“สุริยะใส” เตือนสติ “มัชฌิมาฯ-ชาติไทย” ยอมรับมติ กกต. แนะให้รอฟังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญก่อนตีโพยตีพาย อย่าหลงเล่ห์ “พลังแม้ว” ที่หวังฉวยโอกาสนี้บิดเบือนเรื่องเพื่อเร่งแก้รธน.ตัดตอนคดีตัวเอง ขณะเดียวกันไม่เห็นด้วยที่จะขุด รธน.ปี40 มารื้อใช้แทน ทั้งที่ไม่ผ่าน ส.ส.ร.และการทำประชามติ จวกเป็นการกระทำที่น่าละอายยิ่งว่าเผด็จการและยุค คมช.เสียอีก
วันนี้ (13 เม.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณายุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยว่า ถือเป็นความตรงไปตรงมาที่ยืนอยู่บนหลักกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ มาตรา 103 วรรค 2 และรัฐธรรมนูญ ม.237 ซึ่งในแง่กฎหมายนั้น กกต.ปฏิเสธไม่ได้ต้องส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจวินิจฉัยยุบหรือไม่ยุบเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ กกต.เป็นเพียงเจ้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น ฉะนั้นความเห็นของนายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการกกต.เสียงเดียวที่ลงมติค้านอาจจะเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ วุฒิสภามีสิทธิถอดถอนได้เช่นกัน
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า กระบวนการวินิจฉัยในเรื่องนี้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทั้ง 2 ได้ต่อสู้เต็มที่เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องชั่งน้ำหนักจากพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย ซึ่งอาจจะต่างกับขั้นตอนไต่สวนของ กกต. เพราะในกฎหมายมีสภาพบังคับให้ กกต.ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ฉะนั้นเป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่ทั้ง 2 พรรคการเมืองได้เตรียมแนวทางการต่อสู้มากกว่าจะไปตกอยู่ในกับดักและเกมลวงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ที่พรรคพลังประชาชนพกพาวาระซ่อนเร้นมาหลายมาตรา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก็ได้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า พรรคพลังประชาชนไม่ควรฉวยโอกาสเอามติ กกต.ไปบิดเบือนว่าเป็นธงที่ต้องการยุบพรรคพลังประชาชน และอีก 2 พรรคเพราะสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ยุบทั้ง 3 พรรคหรืออาจยุบเพียงพรรคใดพรรคหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยานและข้อเท็จจริงในชั้นศาล ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันในแต่ละพรรค
“เป็นเรื่องแปลกมากที่ผ่านมาเราไม่เห็นพรรคพลังประชาชนใส่ใจทุ่มเทตั้งทีมทนายเพื่อเตรียมหาแนวทางต่อสู้ในชั้นศาลเลย แต่กลับใช้เล่ห์เพทุบายสารพัดเพื่อแก้รัฐธรรมนูญหวังตัดตอนกระบวนการไต่สวนเรื่องยุบพรรคอย่างเดียว ถ้าเปรียบเป็นผู้ต้องหาก็เหมือนตกอยู่ในสภาพจำนนต่อหลักฐานหรือถูกจับได้คาหนังคาเขา” นายสุริยะใส ระบุ
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า เจตนาและพฤติกรรมที่จะหาเหตุแก้รัฐธรรมนูญจึงชัดแจ้งในตัวอยู่แล้วว่าเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ซึ่งต้องถูกดำเนินการถอดถอน ตามมาตรา 270 ทันทีที่สภาฯ บรรจุญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเข่าสู่ที่ประชุมพฤติกรรมความผิดก็ถือว่าเกิดขึ้นแล้ว พันธมิตรฯ ก็จะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 รณรงค์ล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อถอดถอนทันที
“วิธีการเดียวที่จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความผิดและปราศจากการมีส่วนได้เสียคือการเริ่มแก้ไข มาตรา 291 เพื่อให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดำเนินการโดยสังคมเป็นเจ้าภาพ หรือให้มี ส.ส.ร.ภาค 3 เท่านั้น จะอ้างว่าประชาชนเลือก ส0ส.มาแล้วไม่จำเป็นต้องสอบถามประชาชนคงไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาจากการลงประชามติและการตัดสินใจโดยตรงของประชาชน” นายสุริยะใส กล่าว
ส่วนข้อเสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาปรับแต่งและประกาศใช้แทนฉบับ 2550 นั้น นายสุริยะใส ระบุว่า เป็นวิธีการที่น่าละอายกว่าเผด็จการ เพราะในช่วงรัฐบาล คมช.ยังเปิดโอกาสให้มี ส.ส.ร.และการลงประชามติ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
