ผลสำรวจเอแบคโพลล์ ประชาชนร้อยละ 81 เบื่อหน่ายความขัดแย้งทางการเมือง โดยร้อยละ 80 ยังคงเชื่อมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่รัฐบาลสอบตกในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าในขณะนี้
วันนี้ (11 ม.ค.) ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อสภาวะความเสี่ยงของประเทศไทยในช่วงปี 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 2,443 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2552 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ยังคงรู้สึกเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 75.8 เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.2 เครียดเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 71.3 ยังคงมีความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข และร้อยละ 95.8 อยากให้คนไทยรักกัน
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมายในเวลานี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย
ที่น่าเป็นห่วง คือ ค่าคะแนนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศในทุกเรื่องต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพบว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.47 ค่าความเชื่อมั่นต่อความสามัคคีของกลุ่มการเมืองและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ 3.84 ค่าความเชื่อมั่นต่อการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้ 3.66 ค่าความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 3.57
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าคะแนนความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศในมุมมองของประชาชน พบว่า มีค่าคะแนนความเสี่ยงสูงระดับมาก จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ 7.72 ความเสี่ยงต่อปัญหาด้านการเมือง ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายได้ 7.49 และความเสี่ยงต่อวิกฤตด้านสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ได้ 7.15
วันนี้ (11 ม.ค.) ศูนย์วิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ประชาชนคิดอย่างไรต่อสภาวะความเสี่ยงของประเทศไทยในช่วงปี 2552 กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 2,443 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2552 พบว่าประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 81.8 ยังคงรู้สึกเบื่อหน่ายต่อความขัดแย้งทางการเมือง ร้อยละ 75.8 เชื่อว่าความขัดแย้งทางการเมืองจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.2 เครียดเรื่องการเมือง อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 71.3 ยังคงมีความหวังว่าประเทศชาติจะสงบสุข และร้อยละ 95.8 อยากให้คนไทยรักกัน
นอกจากนี้ เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมายในเวลานี้ ผลสำรวจพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.9 ยังคงเชื่อมั่นต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้ประเทศไทยจะประสบวิกฤตการณ์ต่างๆ มากมาย
ที่น่าเป็นห่วง คือ ค่าคะแนนความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาลในการแก้ปัญหาต่างๆ ของประเทศในทุกเรื่องต่ำกว่าครึ่งหนึ่ง เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยพบว่าความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้ 4.47 ค่าความเชื่อมั่นต่อความสามัคคีของกลุ่มการเมืองและพรรคร่วมรัฐบาล ได้ 3.84 ค่าความเชื่อมั่นต่อการปราบปรามปัญหาทุจริตคอรัปชั่นได้ 3.66 ค่าความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ได้ 3.57
ยิ่งไปกว่านั้น ค่าคะแนนความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาต่างๆ ของประเทศในมุมมองของประชาชน พบว่า มีค่าคะแนนความเสี่ยงสูงระดับมาก จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า ความเสี่ยงต่อวิกฤตการณ์ปัญหาด้านเศรษฐกิจได้ 7.72 ความเสี่ยงต่อปัญหาด้านการเมือง ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายได้ 7.49 และความเสี่ยงต่อวิกฤตด้านสังคม เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม ได้ 7.15