“พลังแม้ว” เล่นเกมถ่วงเวลา “ศุภชัย ใจสมุทร” ยื่น กกต.สอบ ส.ส.ปชป.-ส.ว.รวม 61 ราย อ้างถือหุ้นในกิจการสื่อ-บริษัทเอกชนที่มีสัมปทานกับรัฐ เล่นลิ้นอ้างไม่ได้ดิสเครดิต แต่เมื่อเห็นว่า รธน.50 ดี ก็ต้องปฏิบัติตาม ส่วน ส.ส.พปช.โบ้ยสื่อให้ตรวจสอบสอบเอง
วันนี้ (14 ก.ค.) นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกพรรคพลังประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธาน กกต. ผ่านสำนักเลขาคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ตรวจสอบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ความเป็น ส.ส.และ ส.ว. โดยแยกเป็น ส.ส.28 ราย และ ส.ว.33 ราย
นายศุภชัย กล่าวว่า เนื่องจากบุคคลทั้งหมดกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 โดยถือครองหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม และมาตรา 265 ที่ระบุห้าม ส.ส.และ ส.ว. เข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะมีผลทำให้สมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 106 และสมาชิกภาพความเป็น ส.ว.ตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวอีกว่า กฎหมายทั้ง 2 มาตรา มีเจตนาที่จะให้ ส.ส.และ ส.ว.ไม่ไปถือหุ้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ ที่เป็นคู่สัญญากับรัฐแม้แต่หุ้นเดียว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ตนได้มาจากการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลทั้งหมดเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง และที่มายื่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการดิสเครคิตฝ่ายที่ตรวจสอบแกนนำพรรคพลังประชาชาน เพราะคำว่า ดิสเครดิตนั้นแปลว่าเรื่องนั้นต้องไม่จริง แต่กรณีนี้เป็นความปรารถนา ที่อยากให้ทุกคนปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในเมื่อทุกคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีงาม ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญระบุว่าการถือหุ้นเป็นความผิดต้องพ้นสมาชิกภาพ เขาทำผิดก็ต้องพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีเดียวกับที่มีการกล่าวหานายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่าเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ทั้งที่กรณีของนายชัย แตกต่างจากกรณีดังกล่าวมาก และนายชัยไม่มีความผิดด้วยซ้ำ
เมื่อถามต่อว่า ได้มีการตรวจสอบสมาชิกของพรรคพลังประชาชนหรือไม่ นายศุภชัย กล่าวว่า ของพรรคพลังประชาชน ตนยังไม่ตรวจสอบ ตรวจสอบแต่พรรคประชาธิปัตย์ ถ้าสื่ออยากจะไปตรวจสอบก็ให้ดำเนินการเอา ถ้าเห็นว่าผิดก็ยื่นต่อ กกต.ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อ ส.ส.ที่นายศุภชัย ระบุว่ามีความผิดนั้นทั้งหมดเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ถือหุ้นในบริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ถือหุ้นในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ถือหุ้นในบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายจุติ ไกรฤกษ์ ถือหุ้นในบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พีไอโพลีน จำกัดมหาชน บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) นายสกลธีร์ ภัททิยกุล ถือหุ้นในบริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
ส่วน ส.ว.ที่ถูกระบุถึงมีทั้งที่ได้รับการสรรหาและมาจากการเลือกตั้ง อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ถือหุ้นในบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นางทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา รองประธานวุฒิสภา ถือหุ้นในบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) นายสมชาย แสวงการ ถือหุ้นในบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้น บริษัท สยามรังนกทะเลใต้ จำกัด (มหาชน) พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ถือหุ้นในบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
วันนี้ (14 ก.ค.) นายศุภชัย ใจสมุทร รองโฆษกพรรคพลังประชาชน ได้เข้ายื่นหนังสือถึงประธาน กกต. ผ่านสำนักเลขาคณะกรรมการการเลือกตั้ง ขอให้ตรวจสอบการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ความเป็น ส.ส.และ ส.ว. โดยแยกเป็น ส.ส.28 ราย และ ส.ว.33 ราย
นายศุภชัย กล่าวว่า เนื่องจากบุคคลทั้งหมดกระทำการขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 โดยถือครองหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม และมาตรา 265 ที่ระบุห้าม ส.ส.และ ส.ว. เข้ารับสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเข้าไปเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งจะมีผลทำให้สมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ต้องสิ้นสุดลงตามมาตรา 106 และสมาชิกภาพความเป็น ส.ว.ตามมาตรา 119 ของรัฐธรรมนูญ
ทั้งนี้ นายศุภชัย ยังกล่าวอีกว่า กฎหมายทั้ง 2 มาตรา มีเจตนาที่จะให้ ส.ส.และ ส.ว.ไม่ไปถือหุ้น ในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทใดๆ ที่เป็นคู่สัญญากับรัฐแม้แต่หุ้นเดียว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ตนได้มาจากการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของบุคคลทั้งหมดเมื่อครั้งเข้ารับตำแหน่ง และที่มายื่นก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการดิสเครคิตฝ่ายที่ตรวจสอบแกนนำพรรคพลังประชาชาน เพราะคำว่า ดิสเครดิตนั้นแปลว่าเรื่องนั้นต้องไม่จริง แต่กรณีนี้เป็นความปรารถนา ที่อยากให้ทุกคนปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ในเมื่อทุกคนเห็นว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ดีงาม ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญระบุว่าการถือหุ้นเป็นความผิดต้องพ้นสมาชิกภาพ เขาทำผิดก็ต้องพ้นไป ซึ่งกรณีนี้เป็นกรณีเดียวกับที่มีการกล่าวหานายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร ว่าเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ทั้งที่กรณีของนายชัย แตกต่างจากกรณีดังกล่าวมาก และนายชัยไม่มีความผิดด้วยซ้ำ
เมื่อถามต่อว่า ได้มีการตรวจสอบสมาชิกของพรรคพลังประชาชนหรือไม่ นายศุภชัย กล่าวว่า ของพรรคพลังประชาชน ตนยังไม่ตรวจสอบ ตรวจสอบแต่พรรคประชาธิปัตย์ ถ้าสื่ออยากจะไปตรวจสอบก็ให้ดำเนินการเอา ถ้าเห็นว่าผิดก็ยื่นต่อ กกต.ได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รายชื่อ ส.ส.ที่นายศุภชัย ระบุว่ามีความผิดนั้นทั้งหมดเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เช่น นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรค ถือหุ้นในบริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ถือหุ้นในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี ถือหุ้นในบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นายจุติ ไกรฤกษ์ ถือหุ้นในบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท พีไอโพลีน จำกัดมหาชน บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด(มหาชน) นายสกลธีร์ ภัททิยกุล ถือหุ้นในบริษัท อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน)
ส่วน ส.ว.ที่ถูกระบุถึงมีทั้งที่ได้รับการสรรหาและมาจากการเลือกตั้ง อาทิ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา ถือหุ้นในบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) นางทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา รองประธานวุฒิสภา ถือหุ้นในบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) นายสมชาย แสวงการ ถือหุ้นในบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี ถือหุ้น บริษัท สยามรังนกทะเลใต้ จำกัด (มหาชน) พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ส.ว.อ่างทอง ถือหุ้นบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ธนายง จำกัด (มหาชน) บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัท บ้านปู จำกัด(มหาชน) บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ ถือหุ้นในบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)