xs
xsm
sm
md
lg

อดีต ส.ว.เชื่อ “แม้ว-อ้อ” ไม่รอดเงื้อมมือตุลาการภิวัฒน์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


นักวิชาการ เชื่อ เลือกตั้งหลัง 6 เดือน การเมืองเปลี่ยนขั้ว แต่หากเลือกตั้งช่วง 3 เดือนนี้ การเมืองรุนแรง สับประชานิยมรถเมล์ฟรี ไม่มีจริง เหตุเอาเงินภาษีของคนชั้นกลางไปให้คนจน เชื่อแก้ รธน.แตกหักแน่ ด้าน อดีต ส.ว.เชื่อ “แม้ว-อ้อ” หนีไม่พ้นเงื้อมมือตุลาการภิวัฒน์ นอกเสียจากหนีจนสิ้นอายุความ


วันนี้ (17 ส.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา จัดเสวนา “สถานการณืการเมืองหลัง “ทักษิณ” ลี้ภัย คลี่คลายหรือรบแตกหัก” โดยมี นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดตาก นายณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ นางสิริพรรณ นกสวน อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นายพนัส กล่าวว่า ถ้าตอบแบบฟันธงคงต้องใช้เวลาพอสมควร โดยเฉพาะศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพราะศาลจะต้องนำตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และ คุณหญิง พจมาน ชินวัตร ภริยา กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ซึ่งศาลจะต้องดำเนินการประสานไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนให้เร็วที่สุด เพราะในการดำเนินคดีอาญาจำเป็นจะต้องมีจำเลยมาอยู่ต่อหน้าศาล เพื่อรักษาความยุติธรรม เพื่อที่จะให้จำเลยทราบ และเพื่อที่จะได้หาทางต่อสู้ได้

นายพนัส กล่าวอีกว่า นายศราวุธ เบญจกุล อดีตโฆษกศาลยุติธรรม เคยได้ให้ความเห็นไว้ว่า ในคดีอาญาหากไม่มีจำเลยมานั่งฟังในการพิจารณาคดี จะต้องจำหน่ายคดีออกไป แต่สำหรับตนไม่อยากให้ยกเรื่องนี้มาเป็นบรรทัดฐาน ถ้าหากไม่นำจำเลยมาดำเนินคดีถามว่าจะเกิดปัญหาอะไรขึ้น แต่ถ้าหากจำเลยไม่มาศาลพิจารณาจนสิ้นสุดก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าทางประเทศไทยจะดำเนินการเพื่อที่จะขอตัว พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน มาดำเนินคดีในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่ ขณะนี้ตนเข้าใจว่า คณะอัยการสูงสุดฝ่ายต่างประเทศได้ติดต่อกับประเทศอังกฤษ เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอัยการของเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญน่าจะใช้เวลาในการประสานขอตัวจำเลยมาดำเนินคดีไม่นานนัก แต่ถ้าใช้เวลานานคงติดขัดในข้อกฎหมายอะไรบางอย่าง ซึ่งอาจจะมีความสลับซับซ้อน และมีขั้นตอนที่ยืดยาวพอสมควร อย่างไรก็ตาม โดยหลักแล้วถ้าหากจะส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน เราจะต้องติดต่อไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอังกฤษจะเป็นผู้พิจารณา

“ผมคิดว่า ขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะนำเรื่องขอลี้ภัยทางการเมืองมาต่อสู้ เพราะหากไม่ขอลี้ภัยทางการเมืองอาจจะถูกประหัสประหาร หรือถูกข่มขู่หรือลงโทษโดยไม่เป็นธรรม ซึ่งประเทศอังกฤษอาจจะช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยการปฏิเสธส่งตัวกลับไปประเทศไทย” นายพนัส กล่าว

นายพนัส กล่าวว่า แต่ถ้าหากทางการไทยอยากได้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมาดำเนินคดีในไทยได้ ก็ต้องดูว่า เขาเดินทางไปประเทศไหน และถ้าประเทศนั้นเป็นประเทศที่ไม่ได้รับรองการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน ก็สามารถนำตัวมาดำเนินคดีได้ อย่างไรก็ตาม พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะใช้ทนายทีมเดียวกับ นายปิ่น จักกะพาก เพราะในอดีตนายปิ่นไม่เข้ามาต่อสู้คดีก็ได้

นายพนัส กล่าวว่า ในวันจันทร์นี้ กลุ่มพันธมิตรฯจะเดินทางไปยังสถานทูตอักฤษ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอังกฤษอย่านิ่งเฉยในเรื่องนี้ ซึ่งตนเห็นว่าอาจส่งผลต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ เช่นกัน เนื่องจากอังกฤษเป็นประเทศที่มีความอ่อนไหวในเรื่องนี้สูง อาจยกเลิกไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ลี้ภัยในประเทศของเขา ทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะต้องไปขอลี้ภัยกับรัฐบาลประเทศอื่นแทน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะไม่สามารถหลุดรอดไปได้ เพราะเชื่อว่า อำนาจตุลาการจะไม่ปล่อยไว้แน่ ยกเว้นแต่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะลี้ภัยจนคดีหมดอายุความ 20 ปี

ด้าน นางสิริพรรณ กล่าวา การเมืองขณะนี้ อำนาจรัฐกำลังถูกตั้งคำถาม ผู้ใช้อำนาจรัฐกำลังถูกตรวจสอบ สังคมถูกฉีกเป็นเสี่ยงๆ โดยใช้เหตุผลของตนเองเป็นที่ตั้ง เป็นสถาพสังคมที่แทบจะปกครองกันไม่ได้อีกแล้ว ทั้งนี้การที่ศาลพิจารณาคดีของ พ.ต.ท.ทักษิณ ต่อไป โดยไม่รอจำเลยนั้น เป็นการพิจารณาตามหลักความยุติธรรม และตามหลักกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ในทางรัฐศาสตร์ ตนมีคำถามว่าก่อนหน้านี้ และไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นศาล ว่า เหตุใดศาลจึงอนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และภรรยา เดินทางออกนอกประเทศ ด้วยเหตุผลไปดูการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่จีนได้ เพราะเป็นสุ่มเสี่ยงต่อการหลบหนี จึงเห็นว่า ภายใต้กรอบคำถามนี้ เป็นเพราะมีความพยายามลดความตึงเครียดทางการเมืองลงด้วยการเจรจาใต้โต๊ะกันก่อนหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นจริงการดำเนินการขอส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนอาจไม่เป็นผลความพยายามของรัฐ ที่เห็นจะเป็นแบบครึ่งๆ กลางๆ แต่สุดท้ายจะไม่นำตัวกลับมาสู่การพิจารณาคดี

นางสิริพรรณ กล่าวว่า การออกนอกประเทศ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ คนที่มีความสุขที่สุด คือ นายสมัคร เพราะอำนาจตัดสินใจบริหารประเทศ ไม่ต้องมีนายเหนือหัวอีกคนมาคอยออกคำสั่ง แต่ความแตกหักที่จะเกิดขึ้นจะเกิดจากความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งกลุ่มพันธมิตรฯไม่ยอมแน่ จนเป็นตัวแปรนำไปสู่การปะทะกัน เพราะไม่ได้แก้ประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ดังนั้น สถานการณ์จะคลี่คลายลงได้ หากการแก้ไขรัฐธรรมนูญรัฐบาลให้ประชาชนมีฉันทมติก่อนว่า ต้องการการเมืองแบบใด มีพรรคการเมืองแบบไหนและเข้มแข็งอย่างไร

