xs
xsm
sm
md
lg

“โอบามาร์ค” แจงมาตรการอุ้ม “ก่อสร้าง-อสังหาฯ” ฉุดวิกฤต ศก.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
มือเศรษฐกิจ ปชป.ชี้ความจำเป็นใช้แผนระยะสั้นอุ้มก่อสร้าง-อสังหาริมทรัพย์ ก่อนภาคท่องเที่ยว ชี้ผลกระทบแรงงานภาคก่อสร้างที่มีจำนวนมาก ด้านองค์กรลูกจ้างยื่นข้อเสนอ 9 ข้อ ให้โอบามาร์คช่วยแรงงานยุควิกฤต

วันนี้ (25 ธ.ค.) นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กำกับงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล กล่าวยอมรับว่า มาตรการระยะสั้นด้านอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับมาตรการอื่น ด้วยการให้นำภาระดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้านไปใช้หักลดหย่อนภาษีที่กระทรวงการคลังเตรียมออกมากระตุ้นเศรษฐกิจประเทศนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการ เพราะการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจจำเป็นจะต้องทำในครั้งเดียว และรัฐบาลก็ไม่ได้เจาะจงด้านใดเป็นพิเศษ

ส่วนที่ถูกมองว่ารัฐบาลจัดความสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ถูกต้อง แทนที่จะเน้นในเซกเตอร์ที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยวจากที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินก่อนนั้น นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวว่า มาตรการที่ช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ถือว่ามีความสำคัญเนื่องจากมีแรงงานที่อยู่ในภาคการก่อสร้างจำนวนมากเช่นกัน ทั้งยังรวมไปถึงการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2551 และปี 2552 ที่เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากปีก่อน และมาตรการจะออกมาอย่างชัดเจนภายหลังการแถลงนโยบาย ซึ่งตนจะเข้าหารือกับ รมว.คลัง ทันที

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับภาคการลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายน หดตัวที่ร้อยละ -6.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี สะท้อนถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีสัญญาณชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่การลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการ

ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยให้เอกชนกู้ ปริมาณพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตในการก่อสร้าง จำนวนแรงงานภาคการก่อสร้าง ราคาปูนซีเมนต์ที่จำหน่ายและแนวโน้มของเวลา ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ตัวนี้มีระดับความเชื่อมันของภาคดังกล่าว

ก่อนหน้านั้น นายกอร์ปศักด์เคยอธิบายถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ ว่า เป็นแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศให้เจริญเติบโต ซึ่งเรื่องของการนำดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นนั้น ตรงนี้เป็นแนวคิดแต่ขอบอกว่ายังไม่ตกผลึก เพราะทางกระทรวงการคลังจะต้องไปเคาะตัวเลข แต่วิธีการมีขั้นของการเร่งตลาดอสังหาฯ เช่น อาจจะเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างแล้วขายได้หรือรวมถึงอสังหาฯ ที่ขายไม่ได้ด้วย โดยการเพิ่มแรงจูงใจหากตัดสินใจซื้อบ้านใหม่และโอนในปี 2552 ก็จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มลดหย่อนทางภาษี แต่หากไปตัดสินใจซื้อและโอนปีถัดไปก็จะได้รับสิทธิ์ที่ต่างกัน

ในวันเดียวกัน สภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย กว่า 100 คน นำโดยนายบุญจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การฯ เข้ายื่นหนังสือผ่านศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อเสนอมาตรการระงับการเลิกจ้างงานและข้อขัดแย้งภายใต้วิกฤติเศรษฐกิจ 9 ข้อ ยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานที่มีอำนาจเต็มหนึ่งชุด 2.ให้รัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุนนายจ้างที่ขาดสภาพคล่อง 3.จัดทำแนวทางลดการเอาเปรียบจากการใช้มาตรา 75 ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 4.จัดประชาสัมพันธ์ในเรื่องกฎหมายแรงงาน 5.เร่งสร้างงานในโครงการเมกะโปรเจกต์ 6.สถานประกอบการที่เลิกจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานที่ตั้งขึ้น 7.กระทรวงแรงงานต้องมีฐานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว 8.หามาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานในระยะสั้น และ 9.รณรงค์ให้ผู้ใช้แรงงานรู้จักใช้จ่ายในยามวิกฤต
กำลังโหลดความคิดเห็น