ที่ประชุมผู้บริหารจุฬาฯ ออกแถลงการณ์คัดค้าน “หมัก” คืนเก้าอี้นายกฯ ระบุ ถูกศาลวินิจฉัยขาดจริยธรรม คุณธรรม ไร้ความสง่างาม แนะทางออกควรคืนอำนาจให้ประชาชน ปธ.สภาอาจารย์ฯ ชี้ นักการเมืองขายโหวต สะท้อนสังคมไทยเห็นแก่ตัว อยากเห็นรัฐบาลแห่งชาติเพื่อปฏิรูปการเมือง ปลุกปัญหาชน-สถาบันการศึกษา ออกมาปกป้องสร้างคนดีมีคุณธรรม
วันที่ 11 ก.ย.2551 ที่ประชุมผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ว่า ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ หมวดว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งกำหนดห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งหรือเป็นลูกจ้างของบุคคล หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันนั้น ที่ประชุมผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงจุดยืนและเรียกร้องดังนี้
1.คัดค้านการเสนอชื่อบุคคลใดๆ ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยชัดเจนว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งทำให้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญและต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม เกียรติภูมิ และความสง่างามทางการเมือง ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีและบรรทัดฐานในการบริหารบ้านเมืองของประเทศไทย รวมทั้งประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับกันในอารยประเทศ
2.การคัดสรรและเสนอชื่อผู้นำประเทศในภาวะความขัดแย้งทางการเมืองแบบแยกขั้วในขณะนี้ ต้องการมาตรฐานทางจริยธรรม และหลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้ากันมากขึ้น
3.กระบวนการตัดสินใจต้องรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนกลุ่มต่างๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด และให้คำนึงถึงประโยชน์สุขของสาธารณชนโดยส่วนรวม โดยไม่ผูกขาดการตัดสินใจหรือมองเฉพาะประโยชน์ ความต้องการ หรือความพึงพอใจของกลุ่มการเมืองพวกเดียวกันเท่านั้น
4.ทุกฝ่ายต้องเคารพกฎหมายและเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย และในกรณีที่กลไกทางรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การเผชิญหน้าทางการเมือง ให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินทางออกของประเทศตามครรลองประชาธิปไตย
5.รัฐบาลควรใช้สื่อของรัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก และยุติการใช้สื่อของรัฐให้เกิดความแตกแยกขึ้นไปในชาติ โดยเฉพาะการใช้สื่อของรัฐให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ทุกฝ่าย
รศ.พอพันธ์ วัชจิตพันธ์ ประธานสภาอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่บูชาอำนาจ และเป็นสังคมที่เห็นแก่ส่วนรวมน้อยกว่าส่วนตัว เห็นได้จากการที่นักการเมืองขายสิทธิในการโหวต การคอร์รัปชัน และเป็นสังคมที่ไม่คิดไตร่ตรอง จนทำเกิดวิกฤต ดังนั้น ขอเสนอแนวทางแก้ไขดังนี้ คือ 1.ตอนนี้สังคมไทยกำลังขาดผู้นำที่มีจริยธรรมและคุณธรรมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะหลังจากศาลวินิจฉัยให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องยาวนาน จนต้องให้ตุลาการภิวัฒน์มาแก้ไข 2.พรรคร่วมรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นคนเสนออดีตนายกฯ ขึ้นมา ดังนั้น ต้องรับผิดชอบ โดยการไม่ดึงดันเสนออดีตนายกฯเข้ามาอีก ต้องยอมเสียสละบ้าง 3.ศาลควรจะเร่งดำเนินการสะสางคดีการเมืองที่มีอยู่โดยเร็ว 4.อยากจะเห็นรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อให้มีการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขความไม่ชอบธรรมที่รัฐบาลเก่าได้สร้างเอาไว้ 5.พันธมิตรฯ ควรสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง และอาจจะป้องกันตัวเองได้ แต่ต้องไม่ไปทำร้ายคนอื่น ขอให้อหิงสาที่สุด
6.ประชาชนควรรวมตัวกันตรวจสอบนักการเมืองไร้จริยธรรม คอร์รัปชัน ทำลายประเทศโดยจะยอมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
7.ต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ส.ส.อย่างเดียว 8.ต้องมีการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เครื่องมือของนักการเมือง และส่งเสริมให้ทหารเป็นทหารอาชีพของประชาชน 9.คนที่มีการศึกษาในบ้านเมืองออกมาปกป้องไม่ให้มีสิ่งที่ไม่ชอบธรรมเกิดขึ้นในบ้านเมือง 10.สถาบันการศึกษาต้องตรวจสอบบทบาทองตัวเองสม่ำเสมอ เป็นผู้นำในการสร้างคนดีมีคุณธรรมสร้างธรรมาภิบาลให้สังคมต่อไป