“ที่ผ่านมา การเมืองไทยมีปัญหา เพราะผู้นำขาดความเข้าใจในบทบาทของตัว และไม่มีความศรัธาต่อระบการเมือง เช่น การทำรายการอาหารของนายกฯ เป็นเรื่องผลประโยนช์ทับซ้อน ซึ่งต้องเข้าใจและยอมรับ การสร้างรัฐสภาใหม่ การทำโครงการเมกกะโปร์เจ็ก ที่ไม่มีการถามประชาชนก่อน ขาดการมีส่วนร่วม และขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างมาก นอกจากนี้ยังทำกันอย่างเร่งรีบ รวดเร็ว จนน่าสงสัย แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่ได้ยอมรับในหลักการของกฎหมายตั้งแต่ต้น” นางสิริพรรณ กล่าว

ด้าน นายณรงค์ กล่าวว่า การเข้าใจกับสิทธิการเมืองของไทย พ.ต.ท.ทักษิณ คือ ระบบ อย่าคิดว่าเมื่อไม่มี พ.ต.ท.ทักษิณ แล้วทุกอย่างจะจบ แต่ตนคิดว่าไม่จบเพราะระบบยังอยู่ เพราะ 3 ปีกว่าที่ตนร่วมงานกับ ทรท.สรุปว่า ทักษิณฉลาด ใช้ประโยชน์จากระบบ ซึ่งในระบบปัจจุบันถ้ามีสถานการณ์เป็นลบ จะเป็นบวกกับ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ถ้าสถานการณ์เป็นบวก จะเป็นลบกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เขากำลังคิดว่าภายใต้สถานการณ์เขาจะตัดสินใจอย่างไร ทั้งนี้ ตนเคยได้คุยกับคนใกล้ชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ฟังดูแล้วตนไม่ทราบจะตัดสินใจอย่างไรดี เพราะเขาดึงตนเข้าไปเป็นตัวละครด้วย ตนคิดว่า มีปัจจัยหลายอย่างไปเป็นคุณต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นการดีต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ขณะนี้การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงทางเศษฐกิจและการเมือง มีผลต่อฐานเสียงประชานิยมลดลง เพราะฐานเสียงประชานิยมอยู่ที่ชาวนา จะเห็นได้ว่าขณะนี้มีชาวนาเหลือเพียง 12 ล้านคนเท่านั้น แต่มีผู้ใช้แรงงานถึง 17 ล้านคน แบ่งเป็นมนุษย์เงินเดือน 16 ล้านคน ซึ่งไม่น่าจะเป็นฐานเสียงของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ถือเป็นสิ่งที่แปลกคือ 39 ล้านเสียงมาจากไหน

“ระบบการเลือกตั้งของไทยเขาให้ผู้ใช้แรงงานถูกบังคับให้ไปเลือกตั้งที่ภูมิลำเนาเดิม ผมคิดว่าน่าจะมีกฎหมายลูกบังคับให้ผู้ใช้แรงงานในพื้นที่นั้นๆเกิน 3 ปี ให้เลือกตั้งในพื้นที่นั้นๆ ได้ ถ้าเป็นเช่นนี้การเมืองเปลี่ยนแน่นอน” นายณรงค์ กล่าว

นายณรงค์ กล่าวว่า ยืนยันถ้าเปลี่ยนประชานิยมเปลี่ยนอย่างแน่นอน การเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันได้ก่อรูปคนชั้นกลางมากมาย คนมีความรู้ การศึกษา และมีเงินเดือน และผู้ประกอบการรายย่อย อยากจะให้ไปดูเวทีพันธมิตรฯวันนี้ มีประชาชนมาชุมนุมส่วนใหญ่จบปริญญาตรีเป็นคนชั้นกลาง นั่นเป็นการบอกว่าคนชั้นกลางเป็นคนที่ปรับเปลี่ยนประชาธิปไตย ตนถึงบอกว่า ประชาธิปไตยไม่สามารถฝากไว้กับคนจน และนายทุน เพราะทุนใหญ่ไม่เคยเลือกเผด็จการณ์หรือประชาธิปไตย เพราะเขาคิดแต่ว่าอะไรจะต่อยอดธุรกิจให้เขา และการเมืองก็สนใจแต่คนจน แต่กลับเอาเงินภาษีของชนชั้นกลางไปให้คนจน มาตรการออกมาไม่แตะคนชั้นกลาง แต่เอาเงินในกระเป๋าไปให้คนจน คนรวยดูเหมือนจะจ่ายเยอะ แต่ผลักดันภาระไปเป็นบวกต่อประชาธิปไตย แต่เป็นลบต่อกระแสประชานิยม ทักษิณ ถ้าคนมีทางเลือกข่าวสารข้อมูลก็จะดีขึ้น จะเห็นได้จากทันทีที่มีข่าวสารจาก เอเอสที และทีวีสาธารณะ ประชาชนจะได้มีข่าวทั้ง 2 ทาง แต่ระบบโทรทัศน์ วิทยุ ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้สังคมเลย

