"กอร์ปศักดิ์" ชี้ความจำเป็นเลือกแผนระยะสั้นอุ้มก่อสร้าง-อสังหาฯก่อนภาคท่องเที่ยว ป้องกันผลกระทบแรงงานภาคก่อสร้างที่มีจำนวนมาก ยอมรับ“อภิสิทธิ์” แบ่งรับแบ่งสู้ ลดอัตราดอกเบี้ยอสังหาฯอุ้มคนรวย แค่แนวคิดขอดูรายละเอียดก่อนตัดสินใจ ด้านองค์กรลูกจ้างยื่นข้อเสนอ 9 ข้อ ให้โอบามาร์ค ช่วยแรงงานยุควิกฤต วิจัยกสิกรไทยคาดที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในปี52 หดตัวลงร้อยละ14.8 จับตาผู้ประกอบการชูสงครามราคา หวังระบายสต๊อกบ้าน
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล กล่าวถึงความจำเป็นในการออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับมาตรการอื่นๆว่า ส่วนนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น โดยการนำภาระดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้านไปใช้หักลดหย่อนภาษี ซึ่งมาตรการที่เตรียมออกมาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เพราะการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจ จำเป็นจะต้องทำในครั้งเดียว และรัฐบาลก็ไม่ได้เจาะจงด้านใดเป็นพิเศษ
ส่วนที่ถูกมองว่า รัฐบาลจัดความสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ถูกต้อง แทนที่จะเน้นในอุตสาหกรรม(เซกเตอร์)ที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยวจากที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินก่อน นายกรอบศักดิ์ เห็นว่า มาตรการที่ช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากมีแรงงานที่อยู่ในภาคการก่อสร้างจำนวนมากเช่นกัน ทั้งยังรวมไปถึงการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2551 และปี 2552 ที่เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากปีก่อน และมาตรการจะออกมาอย่างชัดเจนภายหลังการแถลงนโยบาย ซึ่งตนจะเข้าหารือกับรมว.คลัง ทันที
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายน หดตัวที่ร้อยละ -6.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี สะท้อนถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีสัญญาณชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์
ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยให้เอกชนกู้ ปริมาณพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ในการก่อสร้าง จำนวนแรงงานภาคการก่อสร้าง ราคาปูนซีเมนต์ที่จำหน่ายและแนวโน้มของเวลา ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ตัวนี้มีระดับความเชื่อมันของภาคดังกล่าว
ก่อนหน้านั้นนายกอร์ปศักด์ เคยอธิบายถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯว่า เป็นแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศให้เจริญเติบโต ซึ่งเรื่องของการนำ ดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นนั้น ตรงนี้เป็นแนวคิดแต่ขอบอกว่ายังไม่ตกผลึก เพราะทางกระทรวงการคลังจะต้องไปเคาะตัวเลข แต่วิธีการมีขั้นของการเร่งตลาดอสังหาฯ เช่น อาจจะเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างแล้วขายได้หรือรวมถึงอสังหาฯที่ขายไม่ได้ด้วย โดยการเพิ่มแรงจูงใจหากตัดสินใจซื้อบ้านใหม่และโอนในปี 2552 ก็จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มลดหย่อนทางภาษี แต่หากไปตัดสินใจซื้อและโอนปีถัดไปก็จะได้รับสิทธิ์ที่ต่างกัน
***"มาร์ค”ยันลดดบ.อสังหาฯยังไม่นิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยอสังหาฯที่ดูเหมือนว่าคนได้ประโยชน์คือคนรวยนั้น ขณะนี้มาตรการยังไม่มีรายละเอียด เป็นเพียงแนวคิด ต้องดูรายละเอียดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เป็นตัวเลขที่บ่งบอกผลกระทบจากการผ่อนบ้าน รายได้เท่าไหร่ อันนี้ต้องเอาตัวเลขมาดูและจะไปให้ตรงจุดที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเม็ดเงิน จะทำอย่างไรให้ยั่งยืนควบคู่ไปกับการกระตุ้นการใช้จ่าย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บางเรื่องเป็น นโยบายระยะยาว เช่น การเรียนฟรี หรือระบบสวัสดิ์การของคนหลายกลุ่ม อย่างผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นการกระตุ้นเฉพาะหน้าอย่างเดียว ส่วนโครงการอื่นๆ จะเข้าไปดูว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น เราต้องหารูปแบบ หรือ โครงการที่ทำให้เงินไปถึงมือประชาชนเร็ว
***สภาองค์กรลูกจ้างฯวอนดูแลคนตกงาน
สำหรับความเคลื่อนไหวของสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฎว่า วานนี้(25) ลูกจ้างกว่า 100 คน นำโดยนายบุญจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การฯ เข้ายื่นหนังสือผ่านศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อเสนอมาตรการระงับการเลิกจ้างงานและข้อขัดแย้งภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ 9 ข้อ ยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานที่มีอำนาจเต็มหนึ่งชุด 2.ให้รัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุนนายจ้างที่ขาดสภาพคล่อง 3. จัดทำแนวทางลดการเอาเปรียบจากการใช้มาตรา 75 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 4. จัดประชาสัมพันธ์ในเรื่องกฎหมายแรงงาน 5. เร่งสร้างงานในโครงการเมกะโปรเจ็คต์ 6. สถานประกอบการที่เลิกจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานที่ตั้งขึ้น 7. กระทรวงแรงงานต้องมีฐานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว 8. หามาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานในระยะสั้น และ 9. รณรงค์ให้ผู้ใช้แรงงานรู้จักใช้จ่ายในยามวิกฤต
***เอกชนคาดปี52อสังหาฯหดตัว 14.8%
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้รายงานบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2552 ว่า มี 2 สมมุติฐานในการประเมินสถานการณ์ กล่าวคือ
กรณีพื้นฐาน (Base Case) แม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่สามารถผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กลับมาสู่ภาคเอกชนและผู้บริโภค ผู้ประกอบการอาจจะหันกลับมาลงทุนโครงการอสังหาฯในช่วงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2552 น่าจะหดตัวลงร้อยละ14.8 จากปี 2551
สำหรับกรณีเลวร้าย (Worst Case) เป็นสถานการณ์ที่ปัจจัยลบทางการเมือง ส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคตของประชาชน วิกฤตการเงินที่อาจจะกลับมาปะทุขึ้นอีกครั้งในปีหน้า ที่อาจจะสร้างอุปสรรคการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย รวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปีหน้า จะหดตัวลงร้อยละ19.9 จากปี 2551
" แนวโน้มการตลาดอสังหาฯในปี 2552 น่าจะเป็นปีที่มีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะการใช้กลยุทธ์ด้านราคา อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพื่อเร่งระบายสินค้า ลดภาระต้นทุนและเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ในภาวะที่ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงกำลังซื้อผู้บริโภคบางกลุ่มลดลง โดยกลยุทธ์ด้านราคาที่ยังคงมีการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น การลดราคาบ้าน การใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังมีการทำตลาดระหว่างผู้ประกอบการกับสถาบันการเงินในการนำเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย "
ในขณะที่แนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัยในปี 2552 คาดว่า กำลังซื้อต่อที่อยู่อาศัยอาจยังคงไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วนัก โดยความต้องการที่อยู่อาศัยน่าจะมีแรงซื้อมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยพื้นฐานเพื่อการที่อยู่อาศัยจริง
นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล กล่าวถึงความจำเป็นในการออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับมาตรการอื่นๆว่า ส่วนนี้เป็นเพียงมาตรการระยะสั้น โดยการนำภาระดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้านไปใช้หักลดหย่อนภาษี ซึ่งมาตรการที่เตรียมออกมาเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ เพราะการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อการชะลอตัวของภาคเศรษฐกิจ จำเป็นจะต้องทำในครั้งเดียว และรัฐบาลก็ไม่ได้เจาะจงด้านใดเป็นพิเศษ
ส่วนที่ถูกมองว่า รัฐบาลจัดความสำคัญในการแก้ปัญหาด้านเศรษฐกิจไม่ถูกต้อง แทนที่จะเน้นในอุตสาหกรรม(เซกเตอร์)ที่สำคัญ เช่น การท่องเที่ยวจากที่ได้รับผลกระทบจากการปิดสนามบินก่อน นายกรอบศักดิ์ เห็นว่า มาตรการที่ช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ถือว่ามีความสำคัญ เนื่องจากมีแรงงานที่อยู่ในภาคการก่อสร้างจำนวนมากเช่นกัน ทั้งยังรวมไปถึงการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้รายงานประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2551 และปี 2552 ที่เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจากปีก่อน และมาตรการจะออกมาอย่างชัดเจนภายหลังการแถลงนโยบาย ซึ่งตนจะเข้าหารือกับรมว.คลัง ทันที
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในเดือนพฤศจิกายน 2551 ได้ชะลอตัวลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ที่สะท้อนจากภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเดือนพฤศจิกายน หดตัวที่ร้อยละ -6.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 13.2 ต่อปี สะท้อนถึงตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่มีสัญญาณชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ทั้งจากความไม่มั่นใจในสถานการณ์เศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้ออสังหาริมทรัพย์
ขณะเดียวกัน ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการลงทุนด้านการก่อสร้างของภาคเอกชนในประเทศไทย ประกอบไปด้วย อัตราดอกเบี้ยให้เอกชนกู้ ปริมาณพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต ในการก่อสร้าง จำนวนแรงงานภาคการก่อสร้าง ราคาปูนซีเมนต์ที่จำหน่ายและแนวโน้มของเวลา ซึ่งปัจจัยทั้ง 5 ตัวนี้มีระดับความเชื่อมันของภาคดังกล่าว
ก่อนหน้านั้นนายกอร์ปศักด์ เคยอธิบายถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาฯว่า เป็นแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจภายในประเทศให้เจริญเติบโต ซึ่งเรื่องของการนำ ดอกเบี้ยมาหักลดหย่อนได้เพิ่มขึ้นนั้น ตรงนี้เป็นแนวคิดแต่ขอบอกว่ายังไม่ตกผลึก เพราะทางกระทรวงการคลังจะต้องไปเคาะตัวเลข แต่วิธีการมีขั้นของการเร่งตลาดอสังหาฯ เช่น อาจจะเป็นที่อยู่อาศัยที่สร้างแล้วขายได้หรือรวมถึงอสังหาฯที่ขายไม่ได้ด้วย โดยการเพิ่มแรงจูงใจหากตัดสินใจซื้อบ้านใหม่และโอนในปี 2552 ก็จะได้รับประโยชน์จากการเพิ่มลดหย่อนทางภาษี แต่หากไปตัดสินใจซื้อและโอนปีถัดไปก็จะได้รับสิทธิ์ที่ต่างกัน
***"มาร์ค”ยันลดดบ.อสังหาฯยังไม่นิ่ง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การลดอัตราดอกเบี้ยอสังหาฯที่ดูเหมือนว่าคนได้ประโยชน์คือคนรวยนั้น ขณะนี้มาตรการยังไม่มีรายละเอียด เป็นเพียงแนวคิด ต้องดูรายละเอียดให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เป็นตัวเลขที่บ่งบอกผลกระทบจากการผ่อนบ้าน รายได้เท่าไหร่ อันนี้ต้องเอาตัวเลขมาดูและจะไปให้ตรงจุดที่สุด
ผู้สื่อข่าวถามว่า การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการอัดฉีดเม็ดเงิน จะทำอย่างไรให้ยั่งยืนควบคู่ไปกับการกระตุ้นการใช้จ่าย นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า บางเรื่องเป็น นโยบายระยะยาว เช่น การเรียนฟรี หรือระบบสวัสดิ์การของคนหลายกลุ่ม อย่างผู้สูงอายุ เพราะฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นการกระตุ้นเฉพาะหน้าอย่างเดียว ส่วนโครงการอื่นๆ จะเข้าไปดูว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ต้องยอมรับว่าเป้าหมายการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น เราต้องหารูปแบบ หรือ โครงการที่ทำให้เงินไปถึงมือประชาชนเร็ว
