“สุรพงษ์ ชัยนาม” อดีตทูตระบุปัญหาใหญ่คือผู้คนยังติดกับกรอบของคำว่าประชาธิปไตยว่ามาจาก “เลือกตั้ง” โดยไม่ดูเนื้อหา ปล่อยรัฐบาลเลือกตั้งทำอะไรก็ได้ แนะต้องทำตัวเป็น “เสรีชน” ไม่ใช่ “ฝูงชน” รู้จักคิด หาคำตอบ ตัดสินใจด้วยตัวเอง และเลือกข้าง ย้ำความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ การเมืองที่ปราศจากขั้วคือเผด็จการ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายสุรพงษ์ ชัยนาม สัมมนาเรื่อง "ทางออกประเทศไทย วิกฤติหรือโอกาส"
คลิก! ชม อภิปราย“ทางออกประเทศไทย วิกฤตหรือโอกาส” (1)(56K) |(256K)
คลิก! ชม อภิปราย“ทางออกประเทศไทย วิกฤตหรือโอกาส”(2)(56K) |(256K)
วันนี้ (25 เม.ย.) เวลา 18.30 ระหว่างการอภิปราย “ทางออกประเทศไทย วิกฤตหรือโอกาส” ส่วนหนึ่งของการสัมมนาประชาชน-ติดอาวุธทางปัญญา “ยามเฝ้าแผ่นดิน ภาคพิเศษ” ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยนายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศ หนึ่งในผู้ร่วมเสวนา กล่าวว่า รัฐบาลเป็นเช่นใดให้ดูที่ประชาชน ความคิดเป็นสิ่งกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ ที่สุดแล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับประชาชน
นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ปัญหาใหญ่ที่สุดในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา อยู่ที่พี่น้องเรายังมีจำนวนมากที่ติดอยู่กับกรอบความคิดประชาธิปไตยในรูปแบบไม่ได้ดูเนื้อหา ส่วนใหญ่ยังฝังใจว่าประชาธิปไตยจะต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น
“รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งจะโกงอย่างไรก็ได้ เพราะมาจากการเลือกตั้ง การฆ่าตัดตอนจะทำอย่างไรก็ได้ เพราะมาจากการเลือกตั้ง การแก้รัฐธรรมนูญจะทำอย่างไรก็ได้ ไม่ต้องอาศัยถามประชาชนเสียงข้างมาก ก็ทำได้ เพราะเป็นเผด็จการแบบประชาธิปไตย” นายสุรพงษ์แจกแจง และชี้ว่า ถ้าเรายังจมปลักอยู่ในความคิดแบบนี้ก็จะเป็นปัญหาไปเรื่อย และกลายเป็นวิกฤตไปเรื่อย
ทั้งนี้ อดีตเอกอัครราชทูตชี้ว่า หากเราต้องการร่วมกันพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้ จะต้องคิดแบบเสรีชนไม่ใช่ฝูงชน การคิดแบบเสรีชนนั้นง่าย คือสามารถคิดหาคำตอบ ตัดสินใจด้วยตนเอง หาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง ไม่ต้องตกเป็นเหยื่อข้อมูลข่าวสารที่เท็จ
“ถ้าเราเป็นเสรีชนจะสามารถแยกความจริงความชั่วได้ การเป็นเสรีชนช่วยให้เราเห็นสัจธรรมว่า ประชาธิปไตยมีความขัดแย้งทางความคิด และแก้ไขด้วยสันติวิธี สังคมใดไม่มีประชาธิปไตยถือเป็นเผด็จการ แต่การเมืองในระบอบประชาธิปไตยต้องเป็นขั้ว อย่าไปกลัวถ้ามีคนบอกว่า บ้านเมืองจะรุนแรง สังคมแตกแยกเพราะเป็นขั้ว การเมืองที่ปราศจากขั้วคือเผด็จการ”
นอกจากนี้ การเป็นเสรีชนยังหมายถึงสิทธิในการเลือก จะเป็นซ้ายหรือขวาก็ได้ แต่เราไม่สามารถเป็นซ้ายหรือขวาในเวลาเดียวกัน ซึ่งการเป็นเสรีชนทำให้เราตระหนักว่า ทั้งซ้ายและขวาที่สุดโต่งต่างก็เหมื อนกันตรงที่ล้วนทำลายประชาธิปไตย
“ทุกวันนี้พูดว่าบ้านเมืองต้องการความสมานฉันท์ เราใฝ่หาความสมานฉันท์ แต่เราต้องยอมรับว่าที่เรียกร้องความสมานฉันท์นั้นก็ต่อเมื่อบ้านเมืองเกิดความขัดแย้ง และมันไม่มีทางเกิดขึ้นได้ด้วยการทำตนเป็นทั้งซ้ายและขวา ซึ่งเราต้องช่วยกันขจัดความขัดแย้งที่มีอยู่ ผิดก็บอกว่าผิด ถูกก็บอกว่าถูก อย่าบอกว่าอะไรก็ได้”
“อย่างพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตอย่างพวกท่านถือว่าเป็น “เสรีชน” เพราะตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของการทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านนอกสภา และมีสิทธิคัดค้านต่อต้านอย่างสันติวิธี เมื่อรัฐบาลที่เป็นเผด็จการแก้รัฐธรรมนูญโดยไม่ฟังเสียงประชาชน”
อย่างไรก็ดี นายสุรพงษ์เน้นคำว่า “เสรีชน” เพราะเป็นส่วนหนึ่งของสาธารณชนไม่ใช่ฝูงชน ซึ่งบ้านเมืองจะมีประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าจะพาสังคมไปได้ ประชาชนต้องเป็น “เสรีชน” ไม่ใช่ “ฝูงชน” อีกทั้งต้องเลือกข้างประชาธิปไตย