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ระบบตุลาการภิวัฒน์เข้มแข็งมากขึ้น ทำให้ระบบการเมืองที่ขาดแรงถ่วงดุล เกิดแรงถ่วงดุลขึ้นมา การปรับเปลี่ยนไม่ให้ทุนสามานย์ แต่ไม่สามารถไปคลาดหวัง เพราะจะหยุดได้คือการถ่วงดุลขึ้นมาทั้งระบบ ซึ่งมีระบบการตรวจสอบ และประชาชนเข้มแข้ง ฉันท์ไดฉันนั้นเราเดินทางไปเส้นทางของทุน วิ่งเดินไปเร็วมาก การเกิดตุลาการเข้มแข็งก็เป็นการถ่วงดุลไม่ให้คืบคลานเข้ามา

“3-4 ปี ผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า ปี 2547 พรรคไทยรักไทย จะไปไม่รอด เพราะคนชั้นกลางจะออกมา ถึงแม้ว่าคนชั้นกลางจะอ่อนไหวก็ตาม แต่คนชั้นกลางโวยวายเสียงดัง จะเห็นได้ว่าเมื่อพรรคไทยรักไทยชนะเลือกตั้งในปี 48 ก็ตาม แต่ขณะนี้ชนชั้นกลางยังยืนหยัดอยู่ และเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง และสถานการณ์ขณะนี้ยังเป็นบวกอยู่ แต่สถานการณ์ทุนนิยมกลับมีความสลับซับซ้อน ในขณะเดียวกันชนชั้นกลางบางกลุ่มกลับหมกมุ่นแต่กับหุ้นว่าเมื่อไหร่หุ้นจะไหลเข้ามา แต่เขาไม่เข้าใจว่าทุนที่ไหลเข้ามาจากต่างประเทศเข้ามาเพียงแป๊บเดียวก็ไป และไม่มีประโยชน์เลย แต่มีประโยชน์ให้เพียงตลาดหุ้น” นายณรงค์ กล่าว

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า การรู้ไม่ทันกับทุนยังเป็นปัญหาสังคม ทุนพัฒนาเร็วเกินไป เมื่อตามไม้ทันก็เป็นเหยื่อทุน ทำให้สถาบันกฎหมายอ่อนแอ เกินไปตามไม่ทันสถานการณ์ ทำแล้วไม่ผิดกฎหมาย ไม่มีกฎหมายรองรับ เป็นผลดีต่อนักการเมือง และนักธุรกิจเอาเปรียบสังคม ระบบทุน เชื่อมต่อกันหมดระหว่างทุนภายใน ภายนอก ทำให้ทุนประเทศหนึ่งเชื่อมโยงประเทศหนึ่ง จะเห็นทักษิณ กับต่างประเทศ การเชื่อมต่อทุน ทำให้ทุนมีพลังนุภาพ เพราะทุนร่วมมือกัน นักธุรกิจ และนักการเมืองร่วมทุนกับต่างประเทศจะมีพลังนุภาพอย่างมาก ซึ่งทำให้ทุนเพิ่มได้รวดเร็วเป็นทุนที่ไม่โปร่งใส เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เป็นธรรม ถือว่าเป็นบวกกับพ.ต.ท.ทักษิณ แต่เป็นลบต่อสถาณการณ์

