ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองชั้นต้นห้าม ทศท ยุ่งเกี่ยวการบริหารงานของ ทีทีแอนด์ที ชี้ มีสถานะเป็นเอกชนเหมือนกันแล้ว ระบุ อำนาจกำกับดูแลทีทีแอนด์ที เป็นของ กทช.จนกว่าครบสัญญาลงทุน 25 ปี
วันนี้ (25 ก.พ.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น ที่ให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระงับการใช้อำนาจเข้ากำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในส่วนซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมตามสัญญาร่วมการงาน และร่วมลงทุน
ทั้งนี้ คำพิพากษาดังกล่าวเป็นการพิจารณาจากการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นของบริษัท ทศท โดยศาลปกครองสูงสุดระบุ ว่า ที่บริษัท ทศท อ้างว่า ยังมีอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ของบริษัท ทีทีแอนด์ที ตามสัญญา ร่วมลงทุนนั้นเห็นว่า ตามมาตรา 6 พ.ร.บ.โทรเลขและโทรศัพท์ 2477 ประกอบมาตรา 6 และ 9 (6) พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 2497 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก่อนจะเปลี่ยนสถานะเป็น ทศท นั้น มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินกิจการโทรศัพท์ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในประเทศแต่เพียงผู้เดียว และมีอำนาจในการเข้าร่วมงานกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการขององค์การโทรศัพท์ ซึ่ง ทศท ได้ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนให้บริษัท ทีทีแอนด์ที เข้าร่วมการงานเพื่อให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตโทรศัพท์ภูมิภาคจำนวน 1 ล้านเลขหมาย มีกำหนดระยะเวลาสัญญา 25 ปี
ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2543 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ออกมาใช้บังคับ นอกจากกำหนดให้ กทช.มีอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งระบบแล้ว ยังมีการกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 79, 80 ว่า ให้ กทช.เป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แต่ถ้ามีการให้อนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิม จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจะสิ้นสุดลง ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้จะมีขึ้นเพื่อรองรับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของคู่สัญญา ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมจากองค์การโทรศัพท์ เพื่อให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่า บริษท ทีทีแอนด์ที เป็นผู้ประกอบกิจการเช่นเดียวกับ ทศท ข้ออ้างที่ว่า บริษัท ทีทีแอนด์ที ไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมแก่คนทั่วไป จึงไม่อาจรับฟังได้
และเมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2543 ได้กำหนดให้กทช.มีอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมในปัจจุบัน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 80/1 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หมายความถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้น โดยการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นของบริษัทนั้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคม ย่อมหมายความว่า เมื่อบริษัท ทศท ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่เพียงผู้เดียว และมีอำนาจในการกำกับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมพร้อมกันไปด้วย กลายมาเป็นบริษัท มหาชน จำกัด จึงเท่ากับเป็นผู้บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมรายหนึ่ง เช่นเดียวกับบริษัท ทีทีแอนที ที่จะต้องมี กทช.เป็นผู้มีอำนาจเข้าไปดูแล เพื่อให้การแข่งขั้นการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างเป็นธรรม
ดังนั้น อำนาจบริษัท ทศท ในการที่จะกำกับดูแล บริษัท ทีทีแอนด์ที ให้ปฏิบัติตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนจึงหมดสิ้นไป โดยผลของกฎหมาย นิติสัมพันธ์ ของบริษัท ทศท และบริษัท ทีทีแอนด์ที จึงมีเพียงสิทธิ เรียกร้องตามสัญญา รวมการงานและร่วมลงทุนอื่นๆ ไม่มีอำนาจในการที่จะเข้าไปควบคุมดูแล เพราะเป็นอำนาจของ กทช.เท่านั้น ซึ่งศาลไม่จำเป็นต้องมีคำบังคับให้โอนอำนาจหน้าที่ดังกล่าวไปให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามคำขอ ของบริษัท ทีทีแอนด์ที แต่อย่างใด และเมื่อคำอุทธรณ์กรณีดังกล่าวของบริษัท ทศท ฟังไม่ขึ้น คำอุทธรณ์ข้ออื่นจึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาวินิจฉัยต่อ เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ทศท ระงับการใช้อำนาจ กำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในส่วนที่เป็นอำนาจของ กทช.นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน
วันนี้ (25 ก.พ.) ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองชั้นต้น ที่ให้บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ระงับการใช้อำนาจเข้ากำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในส่วนซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) กับบริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) ที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมตามสัญญาร่วมการงาน และร่วมลงทุน
ทั้งนี้ คำพิพากษาดังกล่าวเป็นการพิจารณาจากการยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นของบริษัท ทศท โดยศาลปกครองสูงสุดระบุ ว่า ที่บริษัท ทศท อ้างว่า ยังมีอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ของบริษัท ทีทีแอนด์ที ตามสัญญา ร่วมลงทุนนั้นเห็นว่า ตามมาตรา 6 พ.ร.บ.โทรเลขและโทรศัพท์ 2477 ประกอบมาตรา 6 และ 9 (6) พ.ร.บ.องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย 2497 บัญญัติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยก่อนจะเปลี่ยนสถานะเป็น ทศท นั้น มีอำนาจ หน้าที่ในการดำเนินกิจการโทรศัพท์ ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในประเทศแต่เพียงผู้เดียว และมีอำนาจในการเข้าร่วมงานกับบุคคลอื่นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการขององค์การโทรศัพท์ ซึ่ง ทศท ได้ทำสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนให้บริษัท ทีทีแอนด์ที เข้าร่วมการงานเพื่อให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานในเขตโทรศัพท์ภูมิภาคจำนวน 1 ล้านเลขหมาย มีกำหนดระยะเวลาสัญญา 25 ปี
ต่อมาเมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2543 และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม 2544 ออกมาใช้บังคับ นอกจากกำหนดให้ กทช.มีอำนาจกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้งระบบแล้ว ยังมีการกำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 79, 80 ว่า ให้ กทช.เป็นผู้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์ ให้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย แต่ถ้ามีการให้อนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาแก่ผู้ใดให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับ ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญานั้น ยังคงมีสิทธิประกอบกิจการโทรคมนาคม ตามขอบเขตและสิทธิที่มีอยู่เดิม จนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาจะสิ้นสุดลง ซึ่งบทบัญญัติของกฎหมายฉบับนี้จะมีขึ้นเพื่อรองรับสิทธิ หน้าที่ ความรับผิด ของคู่สัญญา ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมจากองค์การโทรศัพท์ เพื่อให้ประกอบกิจการโทรคมนาคมต่อไปได้โดยชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่า บริษท ทีทีแอนด์ที เป็นผู้ประกอบกิจการเช่นเดียวกับ ทศท ข้ออ้างที่ว่า บริษัท ทีทีแอนด์ที ไม่ใช่ผู้ประกอบกิจการในลักษณะที่เป็นผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมแก่คนทั่วไป จึงไม่อาจรับฟังได้
และเมื่อ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม 2543 ได้กำหนดให้กทช.มีอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคมในปัจจุบัน ประกอบกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 มาตรา 80/1 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย หมายความถึงบริษัทที่จัดตั้งขึ้น โดยการเปลี่ยนทุนเป็นหุ้นของบริษัทนั้นตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจเพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคม ย่อมหมายความว่า เมื่อบริษัท ทศท ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่ประกอบกิจการโทรคมนาคมแต่เพียงผู้เดียว และมีอำนาจในการกำกับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมพร้อมกันไปด้วย กลายมาเป็นบริษัท มหาชน จำกัด จึงเท่ากับเป็นผู้บริษัทประกอบกิจการโทรคมนาคมรายหนึ่ง เช่นเดียวกับบริษัท ทีทีแอนที ที่จะต้องมี กทช.เป็นผู้มีอำนาจเข้าไปดูแล เพื่อให้การแข่งขั้นการประกอบกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างเป็นธรรม
ดังนั้น อำนาจบริษัท ทศท ในการที่จะกำกับดูแล บริษัท ทีทีแอนด์ที ให้ปฏิบัติตามสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนจึงหมดสิ้นไป โดยผลของกฎหมาย นิติสัมพันธ์ ของบริษัท ทศท และบริษัท ทีทีแอนด์ที จึงมีเพียงสิทธิ เรียกร้องตามสัญญา รวมการงานและร่วมลงทุนอื่นๆ ไม่มีอำนาจในการที่จะเข้าไปควบคุมดูแล เพราะเป็นอำนาจของ กทช.เท่านั้น ซึ่งศาลไม่จำเป็นต้องมีคำบังคับให้โอนอำนาจหน้าที่ดังกล่าวไปให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามคำขอ ของบริษัท ทีทีแอนด์ที แต่อย่างใด และเมื่อคำอุทธรณ์กรณีดังกล่าวของบริษัท ทศท ฟังไม่ขึ้น คำอุทธรณ์ข้ออื่นจึงไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องพิจารณาวินิจฉัยต่อ เพราะไม่อาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้บริษัท ทศท ระงับการใช้อำนาจ กำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม ในส่วนที่เป็นอำนาจของ กทช.นั้น ศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน