รัฐบาลมาร์ค เร่งเครื่องเคลียร์ปัญหาโรฮิงยา ลักลอบเข้าเมือง เผย ต้องสอบข้อเท็จจริงมาจากแหล่งใด ที่ใด ชี้ เป็นเรื่องละเอียดอ่อน เหตุประเทศหม่องปัดไม่ใช่พลเมือง จนกลายปัญหา ยันต้องร่วมมือทุกฝ่ายจัดการ เร่งประสานสำนักข่าวต่างประเทศทำความเข้าใจ
วันนี้ (28 ม.ค.) นายปณิธาน วัฒนายากร รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีกลุ่มโรฮิงยาที่เข้ามาในประเทศไทย ว่า ต้องทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย จะมีบทบาทคัดกรองให้สถานภาพ โดยลดเงื่อนไขไม่ให้ประเทศพวกนี้ไหลเข้ามา ซึ่งมีองค์กรระหว่างประเทศต้นตอองค์กรสิทธิมนุษยชน กลุ่มชาวอพยพทั้งหลาย เช่น กลุ่มโรฮิงยา ที่เป็นส่วนของการให้ข้อมูลต้องมาทำงาานร่วมกัน และประเทศปลายทาง อย่าง ไทย อินโดนีเซีย มาเลเชีย เป็นประเทศที่ต้องผลักดัน ส่งคืนต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีผลกระทบมาก ดังนั้น แต่ละประเทศ จึงมีขบวนการค้ามนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น ไทยจึงทำเรื่องนี้เพียงลำพังไม่ได้ เราไม่มีความสมารถทำเพียงประเทศเดียว ทั้งการล่าตระเวน การสกัดกั้นนอกประเทศ การให้ที่พักพิง ประเทศภาคีต้องให้ความร่วมกันทำงาน
เมื่อถามว่า จะมีการนำเรื่องนี้ไปคุยในที่ประชุมอาเซียน หรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า กระทรวงต่างประเทศได้หารือกับเอกอัคราชทูต และต่างประเทศในอาทิตย์ที่ผ่านมาแล้ว
เมื่อถามว่า จะมีการไปจัดประชุมกับพม่าหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในหลายประเทศก็ไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นพลเมือง หากเราไปพูดก็อาจจะมีคำถามตามมาว่า เมื่อไม่ได้เป็นพลเมืองในประเทศเราไปพูดทำไม มันจึงละเอียดอ่อน แต่หากเราสืบทราบว่าผู้อพยพมาจากประเทศนั้นๆอาจจะร่วมมือกันได้ส่งกลับ
“ตอนนี้เรารวบรวมข้อมูลว่าคนเหล่านั้นมาจากไหน มาได้ยังไง อยู่ตรงไหน ได้รับการปฏิบัติอย่างไร เข้าใจว่า นายกฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ รวมถึงข่าวที่ว่าถูกทำร้ายว่ามาจากประเทศอะไร ต้องมีการพิสูจน์ในหลายเรื่อง ไม่เช่นนั้นเราจะถูกเป็นผู้ต้องหา ทั้งๆ ที่เราเองก็รับคนพวกนี้เข้ามา เราโอบอ้อมอารี เปิดกว้างให้คนเข้าประเทศทั้งที่ถูกกฏหมาย และไม่ถูกกฏหมาย พยายามจัดระบบคัดกรอง และส่งกลับ” นายปณิธาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยจะกู้ภาพลักษณ์คืนมา โดยจะชี้แจงอย่างไร นายปณิธาน กล่าวว่า เราชี้แจงไปแล้วว่า ไทยไม่ได้ใช้นโยบายความมั่นคง ไทยใช้หลักสิทธิมนุษยธรรมกับหลักความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งหลักดังกล่าวนี้จะต้องไปด้วยกัน ซึ่งได้ยืนยันแล้ว ไทยมีกฎหมายคนเข้าเมือง พ.ศ.2552 ก็เลยยังเป็นภาคีกับองค์กรต่างๆ ไทยทำผิดภาคีไม่ได้ นอกจากพันธภาคีอนุสัญญาข้อกฏหมาย และถึงแม้ว่าไทยจะไม่มีกฏหมายดังกล่าว ไทยยังมีจารีตประเพณีที่ต้องดูแลคนเหล่านี้ แต่หากเจอเจ้าหน้าที่คนใดทำผิดกฎหมาย ก็ต้องดำเนินคดี
เมื่อถามว่า จะเรียก ซีเอ็นเอ็น บีบีซี เข้ามาชี้แจงเรื่องนี้หรือไม่ นายปณิธาน กล่าาว่า ได้คุยกับเขาอยู่แล้ว เขาไปสัมภาษณ์คนบางกลุ่ม รัฐบาลก็เข้าไปตรวจสอบ แต่การตรวจสอบต่างประเทศก็ไม่เข้าใจคิดว่า ทำไมทหารเข้าไปทำงานในพื้นที่ ก็คิดว่า ทหารยุ่งเกี่ยวอะไรกับคนเข้าเมือง ฝรั่ง ก็เลยเหมารวมว่า ทหารมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล ซึ่งมันไม่ใช่เลย เป็นเรื่องของกองอำนวยการรักษาความมันคงภายใน (กอ.รมน.) การรักษาความมั่นคงภายใน มีพลเรือนอยู่ คือ นายกฯ มีคณะกรรมการ กอ.รมน.เป็นพลเรือนส่วนใหญ่ มีคณะที่ปรึกษา ที่ต้องมีนักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย นักสันติวิธี คอยให้คำปรึกษา กอ.รมน.กลางก็มีนโยบายตามรัฐบาล และส่งไปที่ กอ.รมน.ภาค และจังหวัด ซึ่งอาจะใช้กองทัพภาค ผสมกำลังระหว่างทหารมหาสมุทร พลเรือนออกไปปฏิบัติในทะเล ฝรั่งก็นึกว่าทหารเรือออกไปจับ รายงานข่าวใหญ่โต
“การจับชาวโรฮิงยา 400 คน แต่เรามีทหาร 20 คน ต้องผูกมัดมือ เป็นตามขั้นตอนสากล ต้องจับให้นอนราบกับพื้น เสร็จแล้วก็มีให้ข้าวให้อาหาร ซึ่งได้รับข้อมูลจากหลายคน ว่า เราก็ให้ข้าว ให้น้ำ เราจึงต้องรวบรวมข้อมูล จากข้อมูลที่ต่างกัน ให้กระทรวงต่างประเทศ รวมข้อเท็จจริง ให้สภาความมั่นคงดูแลเรื่องนี้ เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมด อาจมีการสั่งให้มีการสอบสวน เราก็แจ้งสื่อ ซีเอ็นเอ็น รอยเตอร์ ไปแล้วว่าต้องใช้เวลา แต่ระบบจะดีกว่าเดิม เพราะเรามี กอ.รมน.ดูแล” นายปณิธาน กล่าว
ส่วนจะเป็นขบวนการโจมตีประเทศไทยหรือไม่นั้น นายปณิธาน กล่าวว่า ก็ต้องรับฟัง ข่าวที่มาจากหลายแหล่ง หากการชี้แจงที่มีข้อมูล แล้วต่างชาติยอมรับก็ไม่มีปัญหา แต่หากรัฐบาลชี้แจง สอบสวนแล้วพบว่ายังมีปัญหา แสดงว่า ต้องมีปัญหาอื่น คิดว่า ต่างชาติก็คงคิดว่ารัฐบาลใหม่จะมีความโปร่งใส อย่างที่เคยประกาศไว้หรือไม่ จะมีความรับผิดชอบหรือไม่ ซึ่งตนยืนยันว่ามี รัฐบาลมีแน่ เพราะทำงานเร็ว และเต็มที่
วันนี้ (28 ม.ค.) นายปณิธาน วัฒนายากร รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบหน้ากรณีกลุ่มโรฮิงยาที่เข้ามาในประเทศไทย ว่า ต้องทำงานร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัย จะมีบทบาทคัดกรองให้สถานภาพ โดยลดเงื่อนไขไม่ให้ประเทศพวกนี้ไหลเข้ามา ซึ่งมีองค์กรระหว่างประเทศต้นตอองค์กรสิทธิมนุษยชน กลุ่มชาวอพยพทั้งหลาย เช่น กลุ่มโรฮิงยา ที่เป็นส่วนของการให้ข้อมูลต้องมาทำงาานร่วมกัน และประเทศปลายทาง อย่าง ไทย อินโดนีเซีย มาเลเชีย เป็นประเทศที่ต้องผลักดัน ส่งคืนต้องเสียค่าใช้จ่าย และมีผลกระทบมาก ดังนั้น แต่ละประเทศ จึงมีขบวนการค้ามนุษย์ที่เชื่อมโยงกัน ดังนั้น ไทยจึงทำเรื่องนี้เพียงลำพังไม่ได้ เราไม่มีความสมารถทำเพียงประเทศเดียว ทั้งการล่าตระเวน การสกัดกั้นนอกประเทศ การให้ที่พักพิง ประเทศภาคีต้องให้ความร่วมกันทำงาน
เมื่อถามว่า จะมีการนำเรื่องนี้ไปคุยในที่ประชุมอาเซียน หรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า กระทรวงต่างประเทศได้หารือกับเอกอัคราชทูต และต่างประเทศในอาทิตย์ที่ผ่านมาแล้ว
เมื่อถามว่า จะมีการไปจัดประชุมกับพม่าหรือไม่ นายปณิธาน กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในหลายประเทศก็ไม่ยอมรับว่าคนเหล่านี้เป็นพลเมือง หากเราไปพูดก็อาจจะมีคำถามตามมาว่า เมื่อไม่ได้เป็นพลเมืองในประเทศเราไปพูดทำไม มันจึงละเอียดอ่อน แต่หากเราสืบทราบว่าผู้อพยพมาจากประเทศนั้นๆอาจจะร่วมมือกันได้ส่งกลับ
“ตอนนี้เรารวบรวมข้อมูลว่าคนเหล่านั้นมาจากไหน มาได้ยังไง อยู่ตรงไหน ได้รับการปฏิบัติอย่างไร เข้าใจว่า นายกฯ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูสภาพความเป็นอยู่ของคนเหล่านี้ รวมถึงข่าวที่ว่าถูกทำร้ายว่ามาจากประเทศอะไร ต้องมีการพิสูจน์ในหลายเรื่อง ไม่เช่นนั้นเราจะถูกเป็นผู้ต้องหา ทั้งๆ ที่เราเองก็รับคนพวกนี้เข้ามา เราโอบอ้อมอารี เปิดกว้างให้คนเข้าประเทศทั้งที่ถูกกฏหมาย และไม่ถูกกฏหมาย พยายามจัดระบบคัดกรอง และส่งกลับ” นายปณิธาน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ไทยจะกู้ภาพลักษณ์คืนมา โดยจะชี้แจงอย่างไร นายปณิธาน กล่าวว่า เราชี้แจงไปแล้วว่า ไทยไม่ได้ใช้นโยบายความมั่นคง ไทยใช้หลักสิทธิมนุษยธรรมกับหลักความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งหลักดังกล่าวนี้จะต้องไปด้วยกัน ซึ่งได้ยืนยันแล้ว ไทยมีกฎหมายคนเข้าเมือง พ.