูปราสาทเทวฤทธิ์ โดยเป็นผู้รับผิดชอบในการสลายฝูงชนจนเกิดความรุนแรง แจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและอาญา

7.พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์แทน พลตำรวจตรีอำนวย นิ่มมะโน ซึ่งขอลาไปงานศพบิดา ในวันที่ 7 ต.ค.โดยสั่งให้มีการสลายฝูงชนในเวลา 16.00น.-17.00น.จนมีผู้เสียชีวิต จึงแจ้งข้อกล่าวหาทั้งทางวินัยและทางอาญา

ในส่วนของพล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน ยังไม่พบว่าเป็นผู้ร่วมสั่งการ หรือเกี่ยวข้องกับการสลายฝูงชน เนื่องจากมีการเปลี่ยนเวรกับพลตำรวจตรีเอกรัตน์ มีปรีชา แม้เป็นผู้แถลงข่าวในวันที่ 8ต.ค.51 ว่าผู้ร่วมชุมนุมได้รับบาดเจ็บมิได้เกิดจากการใช้แก๊สน้ำตาสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ คณะกรรมการปปช.จึงมีมติยังไม่ดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐานเพิ่มเติมภายหลัง


กำลังโหลดความคิดเห็น