วันที่ 11 ก.ย.2551 ที่ประชุมผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกแถลงการณ์ต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ ว่า ตามที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ หมวดว่าด้วยการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในส่วนการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งกำหนดห้ามมิให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งหรือเป็นลูกจ้างของบุคคล หรือองค์การที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันนั้น ที่ประชุมผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงจุดยืนและเรียกร้องดังนี้
1.คัดค้านการเสนอชื่อบุคคลใดๆ ซึ่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยชัดเจนว่ามีการกระทำอันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ซึ่งทำให้ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญและต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแล้ว กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม เกียรติภูมิ และความสง่างามทางการเมือง ซึ่งเป็นศักดิ์ศรีและบรรทัดฐานในการบริหารบ้านเมืองของประเทศไทย รวมทั้งประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติอันเป็นที่ยอมรับกันในอารยประเทศ
2.การคัดสรรและเสนอชื่อผู้นำประเทศในภาวะความขัดแย้งทางการเมืองแบบแยกขั้วในขณะนี้ ต้องการมาตรฐานทางจริยธรรม และหลีกเลี่ยงการสร้างเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การเผชิญหน้ากันมากขึ้น
3.กระบวนการตัดสินใจต้องรับฟังความคิดเห็นของสาธารณชนกลุ่มต่างๆ ให้กว้างขวางมากที่สุด และให้คำนึงถึงประโยชน์สุขของสาธารณชนโดยส่วนรวม โดยไม่ผูกขาดการตัดสินใจหรือมองเฉพาะประโยชน์ ความต้องการ หรือความพึงพอใจของกลุ่มการเมืองพวกเดียวกันเท่านั้น
4.ทุกฝ่ายต้องเคารพกฎหมายและเจตนารมณ์ที่แท้จริงของกฎหมาย และในกรณีที่กลไกทางรัฐสภาไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง การเผชิญหน้าทางการเมือง ให้รัฐบาลคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินทางออกของประเทศตามครรลองประชาธิปไตย
5.รัฐบาลควรใช้สื่อของรัฐเพื่อประโยชน์ของประชาชนโดยส่วนรวมเป็นหลัก และยุติการใช้สื่อของรัฐให้เกิดความแตกแยกขึ้นไปในชาติ โดยเฉพาะการใช้สื่อของรัฐให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่ทุกฝ่าย
รศ.พอพันธ์ วัชจิตพันธ์ ประธานสภาอาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สังคมไทยเป็นสังคมที่บูชาอำนาจ และเป็นสังคมที่เห็นแก่ส่วนรวมน้อยกว่าส่วนตัว เห็นได้จากการที่นักการเมืองขายสิทธิในการโหวต การคอร์รัปชัน และเป็นสังคมที่ไม่คิดไตร่ตรอง จนทำเกิดวิกฤต ดังนั้น ขอเสนอแนวทางแก้ไขดังนี้ คือ 1.ตอนนี้สังคมไทยกำลังขาดผู้นำที่มีจริยธรรมและคุณธรรมอย่างรุนแรง โดยเฉพาะหลังจากศาลวินิจฉัยให้นายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ซึ่งเป็นปัญหาที่ต่อเนื่องยาวนาน จนต้องให้ตุลาการภิวัฒน์มาแก้ไข 2.พรรคร่วมรัฐบาลต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเป็นคนเสนออดีตนายกฯ ขึ้นมา ดังนั้น ต้องรับผิดชอบ โดยการไม่ดึงดันเสนออดีตนายกฯเข้ามาอีก ต้องยอมเสียสละบ้าง 3.ศาลควรจะเร่งดำเนินการสะสางคดีการเมืองที่มีอยู่โดยเร็ว 4.อยากจะเห็นรัฐบาลแห่งชาติ เพื่อให้มีการปฏิรูปการเมืองและแก้ไขความไม่ชอบธรรมที่รัฐบาลเก่าได้สร้างเอาไว้ 5.พันธมิตรฯ ควรสนับสนุนการปฏิรูปการเมือง และอาจจะป้องกันตัวเองได้ แต่ต้องไม่ไปทำร้ายคนอื่น ขอให้อหิงสาที่สุด
6.ประชาชนควรรวมตัวกันตรวจสอบนักการเมืองไร้จริยธรรม คอร์รัปชัน ทำลายประเทศโดยจะยอมให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น
7.ต้องมีการส่งเสริมความเข้าใจในสิทธิหน้าที่ตามการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ ส.ส.อย่างเดียว 8.ต้องมีการปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง ไม่ใช่เครื่องมือของนักการเมือง และส่งเสริมให้ทหารเป็นทหารอาชีพของประชาชน 9.คนที่มีการศึกษาในบ้านเมืองออกมาปกป้องไม่ให้มีสิ่งที่ไม่ชอบธรรมเกิดขึ้นในบ้านเมือง 10.สถาบันการศึกษาต้องตรวจสอบบทบาทองตัวเองสม่ำเสมอ เป็นผู้นำในการสร้างคนดีมีคุณธรรมสร้างธรรมาภิบาลให้สังคมต่อไป