“สิ่งเหล่านี้ ส่งผลต่อการเลือกตั้ง เพราะส่วนใหญ่คนจน และคนชั้นกลางบางคนเป็นพวกบริโภคประชานิยมจนขาดเหตุผลจึงทำให้กระแสประชานิยมออกมาทุกครั้งได้รับการตอบรับ ล่าสุดเม็กโปรเจ็ค ของรัฐบาลที่มีการให้ขึ้นรถเมล์ฟรี ความจริงไม่ฟรีหรอกเพราะรัฐบาลจะต้องเอาเงินภาษีของชนชั้นกลางไปจ่ายให้ ขสมก.คันละ 8 พันบาท ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยแก่คนจน แต่ถ้าจะช่วยคนชั้นกลางทำไมไม่ลดกำไรของ ปตป.ลง เพราะ ปตท.มีเครือข่าย 7-8 บริษัท ได้กำไรปีละ 3 แสนล้านบาท เอากำไรจากประชาชนมากเกินไปหรือไม่ จะเอากำไรไปทำอะไรนักหนา ที่โจ๊กกว่านั้นประเทศไต้หวันน้ำมันเขาถูกกว่าเรา เหตุนี้ทำให้เราอยู่ภายใต้สังคมบริโภคมากเกินไป ทำให้ระบบเม็กกะโปรเจ็ก ได้รับการตรวจสอบ เพราะเม็กกะโปรเจ็กที่ออกได้สะสมทุนให้เขา ถ้าผมเป็น ทักษิณผมก็สู้ เพราะมีโอกาสชนะถ้าผมรอคอย โดยมีความซับซ้อนทางกฎหมาย ประชานิยมออกมาเขาก็ชนะ กฎหมายเลือกตั้งยังอำนวยให้เขาอยู่” นายณรงค์ กล่าว

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า ถ้าเลือกตั้งภายใน 2 ปีคนของเขาก็ชนะ เขาจะนั่งงอมืองอเท้าทำไม ถ้าเขางอมือเท้าเขาจะเสียประโยชน์กว่า 7-8 หมื่นล้านบาท แต่ถ้าเขาลุกขึ้นมาต่อสู้เขาจะได้กำไรถึง 6 หมื่นล้านบาท มีคนเคยบอกตนว่าอย่าอคติกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะเขาได้เปลี่ยนไปแล้ว เมื่อ 3 ปี รู้สึกว่าเขาเป็นคนดี แต่พอบริหารประเทศ ผ่านไป1 ปี กลับเปลี่ยนไป มองว่าพ.ต.ท.ทักษิณเปลี่ยนไป อาจจะเป็นเพราะว่าเขาเสแสร้าง หรือเป็นเพราะว่าคนแวดล้อมเขาชักจูง หรืออาจจะเป็นเพราะว่าเขารู้ช่องทางการแสวงหาผลประโยชน์ให้กับตัวเอง เพราระบบสังคมไทยเอื้อต่อทุนสามาน ทำให้กฎหมายอ่อนแอ สังคมไร้การศึกษา

