เอแบคโพลล์ สำรวจพบกว่าร้อยลกว่า 82 สุขใจที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี แต่ก็วังวลต่อสถานการณ์การเมือง ขณะเดียวกันยังพบศรัทธา “ทักษิณ” ลดในการโฟนอิน และเคลื่อนไหวทางการเมือง
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความหวัง กับ ความกลัวของสาธารณชนต่อสถานการณ์ บ้านเมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล จำนวนตัวอย่าง 2,722 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2551
ดร.นพดล กล่าวว่าผลการสำรวการจัด 5 อันดับความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 มีความสุขใจที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี อย่างไรก็ตาม รองลงมาหรือร้อยละ 62.4 ยังคงกังวลต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ในขณะที่ อันดับที่สาม หรือร้อยละ 54.6 เครียดต่อเรื่องการเมือง อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 53.6 ยังมีความหวังว่าจะเกิดความปรองดอง รักสามัคคีกันของคนในชาติ และที่น่าเป็นห่วงคือ อันดับที่ห้า หรือเกินกว่าครึ่งเพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 53.3 ยังคง เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีเหตุขัดแย้งรุนแรง (ที่น่าเป็นห่วงเพราะเคยวิจัยพบในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ร้อยละ 65.9 ที่ยังคงเชื่อมั่นระดับมากต่อการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นในสังคมไทย)
ส่วนความนิยมศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระหว่างการโฟนอิน กับยุติความเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลสำรวจพบว่า ถ้ามีการโฟนอินจะมีประชาชนนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ร้อยละ 47.3 แต่หาก ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะมีประชาชนที่นิยมศรัทธาต่ออดีตนายกฯ เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 57.6 ในการสำรวจครั้งนี้
นอกจากนี้ที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.0 คิดว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องนำไปสู่ความขัดแย้ง รุนแรงบานปลายได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.0 คิดว่าไม่รุนแรงบานปลาย
ดร.นพดล กล่าวว่าที่น่าพิจารณาคือ จุดยืนทางการเมืองของประชาชน ในการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า คนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 กลับไปอยู่ ตรงกลางคือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่มีร้อยละ 25.0 สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 13.4 ไม่สนับสนุนรัฐบาล
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 เลือกที่จะมีความหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าในท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยขณะนี้ ในขณะที่ร้อยละ 42.8 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ.
ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง ความหวัง กับ ความกลัวของสาธารณชนต่อสถานการณ์ บ้านเมืองของประเทศ กรณีศึกษาประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล จำนวนตัวอย่าง 2,722 ตัวอย่าง มีระยะเวลาการดำเนิน โครงการระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2551
ดร.นพดล กล่าวว่าผลการสำรวการจัด 5 อันดับความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสังคมไทยปัจจุบัน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 82.6 มีความสุขใจที่เห็นคนไทยแสดงความจงรักภักดี อย่างไรก็ตาม รองลงมาหรือร้อยละ 62.4 ยังคงกังวลต่อสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน
ในขณะที่ อันดับที่สาม หรือร้อยละ 54.6 เครียดต่อเรื่องการเมือง อันดับที่สี่ หรือร้อยละ 53.6 ยังมีความหวังว่าจะเกิดความปรองดอง รักสามัคคีกันของคนในชาติ และที่น่าเป็นห่วงคือ อันดับที่ห้า หรือเกินกว่าครึ่งเพียงเล็กน้อยคือร้อยละ 53.3 ยังคง เชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีเหตุขัดแย้งรุนแรง (ที่น่าเป็นห่วงเพราะเคยวิจัยพบในช่วงต้นเดือนกันยายนที่ผ่านมา ร้อยละ 65.9 ที่ยังคงเชื่อมั่นระดับมากต่อการ ปกครองระบอบประชาธิปไตย แม้จะมีความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองเกิดขึ้นในสังคมไทย)
ส่วนความนิยมศรัทธาของประชาชนที่มีต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ระหว่างการโฟนอิน กับยุติความเคลื่อนไหวทางการเมือง ผลสำรวจพบว่า ถ้ามีการโฟนอินจะมีประชาชนนิยมศรัทธาต่อ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ร้อยละ 47.3 แต่หาก ยุติการเคลื่อนไหวทางการเมืองจะมีประชาชนที่นิยมศรัทธาต่ออดีตนายกฯ เพิ่มสูงขึ้น เป็นร้อยละ 57.6 ในการสำรวจครั้งนี้
นอกจากนี้ที่น่าเป็นห่วงอีกประการหนึ่งคือ ประชาชนที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 69.0 คิดว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญจะกลายเป็นเรื่องนำไปสู่ความขัดแย้ง รุนแรงบานปลายได้ ในขณะที่ร้อยละ 31.0 คิดว่าไม่รุนแรงบานปลาย
ดร.นพดล กล่าวว่าที่น่าพิจารณาคือ จุดยืนทางการเมืองของประชาชน ในการสำรวจครั้งล่าสุดพบว่า คนไทยที่ถูกศึกษาส่วนใหญ่หรือร้อยละ 61.6 กลับไปอยู่ ตรงกลางคือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ในขณะที่มีร้อยละ 25.0 สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 13.4 ไม่สนับสนุนรัฐบาล
นอกจากนี้ ประชาชนส่วนใหญ่หรือร้อยละ 57.2 เลือกที่จะมีความหวังและก้าวต่อไปข้างหน้าในท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศไทยขณะนี้ ในขณะที่ร้อยละ 42.8 มีความกลัวต่อเหตุการณ์ข้างหน้าของประเทศ.