xs
xsm
sm
md
lg

145 นักวิชาการออกแถลงการณ์ประณาม อันธพาลแก๊งถ่อยไล่ฆ่า ปชช.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วรศักดิ์ มหัทธโนบล
145 นักวิชาการ แสดงจุดยืนร่วมกันลงชื่อประณาม อันธพาลแก๊งถ่อย ตั้งแต่ หน.รบ.หุ่นเชิด ตลอดจนลิ่วล้อ ที่มีส่วนปลุกเร้า รู้เห็น หนุนอันธพาลแก๊งถ่อยรุมทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรฯ อย่างไร้ทางสู้ ขณะที่ รัฐ ตร.ทำเพิกเฉยไม่ปฏิบัติหน้าที่ปกป้อง ปชช.ผู้บริสุทธิ์ ย้ำไม่ต่างจากเหตุการณ์ 6 ตุลา พร้อมเรียกร้อง รบ.หุ่นเชิด ต้องจัดการตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด


เวลา 12.00 น.วันนี้ (28 ก.ค.) ที่สมาคมศิษย์เก่ารัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวแทนนักวิชาการจากสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา กว่า 30 สถาบัน โดย นายวรศักดิ์ มหัทธโนบล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้เป็นตัวแทนอ่านแถลงการณ์ เรื่อง “นักวิชาการประณามการใช้ความรุนแรงและเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด”

ทั้งนี้ มีใจความตอนหนึ่งว่า เหตุการณ์ที่ขบวนการทางการเมืองฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ใช้อาวุธเข้าทำร้ายฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ชุมนุมโดยสงบตามสิทธิที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดอุดรธานีนั้น เป็นการเข้าจู่โจมอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า จงใจทำร้ายผู้ชุมนุมให้บาดเจ็บสาหัส หรือแม้กระทั่งให้เสียชีวิต และที่น่าเศร้าที่สุด ก็คือ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมาก โดยที่กลไกอำนาจรัฐเหล่านี้มิได้เข้าไปจัดการแก้ไขสถานการณ์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้นำรัฐบาล และผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบางคนยังกล่าวในทำนองแก้ต่างให้ท้ายให้แก่การใช้ความรุนแรงเยี่ยงนั้นเสียด้วยซ้ำ

นายวรศักดิ์ กล่าวว่า เรานักวิชาการขอประณามการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายดังที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม และก่อนหน้านั้น ว่า เป็นพฤติกรรมที่ป่าเถื่อนอำมหิตเยี่ยงมนุษย์ผู้กระหายเลือด ไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 อันเป็นพฤติกรรมที่วิญญูชนผู้มีความเป็นมนุษย์ที่แท้ไม่พึงกระทำหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำ

“ขอประณามผู้นำทางการเมือง ผู้นำในองค์กรของรัฐ ผู้นำในการชุมนุม ตลอดจนกลุ่มบุคคล บุคคล องค์กรสื่อทุกรูปแบบ และองค์กรวิชาชีพอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีส่วนในทางใดทางหนึ่ง หรือทุกทางในการวางแผน ปลุกเร้า ชี้นำ รู้เห็นเป็นใจ ตลอดจนใช้วาจาที่ยั่วยุ หยาบคาย ด่าทอบริภาษผู้อื่นเพียงเพราะมีความเห็นแตกต่างจากตน ทั้งนี้ เพราะการกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นการส่งเสริมโน้มนำให้เกิดความรุนแรงในที่สุด” นายวรศักดิ์ กล่าว

ในแถลงการณ์วิชาการ ยังเรียกร้องให้ใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง ในการสื่อสารความคิดเห็น โดยยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในการสื่อสารกับสังคม ขณะที่ได้ประณามเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่กลับเพิกเฉยละเว้นมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตน หรือเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าการเพิกเฉยละเว้นนี้จะเกิดขึ้น เพราะรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำที่รุนแรง หรือเพราะภยาคติก็ตาม ขณะเดียวกัน ได้เรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกส่วนราชการ ตลอดจนองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยเห็นว่า การใช้ความรุนแรงในสังคมไทยจะลดน้อยลง หรือหมดไปได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้อำนาจรัฐในการจัดการกับผู้มีส่วนในความรุนแรงตามกระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา ทั้งผู้มีบทบาทอยู่เบื้องหลัง ผู้เข้าร่วมกระทำการรุนแรง ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐที่เพิกเฉยละเลยการปฏิบัติหน้าที่

จี้รัฐบาล “หมัก” รับผิดชอบ ปล่อยม็อบถ่อยตีประชาชน

นพ.ปูม มาลากุล ณ อยุธยา อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.มหิดล ผู้ประสานงานระหว่าง ม.มหิดล และ ม.บูรพา กล่าวว่า ภาพความรุนแรงที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ของรัฐแสดงเจตนาที่ไม่เข้าไปควบคุม หากยังเพิกเฉย เห็นว่า เป็นเรื่องธรรมดา ก็จะเป็นการส่งเสริมความรุนแรงไปเรื่อย ๆกลายเป็นภาวะที่ไม่เคารพกฎหมาย

“เราขอประณามความรุนแรงที่เกิดขึ้น และรัฐบาลควรจะเป็นผู้รับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้น คำว่าเสียใจไม่ควรเกิดขึ้นอีก เหตุการณ์ผ่านมา 2 วัน รัฐบาลกลับยังนิ่งเฉยไม่มีความพยายามที่จะนำคนผิดมาลงโทษ โดยเฉพาะข้าราชการ หรือผู้กระทำผิดอย่างจงใจ ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมไม่ว่าฝั่งใด ควรจะอดทนอย่างมาก โดยเฉพาะการชุมนุมอย่างสันติวิธี นอกจากนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ขอให้ทุกฝ่ายระลึกถึงชีวิตของประชาชนเป็นสำคัญ หากจะเปลี่ยนแปลงก็ให้มีการเปลี่ยนแปลงโดยประชาชน อย่าเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะถอยหลังลงคลองแบบที่ผ่านมา”

ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณบดีรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า การที่แกนนำคนรักอุดร เข้ามอบตัวแล้วนั้น รัฐควรจะต้องเป็นผู้ตรวจสอบ คนที่เข้าไปเกี่ยวข้องในการกระทำผิดเพื่อเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพราะหากยังปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการทางการเมือง ความวิตกกังวลที่ว่าจะบานปลายไปไปอีกก็จะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ ผู้กระทำผิดไม่ใช่เพียงกลุ่มคนที่ไปทุบประชาชน ยังจะรวมไปถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่ละเลย ไม่ได้คุ้มครองสิทธิของประชาชนตามสิทธิชั้นพื้นฐาน ต้องถูกลงโทษตามกระบวนการยุติธรรม ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ควรจะรับผิดชอบไม่เพียงให้คนเพียงสองคนเข้ามามอบตัว

ส่อละเลยปฏิบัติหน้าที่ เหมือนกรณี “โอ๋สืบ 6”

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะยังไม่มีกฎหมายลูกมาบังคับใช้ ตามมาตรา 53 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนในที่สาธารณะก็ตาม แต่ผู้มีอำนาจรัฐกลับฉ้อฉลใช้เป็นช่องว่างในการกระทำกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ทำการชุมนุมโดยสันติ ทั้งนี้ ขอเรียกร้องให้มีกฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะอย่างชัดเจน

“ผมทราบจากเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับปฏิบัติการ ทั้งที่ จ.เชียงใหม่ และภาคอีสาน ว่า หากเป็นตำรวจในระดับปฏิบัติการแล้ว การที่จะปล่อยให้ใครเข้าไปทำอะไรนั้น จะต้องขึ้นอยู่ในระดับนโยบาย หรือผู้ใหญ่สั่งมาก่อน ว่า จะให้ยับยั้งหรือให้ปล่อยเข้ามา ภาพที่มีม็อบเข้าไปทำร้ายพันธมิตรฯ จึงบ่งบอกได้ว่า ระดับปฏิบัติจะทำอะไรไม่ได้เลยหากผู้ใหญ่ไม่สั่งว่าให้ระงับไว้ให้ได้ หรือให้ปล่อยเข้ามา ตรงนี้ทำให้รับรู้ได้ว่า ผู้ที่สมรู้ร่วมคิดไม่ได้มีแค่ 2 คน คนที่เป็นทั้งผู้กำกับการจังหวัด เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นรัฐมนตรีช่วยฯ คน 3-4 คนนี้มีความใกล้ชิดกัน ต้องสอบให้ได้ว่าเป็นการเปิดเข้ามาทำร้ายประชาชนหรือไม่ หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่แบบขอไปที” รศ.ดร.ไชยันต์ กล่าวและว่า

ทั้งนี้ หากเปรียบกับในช่วงที่ นปก.มาก่อความวุ่นวายหน้าบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งตนเห็นว่า พล.อ.เปรม เป็นเพียงประชาชนคนหนึ่งที่ควรได้รับสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการคุ้มครองจากรัฐ ก็ไม่มีประชาชนเข้าไปไล่ล่า นปก.ซึ่งต่างกับเหตุการณ์นี้มาก ขณะที่ 2 แกนนำคนรักอุดร เข้ามอบตัวนั้น ก็ไม่เพียงพอกับการรับผิดชอบกับความรุนแรง แต่รัฐบาลควรจะเข้ามารับผิดชอบในการสอบสวนความจริงเพื่อหาคนมาลงโทษ หากเอามาเปรียบเทียบกับกรณีของ พ.ต.อ.ฤทธิรงค์ เทพจันดา หรือ โอ๋ สืบ 6 ที่ปล่อยกุ๋ยมาทำร้ายประชาชน จน ป.ป.ช.ตัดสินให้ออกจากราชการแล้ว เหตุการณ์นี้ก็ไม่แตกต่างกัน เพราะภาพที่ออกมาว่าตำรวจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่มีความชัดเจนมาก

รัฐบาลหมดความชอบธรรม หลังภาพความรุนแรงชัดเจน

ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า หากมีหลักฐานที่ออกมาว่ารัฐบาลเกี่ยวข้องกับผู้ที่ใช้ความรุนแรง รัฐบาลก็จะไม่ใช่เป็นเพียงที่พึ่งของประชาชน แต่รัฐบาลได้หมดความชอบธรรมไปแล้ว

ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า ตนเสียใจที่คนในรัฐบาล หรือโฆษกรัฐบาล ออกมาย้ำว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะพันธมิตรฯ ไปชุมนุมทำให้เกิดความเสียหายกับคนอุดรฯ จนเกิดเหตุการณ์ความรุนแรง เป็นเรื่องที่คนถูกกระทำกลายเป็นคนผิด หากเปรียบกับคนที่ถูกข่มขืนแล้ว กลับกลายเป็นคนผิด คิดว่าสังคมแย่ไปแล้ว ทั้งนี้ ตนขอให้สื่อมวลชนช่วยกันสังเกตว่า คดีความรุนแรงที่เกิดใน จ.อุดรธานี และ จ.บุรีรัมย์ จะกลายเป็นมวยล้มต้มคนดูหรือไม่

ผศ.ดร.สุภาวดี มิตรสมหวัง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า บ้านเมืองควรจะมีบรรทัดฐานในการออกมาควบคุมความรุนแรง ซึ่งตรงนี้ตนผิดหวังกับการให้สัมภาษณ์ของ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ที่ระบุว่า ทหารไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการระงับความรุนแรง ดังนั้นเมื่อทหารไม่รับชอบก็ขอเรียกร้องให้คนในสังคมร่วมกันออกมาดำเนินการระงับความรุนแรง

รายละเอียดแถลงการณ์ ประณามการใช้ความรุนแรง มีเนื้อหาดังนี้

แถลงการณ์ เรื่อง นักวิชาการประณามการใช้ความรุนแรง
และเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาตามกระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัด


เป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า ขณะนี้ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง อันนำมาซึ่งความแตกแยกร้าวฉานในหมู่ประชาชนอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในสังคมไทยปัจจุบัน ที่น่าเศร้า และน่าวิตกอย่างยิ่ง ก็คือ ได้เกิดเหตุการณ์ที่ขบวนการทางการเมืองฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล ใช้อาวุธเข้าทำร้ายฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ชุมนุมโดยสงบตามสิทธิที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย ดังเหตุการณ์ที่จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดบุรีรัมย์ ในวันที่ 24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่จังหวัดอุดรธานีนั้น เป็นการเข้าจู่โจมอย่างเห็นได้ชัดเจนว่า จงใจทำร้ายผู้ชุมนุมให้บาดเจ็บสาหัส หรือแม้กระทั่งให้เสียชีวิต และที่น่าเศร้าที่สุด ก็คือ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมาก โดยที่กลไกอำนาจรัฐเหล่านี้มิได้เข้าไปจัดการแก้ไขสถานการณ์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ยิ่งไปกว่านั้น หลังเหตุการณ์ดังกล่าว ผู้นำรัฐบาลและผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบางคนยังกล่าวในทำนองแก้ต่างให้ท้ายให้แก่การใช้ความรุนแรงเยี่ยงนั้นเสียด้วยซ้ำ

เรานักวิชาการผู้มีรายนามท้ายแถลงการณ์นี้ ขอประกาศจุดยืนและข้อเรียกร้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในครั้งนี้และที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ดังนี้

1.เราขอประณามการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ รวมทั้งการทำร้ายร่างกายดังที่เกิดขึ้นในวันที่ 24 กรกฎาคม และก่อนหน้านั้น ว่า เป็นพฤติกรรมที่ป่าเถื่อนอำมหิตเยี่ยงมนุษย์ผู้กระหายเลือด ไม่ต่างจากที่เคยเกิดขึ้นในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2519 อันเป็นพฤติกรรมที่วิญญูชนผู้มีความเป็นมนุษย์ที่แท้ไม่พึงกระทำหรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำ

2.เราขอประณามผู้นำทางการเมือง ผู้นำในองค์กรของรัฐ ผู้นำในการชุมนุม ตลอดจนกลุ่มบุคคล บุคคล องค์กรสื่อทุกรูปแบบ และองค์กรวิชาชีพอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่มีส่วนในทางใดทางหนึ่งหรือทุกทางในการวางแผน ปลุกเร้า ชี้นำ รู้เห็นเป็นใจ ตลอดจนใช้วาจาที่ยั่วยุ หยาบคาย ด่าทอบริภาษผู้อื่นเพียงเพราะมีความเห็นแตกต่างจากตน ทั้งนี้ เพราะการกระทำเช่นนี้ย่อมเป็นการส่งเสริมโน้มนำให้เกิดความรุนแรงในที่สุด
เราขอเรียกร้องให้ใช้เหตุผล ข้อเท็จจริง ในการสื่อสารความคิดเห็น โดยยุติการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบในการสื่อสารกับสังคม

3.เราขอประณามเจ้าหน้าที่รัฐ ผู้มีหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง แต่กลับเพิกเฉยละเว้นมิได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนหรือเลือกปฏิบัติ ไม่ว่าการเพิกเฉยละเว้นนี้จะเกิดขึ้นเพราะรู้เห็นเป็นใจกับการกระทำที่รุนแรง หรือเพราะภยาคติก็ตาม

4.เราขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐทุกส่วนราชการ ตลอดจนองค์กรอิสระที่เกี่ยวข้อง มีความกล้าหาญทางจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถ โดยเราเห็นว่า การใช้ความรุนแรงในสังคมไทยจะลดน้อยลงหรือหมดไปได้ก็ต่อเมื่อมีการใช้อำนาจรัฐในการจัดการกับผู้มีส่วนในความรุนแรงตามกระบวนการยุติธรรมอย่างโปร่งใสตรงไปตรงมา ทั้งผู้มีบทบาทอยู่เบื้องหลัง ผู้เข้าร่วมกระทำการรุนแรง ตลอดจนเจ้าหน้าที่รัฐที่เพิกเฉยละเลยการปฏิบัติหน้าที่

แถลงการณ์ข้างต้นนี้ เป็นจุดยืนและข้อเรียกร้องของเรานักวิชาการ ที่มีทรรศนะทางการเมืองแตกต่างกัน เราผู้ลงนามในท้ายแถลงการณ์นี้ มีทั้งผู้ที่ยอมรับความชอบธรรมของรัฐบาลหรือแม้แต่สนับสนุนรัฐบาล มีทั้งผู้ที่เห็นถึงความชอบธรรมของขบวนการต่อต้านรัฐบาล หรือแม้แต่เข้าร่วมในขบวนการนี้ แต่บนความแตกต่างนี้ เราล้วนมีทัศนะที่เป็นเอกภาพในอันที่จะปฏิเสธและประณามการใช้ความรุนแรงทางการเมืองในทุกกรณี และเรียกร้องให้ใช้กระบวนการยุติธรรมอย่างเคร่งครัดกับผู้เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงในทุกกรณี ทั้งนี้ เพราะ สิทธิ เสรีภาพ สวัสดิภาพ และความมั่นคงในชีวิตของประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะมีจุดยืนทางการเมืองเช่นใด ย่อมสำคัญกว่าชัยชนะทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นของฝ่ายใด และการที่ความขัดแย้งในหมู่ประชาชนปะทุขึ้นเป็นความรุนแรง คือ ความพ่ายแพ้ของทุกฝ่ายในสังคมไทย

ด้วยมิตรภาพและภราดรภาพ

อ.วรศักดิ์ มหัทธโนบล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ธาวิต สุขพานิช คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ตระกูล มีชัย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ฉลอง สุนทราวนิชย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.สิริพรรณ นกสวน คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
อ.สุวิมล รุ่งเจริญ (๑๐) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

ผศ.ดร.ภาวิกา ศรีรัตนบัลล์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.อรทัย ก๊กผล คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ศ.ดร.จรัส สุวรรณมาลา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.นายแพทย์ จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี คณะรัฐศาสตร์ สงขลานครินทร์ ปัตตานี
ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง
ดร.บัณฑิต จันทร์โรจน์กิจ คณะรัฐศาสตร์ รามคำแหง
รศ.พิพัฒน์ ไทยอารี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
อ.ดอน สุขศรีทอง (๒๐) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.วลัยลงกรณ์

อ.ชนาใจ หมื่นไธสง รัฐประศาสนศาสตร์ ม.ราชภัฏร้อยเอ็ด
อ.สาคร สมเสริฐ นักวิชาการ
อ.เฉลิมพล แซ่กิ้น รัฐศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต
ดร.นภิสา ไวฑูรเกียรติ รัฐศาสตร์ ม.นเรศวร
อ.มณีรัตน์ มิตรปราสาท มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ทักษิณ
ดร.พิศาล มุกดารัศมี วิทยาลัยการเมืองการปกครอง ม.มหาสารคาม
อ.อารีลักษณ์ พูลทรัพย์ คณะรัฐศาสตร์ สงขลานครินทร์ ปัตตานี
ดร.ทิวากร แก้วมณี รัฐศาสตร์ ม.นเรศวร
อ.วรวิทย์ เกาะกลาง มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช
อ.อำนาจ รอดช่วย (๓๐) มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏนครศรีธรรมราช

อ.ณฐิญาณ์ งามขำ รัฐศาสตร์ ม.ราชภัฏสวนดุสิต
ผศ.ดร.ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
รศ.อรรถจักร สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ.สายชล สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รศ.ดร.โกสุมภ์ สายจันทร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.จันทนา สุทธิจารี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.วรรณภา ลีระศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.อุษามาศ เสียมภักดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์ (๔๐) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.ไพลิน กิตติเสรีชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.ธันยวัฒน์ รัตนสัค คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผศ.ดร.วีระ สมบูรณ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.สุรัตน์ โหราชัยกุล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ผศ.ทวี สุรฤทธิกุล คณะรัฐศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ คณะรัฐศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช
ผศ.ยุทธพร อิสรชัย คณะรัฐศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช
อ.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อ.ชำนาญ จันทร์เรือง มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
อ.ปราณี วงศ์จำรัส (๕๐) คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.อำพล วงศ์จำรัส คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.สุดา รังกุพันธ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ
ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
รศ.ดร.มานะ ศรียุทธศักดิ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ
อ.สุรพงษ์ ชัยนาม นักวิชาการอิสระ
ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษา มหิดล
รศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์
รศ.ทรงยศ แววหงส์ คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร
รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมย์ (๖๐) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
รศ.สุชาย ตรีรัตน์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
อ.นพ.สหดล ปุญญถาวร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
อ.พญ.แก้ว ศุภรศุข คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ
นพ.เกรียงศักดิ์ หลิวจันทร์พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ สงขลานครินทร์
รศ.ดร.สุทธิพงศ์ อุริยะพงศ์สรรค์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.ขอนแก่น
ผศ.ดร.มณฑา เก่งการพานิช คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นพ. ปูม มาลากุล ณ อยุธยา
รศ.ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธุ์
ผศ.ดร.ลักขณา เติมศิริกุลชัย (๗๐)

รศ.ธราดล เก่งการพานิช
ผศ.ดร.บุษบา สงวนประสิทธิ์
ผศ.ดร.สุคนธา คงศีล
รศ.พญ.ชุติมา ศิริกุลชยานนท์
ผศ.ดร.อังสนา บุญธรรม
รศ.ดร.สุปรียา ตันสกุล
ผศ.ดร.พิมพ์สุภาว์ จันทนะโสตถิ์
ผศ.ดร. อาภาพร เผ่าวัฒนา
ผศ.ดร.ปัญญารัตน์ ลาภเจริญวัฒนา
รศ. สิริประภา กลั่นกลิ่น (๘๐)

รศ.ดร.นัยนา บุญทวียุวัฒน์
ดร. ภิรดี ภวนานันท์
ดร.วราภรณ์ เสถียรนพเก้า
รศ.ดร.เนาวรัตน์ เจริญค้า
รศ.ดร.นิภาพรรณ กังสกุลนิติ
ผศ.เฟื่องฟ้า อตรารัชต์กิจ
ผศ.ดร.พรพรรณ ดิระพัฒน์
รศ.พญ.กนกรัตน์ ศิริพานิชกร
ศ.ดร.อรษา สุตเธียรกุล
อาจารย์ศุภชัย แสงรัตนกุล (๙๐)

รศ.ดร.ภูษิตา อินทรประสงค์
ผศ.ดร.ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ
ผศ.ดร.ภรณี วัฒนสมบูรณ์
ผศ.ดร.พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์
ดร.กรกนก ลัธธนันท์ วิทยาลัยพยาบาลพระบรมราชชนนี กรุงเทพฯ
ดร.ศรัณญา เบญจกุล นักวิชาการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.Stephen Hamann นักวิชาการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ.ดร.สงวน ธานี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
รศ.ดร.อาภรณ์ ดีนาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผศ.ธนวรรณ อาษารัฐ (๑๐๐) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

อาจารย์เกษแก้ว เสียงเพราะ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
รศ.ดร.นันทวรรณ วิจิตรวาทการ คณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร. นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
อ. คมสัน โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.คุณธัม วศินเกษม สำนึกเทคโนโลยีการศึกษา สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.วิศิษฐ์ศักดิ์ แฟ้นสัมฤทธิ์
รศ.สมัครสมร ภักดีเทวา
รศ.วราภรณ์ อุปสาคม
รศ.ดร. ธนิศ ภู่ศิริ
ผศ.ดร.สุภาวดี มิตรสมหวัง (๑๑๐) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

รศ.ดร.วรรณา สนั่นพานิธิกุล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.อมรมาศ คงธรรม สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สุโขทัยธรรมาธิราช
รศ.นิตยา วัจนะภูมิ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ธรรมศาสตร์
ผศ.ดร.เพ็ญศรี วัจฉละญาณ
ผศ.สุวรรณี จุฑามณีพงษ์
ผศ.ดร.สุเนตร สืบค้า มหาวิทยาลัยแม่โจ้
อ.ระวิน สืบค้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก
ศ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และรวมรายชื่อในอัดสำเนาลายมือที่ส่งเข้ามาล่าสุด รวมทั้งสิ้น ๑๔๕ คน

วันที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เวลา ๑๒.๐๐ น.

แถลง ณห้องสมาคมนิสิตเก่าคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ไชยันต์ ไชยพร
กำลังโหลดความคิดเห็น