นายณรงค์ กล่าวอีกว่า คนอย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอมง่ายๆ เพราะคิดว่าถ้าลงทุนแล้วมีกำไรก็ยอมลงทุน มากเท่าไหร่ก็มากเท่านั้น ถ้าลงทุนแล้วไม่ได้อะไรเขาจะไม่ทำ ฉากที่ 1ออกไปถ้าไม่ได้เงินไม่กลับ มีการรู้กันหรือไม่ถ้าเขาไป ในประเด็นนี้ถ้าเขาได้เงินติดต่อไป บอกว่าห้ามกลับ เขาอาจจะไม่กลับ ว่าคุกก็ติด เงินก็เสียไม่กลับแน่นอน นน คุกก็ติดเงินก็เสีย ไม่กลับมาดีกว่า รอให้ถึงเวลาค่อยกลับถ้าเขาได้เงินติดต่อไป บอกว่าห้ามกลับ เขาอาจจะไม่กลับ คุกก็ติด เ แต่ถ้าในทางศาลก็จะเป็นเช่นนี้ คุกก็ติดเงินก็เสีย ไม่กลับมาดีกว่า รอให้ถึงเวลาค่อยกลับ กลับมาติดคุกเงินที่อายัดไว้ไม่ได้ ไม่ติดคุก ไม่ได้เงิน กลับ ถ้าดูเช่นนี้มีโอกาสไม่กลับ ถ้าถามไม่กลับไม่สู้ไม่ใช่ โอกาสรบแตกหักมีหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ว่ามีการเลือกตั้งเร็วหรือไม่ ถ้าเลือกตั้งช้าทุนสามานเกิดใหม่ก็ยังร่วมมืออยู่กับเขาอย่างแน่นอน แต่ก็ไม่แตกหัก ก็เลือกตั้งชนะอีก

อย่างไรก็ตาม ไม่เกิน 1 ปี หรือไม่เร็วกว่า 6 เดือน ภายในช่วงนี้ เหล็กยังร้อนอยู่ข่าวสารข้อมูลเผยแพร่จากพันธมิตรยังอุ่นๆ มากพอ ถ้าเลือกตั้งช่วง 6 เดือนสถานการณ์เปลี่ยนแน่ เกมเปลี่ยน พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ชนะ พรรคก็ถูกยุบลง การเงินแขนขาก็จะอ่อนเปลี้ย การเมืองแตกหัก แต่ถ้าเลือกตั้งภายใน 3 เดือนเขาก็จะกลับมาอีก เพราะแขนขาเก่ายังมี และแก็งออฟโฟร์ก็มีพลังอยู่ การลงลึกของข่าวสารข้อมูลยังกระจายไม่พอ ต้องอาศัยเวลาอีกช่วง ฝากกระบวนการแรงงานรณรงค์ให้ออกกฎหมายลูกให้ผู้ใช้แรงงานที่จากภูมิลำเนาเดิมมาทำงานในพื้นที่อื่นทำงานครบ 3 ปี ให้มีสิทธิเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องเดินทางกลับบ้าน ถ้าเป็นเช่นนี้เกมเปลี่ยนแน่นอน เมื่ออ่านเกมเช่นนี้ทักษิณไม่ยอม ต้องรีบเร่งเลือกตั้ง แก้รับธรรมนูญให้ได้ เพราะฉะนั้นทุกคนกำลังอาจเกมกันอยู่ และกำลังจะชิงกันอยู่ว่าใครจะเร็วกว่ากัน ถ้าเป็นเช่นนี้การเมืองแตกหักภาย 6 เดือนทันที ถ้าเสียงประชาชนเปลี่ยนมีปริมาณมากพอเกินการเปลี่ยนแปลง

“แม้ผมจะเชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะยังสู้อยู่ แต่จะชนะหรือไม่นั้น เห็นว่าไม่ง่ายนัก เพราะหากถูกคดียุบพรรค พรรคพลังประชาชนจะเป็นเหมือนมดแตกรัง และอาจจะกู่ไม่กลับ แต่เชื่อว่าเรื่องนี้สมาชิกพรรค และพ.ต.ท.ทักษิณกำลังติดตามและคอยประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่เชื่อว่ายังไงแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณก็ยังสู้ เพราะยังมีเงินอยู่ในในต่างประเทศเป็นแสนล้านบาท ไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรนอกจากนำมาใช้ต่อสู้แน่นอน เพราะในสถานการณ์เช่นนี้ เขาไม่มีทางอื่น แต่ตนเป็นห่วงประชาชน เพราะหากมีการปะทะ หรือมีความรุนแรงเกิดขึ้นผู้ที่สูญเสียคือประชาชน ไม่ใช่ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เสียแค่เงิน” นายณรงค์ กล่าว


กำลังโหลดความคิดเห็น