ศ.2552 ก็เลยยังเป็นภาคีกับองค์กรต่างๆ ไทยทำผิดภาคีไม่ได้ นอกจากพันธภาคีอนุสัญญาข้อกฏหมาย และถึงแม้ว่าไทยจะไม่มีกฏหมายดังกล่าว ไทยยังมีจารีตประเพณีที่ต้องดูแลคนเหล่านี้ แต่หากเจอเจ้าหน้าที่คนใดทำผิดกฎหมาย ก็ต้องดำเนินคดี
เมื่อถามว่า จะเรียก ซีเอ็นเอ็น บีบีซี เข้ามาชี้แจงเรื่องนี้หรือไม่ นายปณิธาน กล่าาว่า ได้คุยกับเขาอยู่แล้ว เขาไปสัมภาษณ์คนบางกลุ่ม รัฐบาลก็เข้าไปตรวจสอบ แต่การตรวจสอบต่างประเทศก็ไม่เข้าใจคิดว่า ทำไมทหารเข้าไปทำงานในพื้นที่ ก็คิดว่า ทหารยุ่งเกี่ยวอะไรกับคนเข้าเมือง ฝรั่ง ก็เลยเหมารวมว่า ทหารมีอิทธิพลเหนือรัฐบาล ซึ่งมันไม่ใช่เลย เป็นเรื่องของกองอำนวยการรักษาความมันคงภายใน (กอ.รมน.) การรักษาความมั่นคงภายใน มีพลเรือนอยู่ คือ นายกฯ มีคณะกรรมการ กอ.รมน.เป็นพลเรือนส่วนใหญ่ มีคณะที่ปรึกษา ที่ต้องมีนักสิทธิมนุษยชน นักกฎหมาย นักสันติวิธี คอยให้คำปรึกษา กอ.รมน.กลางก็มีนโยบายตามรัฐบาล และส่งไปที่ กอ.รมน.ภาค และจังหวัด ซึ่งอาจะใช้กองทัพภาค ผสมกำลังระหว่างทหารมหาสมุทร พลเรือนออกไปปฏิบัติในทะเล ฝรั่งก็นึกว่าทหารเรือออกไปจับ รายงานข่าวใหญ่โต
“การจับชาวโรฮิงยา 400 คน แต่เรามีทหาร 20 คน ต้องผูกมัดมือ เป็นตามขั้นตอนสากล ต้องจับให้นอนราบกับพื้น เสร็จแล้วก็มีให้ข้าวให้อาหาร ซึ่งได้รับข้อมูลจากหลายคน ว่า เราก็ให้ข้าว ให้น้ำ เราจึงต้องรวบรวมข้อมูล จากข้อมูลที่ต่างกัน ให้กระทรวงต่างประเทศ รวมข้อเท็จจริง ให้สภาความมั่นคงดูแลเรื่องนี้ เมื่อได้ข้อมูลทั้งหมด อาจมีการสั่งให้มีการสอบสวน เราก็แจ้งสื่อ ซีเอ็นเอ็น รอยเตอร์ ไปแล้วว่าต้องใช้เวลา แต่ระบบจะดีกว่าเดิม เพราะเรามี กอ.รมน.ดูแล” นายปณิธาน กล่าว
ส่วนจะเป็นขบวนการโจมตีประเทศไทยหรือไม่นั้น นายปณิธาน กล่าวว่า ก็ต้องรับฟัง ข่าวที่มาจากหลายแหล่ง หากการชี้แจงที่มีข้อมูล แล้วต่างชาติยอมรับก็ไม่มีปัญหา แต่หากรัฐบาลชี้แจง สอบสวนแล้วพบว่ายังมีปัญหา แสดงว่า ต้องมีปัญหาอื่น คิดว่า ต่างชาติก็คงคิดว่ารัฐบาลใหม่จะมีความโปร่งใส อย่างที่เคยประกาศไว้หรือไม่ จะมีความรับผิดชอบหรือไม่ ซึ่งตนยืนยันว่ามี รัฐบาลมีแน่ เพราะทำงานเร็ว และเต็มที่