***สภาองค์กรลูกจ้างฯวอนดูแลคนตกงาน
สำหรับความเคลื่อนไหวของสภาองค์การลูกจ้างสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทยนั้น ปรากฎว่า วานนี้(25) ลูกจ้างกว่า 100 คน นำโดยนายบุญจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การฯ เข้ายื่นหนังสือผ่านศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำข้อเสนอมาตรการระงับการเลิกจ้างงานและข้อขัดแย้งภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจ 9 ข้อ ยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ประกอบด้วย 1.ให้รัฐบาลจัดตั้งคณะทำงานที่มีอำนาจเต็มหนึ่งชุด 2.ให้รัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุนนายจ้างที่ขาดสภาพคล่อง 3. จัดทำแนวทางลดการเอาเปรียบจากการใช้มาตรา 75 ของพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2551 4. จัดประชาสัมพันธ์ในเรื่องกฎหมายแรงงาน 5. เร่งสร้างงานในโครงการเมกะโปรเจ็คต์ 6. สถานประกอบการที่เลิกจ้างต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะทำงานที่ตั้งขึ้น 7. กระทรวงแรงงานต้องมีฐานข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงเพื่อช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว 8. หามาตรการช่วยเหลือผู้ว่างงานในระยะสั้น และ 9. รณรงค์ให้ผู้ใช้แรงงานรู้จักใช้จ่ายในยามวิกฤต
***เอกชนคาดปี52อสังหาฯหดตัว 14.8%
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้รายงานบทวิเคราะห์ถึงแนวโน้มตลาดที่อยู่อาศัยในปี 2552 ว่า มี 2 สมมุติฐานในการประเมินสถานการณ์ กล่าวคือ
กรณีพื้นฐาน (Base Case) แม้ว่ารัฐบาลชุดใหม่สามารถผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้กลับมาสู่ภาคเอกชนและผู้บริโภค ผู้ประกอบการอาจจะหันกลับมาลงทุนโครงการอสังหาฯในช่วงครึ่งหลังของปี แต่คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปี 2552 น่าจะหดตัวลงร้อยละ14.8 จากปี 2551
สำหรับกรณีเลวร้าย (Worst Case) เป็นสถานการณ์ที่ปัจจัยลบทางการเมือง ส่งผลต่อทิศทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่มีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและรายได้ในอนาคตของประชาชน วิกฤตการเงินที่อาจจะกลับมาปะทุขึ้นอีกครั้งในปีหน้า ที่อาจจะสร้างอุปสรรคการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย รวมถึงนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในธุรกิจอสังหาฯ คาดว่าจำนวนที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลในปีหน้า จะหดตัวลงร้อยละ19.9 จากปี 2551
" แนวโน้มการตลาดอสังหาฯในปี 2552 น่าจะเป็นปีที่มีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะการใช้กลยุทธ์ด้านราคา อาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก เพื่อเร่งระบายสินค้า ลดภาระต้นทุนและเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการ ในภาวะที่ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงกำลังซื้อผู้บริโภคบางกลุ่มลดลง โดยกลยุทธ์ด้านราคาที่ยังคงมีการใช้อย่างต่อเนื่อง เช่น การลดราคาบ้าน การใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขาย นอกจากนี้ยังมีการทำตลาดระหว่างผู้ประกอบการกับสถาบันการเงินในการนำเสนออัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่ผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย "
ในขณะที่แนวโน้มความต้องการที่อยู่อาศัยในปี 2552 คาดว่า กำลังซื้อต่อที่อยู่อาศัยอาจยังคงไม่ปรับตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็วนัก โดยความต้องการที่อยู่อาศัยน่าจะมีแรงซื้อมาจากความต้องการที่อยู่อาศัยพื้นฐานเพื่อการที่อยู่อาศัยจริง