“ก็เป็นเรื่องแปลกที่ นายสมัคร สุนทรเวช(นายกรัฐมนตรี) จะเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เพราะในช่วงนั้นนายสมัคร เป็นคนเดียวที่คัดค้านรัฐธรรมนูญ 2540 และกล่าวหาว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้ มาตรา 309 สะท้อนความไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด” นายสุริยะใส กล่าวทิ้งท้าย
วันนี้ (13 เม.ย.) นายสุริยะใส กตะศิลา เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลงมติส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดเพื่อพิจารณายุบพรรคชาติไทยและพรรคมัชฌิมาธิปไตยว่า ถือเป็นความตรงไปตรงมาที่ยืนอยู่บนหลักกฎหมายทั้ง พ.ร.บ.เลือกตั้งฯ มาตรา 103 วรรค 2 และรัฐธรรมนูญ ม.237 ซึ่งในแง่กฎหมายนั้น กกต.ปฏิเสธไม่ได้ต้องส่งเรื่องเข้าสู่กระบวนวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อำนาจวินิจฉัยยุบหรือไม่ยุบเป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนี้ กกต.เป็นเพียงเจ้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น ฉะนั้นความเห็นของนายสมชัย จึงประเสริฐ กรรมการกกต.เสียงเดียวที่ลงมติค้านอาจจะเข้าข่ายปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ วุฒิสภามีสิทธิถอดถอนได้เช่นกัน
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า กระบวนการวินิจฉัยในเรื่องนี้เปิดโอกาสให้พรรคการเมืองทั้ง 2 ได้ต่อสู้เต็มที่เพราะศาลรัฐธรรมนูญจะต้องชั่งน้ำหนักจากพยานหลักฐานก่อนวินิจฉัย ซึ่งอาจจะต่างกับขั้นตอนไต่สวนของ กกต. เพราะในกฎหมายมีสภาพบังคับให้ กกต.ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเท่านั้น ฉะนั้นเป็นเรื่องถูกต้องแล้วที่ทั้ง 2 พรรคการเมืองได้เตรียมแนวทางการต่อสู้มากกว่าจะไปตกอยู่ในกับดักและเกมลวงเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ที่พรรคพลังประชาชนพกพาวาระซ่อนเร้นมาหลายมาตรา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญอาจวินิจฉัยไม่ยุบพรรคก็ได้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า พรรคพลังประชาชนไม่ควรฉวยโอกาสเอามติ กกต.ไปบิดเบือนว่าเป็นธงที่ต้องการยุบพรรคพลังประชาชน และอีก 2 พรรคเพราะสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญอาจไม่ยุบทั้ง 3 พรรคหรืออาจยุบเพียงพรรคใดพรรคหนึ่งก็ได้ ขึ้นอยู่กับพยานและข้อเท็จจริงในชั้นศาล ซึ่งมีรายละเอียดต่างกันในแต่ละพรรค
“เป็นเรื่องแปลกมากที่ผ่านมาเราไม่เห็นพรรคพลังประชาชนใส่ใจทุ่มเทตั้งทีมทนายเพื่อเตรียมหาแนวทางต่อสู้ในชั้นศาลเลย แต่กลับใช้เล่ห์เพทุบายสารพัดเพื่อแก้รัฐธรรมนูญหวังตัดตอนกระบวนการไต่สวนเรื่องยุบพรรคอย่างเดียว ถ้าเปรียบเป็นผู้ต้องหาก็เหมือนตกอยู่ในสภาพจำนนต่อหลักฐานหรือถูกจับได้คาหนังคาเขา” นายสุริยะใส ระบุ
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า เจตนาและพฤติกรรมที่จะหาเหตุแก้รัฐธรรมนูญจึงชัดแจ้งในตัวอยู่แล้วว่าเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์หรือมีส่วนได้เสียตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 122 ซึ่งต้องถูกดำเนินการถอดถอน ตามมาตรา 270 ทันทีที่สภาฯ บรรจุญัตติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญเข่าสู่ที่ประชุมพฤติกรรมความผิดก็ถือว่าเกิดขึ้นแล้ว พันธมิตรฯ ก็จะใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 164 รณรงค์ล่ารายชื่อประชาชน 2 หมื่นรายชื่อถอดถอนทันที
“วิธีการเดียวที่จะทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความผิดและปราศจากการมีส่วนได้เสียคือการเริ่มแก้ไข มาตรา 291 เพื่อให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญดำเนินการโดยสังคมเป็นเจ้าภาพ หรือให้มี ส.ส.ร.ภาค 3 เท่านั้น จะอ้างว่าประชาชนเลือก ส0ส.มาแล้วไม่จำเป็นต้องสอบถามประชาชนคงไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 มาจากการลงประชามติและการตัดสินใจโดยตรงของประชาชน” นายสุริยะใส กล่าว
ส่วนข้อเสนอให้นำรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 มาปรับแต่งและประกาศใช้แทนฉบับ 2550 นั้น นายสุริยะใส ระบุว่า เป็นวิธีการที่น่าละอายกว่าเผด็จการ เพราะในช่วงรัฐบาล คมช.ยังเปิดโอกาสให้มี ส.ส.ร.และการลงประชามติ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง
“ก็เป็นเรื่องแปลกที่ นายสมัคร สุนทรเวช(นายกรัฐมนตรี) จะเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ ปี 2540 เพราะในช่วงนั้นนายสมัคร เป็นคนเดียวที่คัดค้านรัฐธรรมนูญ 2540 และกล่าวหาว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ก่อนหน้านี้ก็ไม่เห็นด้วยกับการแก้ มาตรา 309 สะท้อนความไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด” นายสุริยะใส กล่าวทิ้งท้าย