ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่องความชอบธรรมในระบบประชาธิปไตย กับการเข้าสู่อำนาจของพรรคประชาธิปัตย์ ในสายตาประชาชน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 18 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู ขอนแก่น สกลนคร เชียงใหม่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ กาญจนบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี ระนอง และพัทลุง จำนวนทั้งสิ้น 3,169 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 26 ธันวาคม 2551 - 3 มกราคม 2552 พบว่า เมื่อถามถึงการคาดการณ์ต่อสังคมไทยในปี พ.ศ.2552 ในมุมมองของประชาชนต่อเรื่องบรรยากาศทางการเมือง สถานการณ์เศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ของคนในสังคม วัฒนธรรมประเพณีไทย และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.5 คาดว่าบรรยากาศทางการเมืองจะแย่ลง และร้อยละ 24.6 คาดว่าจะแย่เหมือนเดิม ในส่วนของความชอบธรรมของพรรคประชาธิปัตย์ในการเข้าสู่อำนาจหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 70.9 ระบุว่า มีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตย ขณะที่ร้อยละ 14.4 ระบุว่า ไม่มีความชอบธรรม
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกตามภูมิภาค พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคมองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว คือภาคเหนือร้อยละ 68.0 ภาคกลางร้อยละ 73.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 55.2 ภาคใต้ร้อยละ 88.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 63.1
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงจุดยืนทางการเมืองของประชาชนว่าอยู่ฝ่ายใด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือ ขอเป็นเพียงพลังเงียบ ในขณะที่ ร้อยละ 26.4 สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.7 ไม่สนับสนุน
เมื่อจำแนกกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามออกตามภูมิภาค พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภูมิภาคมองว่า พรรคประชาธิปัตย์มีความชอบธรรมในการเข้าสู่อำนาจหลังการเมืองเปลี่ยนขั้ว คือภาคเหนือร้อยละ 68.0 ภาคกลางร้อยละ 73.8 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 55.2 ภาคใต้ร้อยละ 88.8 และกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 63.1
อย่างไรก็ตาม เมื่อถามถึงจุดยืนทางการเมืองของประชาชนว่าอยู่ฝ่ายใด ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ขออยู่ตรงกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด คือ ขอเป็นเพียงพลังเงียบ ในขณะที่ ร้อยละ 26.4 สนับสนุนรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และร้อยละ 5.7 ไม่สนับสนุน