xs
xsm
sm
md
lg

“วิรุฬ” ยังไม่พ้นวิบากกรรม ศาล รธน.นัดอภิปรายตามคำร้อง ส.ว.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นัดอภิปรายคำชี้แจง “วิรุฬ” ตามคำร้องพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ว.พรุ่งนี้ ยันไม่ผูกมัดคำสั่งยกคำร้อง กกต. ถือหุ้นในกิจการที่ถูกล้มเลิกก่อนเข้ารับตำแหน่ง พร้อมชี้ ส.ส.-ส.ว.รับตำแหน่ง ขรก.ฝ่ายสภา ไม่ขัด รธน.

วันนี้ (22 ก.ค.) นาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาของให้วินิจฉัยคุณสมบัติการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ว่าขณะนี้ตุลาการได้นำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาที่นายวิรุฬส่งมารวมไว้ในสำนวนแล้ว และได้แจ้งไปยังปรายวุฒิสภา เพื่อให้แจ้งต่อสมาชิก ส.ว.ผู้ร้องทราบแล้ว ซึ่งในวันพรุ่งนี้ (23 ก.ค.) ในการพิจารณาของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คงจะมีการหยิบขึ้นมาอภิปรายแต่จะยังไม่ลงในรายละเอียด โดยเป็นไปตามระเบียบวิธีพิจารณาของคณะตุลาการฯ ที่เมื่อได้รับคำชี้แจงผู้ถูกร้องแล้วก็จะพิจารณาว่าข้อมูลต่างๆ เพียงพอให้อภิปรายได้แล้วหรือยัง

ส่วนที่ กกต.มีมติยกคำร้อง กรณีดังกล่าวไปก่อนหน้านี้โดยเห็นว่าบริษัทที่นายวิรุฬเข้าไปถือหุ้นล้มเลิกกิจการก่อนเข้ารับตำแหน่ง รมช.พาณิชย์ นั้นจะมีผลต่อการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติการยื่นเรื่องลักษณะดังกล่าวไว้ 2 ช่องทาง คือ 1.ผู้แทนเข้าชื่อตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด ยื่นผ่านประธานสภาแห่งตน เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กับ 2.กกต.เป็นผู้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยด้วยก็ได้ ซึ่งขณะนี้คำร้องดังกล่าวอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลแล้วก็ต้องให้โอกาสคณะตุลาการได้พิจารณาก่อนถึงจะตอบได้

นายไพบูลย์ แถลงอีกว่า ที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเห็นว่า พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา พ.ศ.2518 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง (เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเป็นประธานคณะกรรมการข้าราชการฝ่ายรัฐสภา (ก.ร.) ของประธานรัฐสภา และการเป็นรองประธาน ก.ร.ของรองประธานรัฐสภา) พ.ร.บ.สถาบันพระปกเกล้า พ.ศ.2541 มาตรา 8 (1) (2) (3) (เฉพาะกรณีผู้นำฝ่ายค้าน ในสภาผู้แทนราษฎร) และ (4) และพ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. 2551 มาตรา 7 (3) และ (5) ที่บัญญัติให้สมาชิกสภาผุ้แทนราษฎร (ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายนิติบัญญัติ ตาม พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว ไม่ถือว่าเป็นกรณีที่ ส.ส.หรือ ส.ว.ใช้สถานะหรือตำแหน่งเข้าไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในเรื่องการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินงานในหน้าที่ประจำของข้าราชการ รวมทั้งการบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย โอน เลื่อนตำแหน่ง เลื่อนเงินเดือน และการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมืองที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมาตรา 265 และ 266 แต่อย่างใด
กำลังโหลดความคิดเห็น