สตง.ไม่สนกฤษฎีกาตีความคดีฝังกลบขยะ อุ้ม “หมัก” ลั่นยืนตาม คำวินิจฉัยเดิม เพราะยื่น ป.ป.ช.สอบไปแล้ว เหน็บกฤษฎีกาตีความต่างจากเดิม ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนตามยุค
วันนี้ (4เม.ย.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) วินิจฉัยการจ้างเอกชนขนมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบของ กทม.จำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 9,589 ล้านบาท ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2523 ซึ่งขัดกับข้อกล่าวหา ของ สตง. ที่เคยกล่าวหานายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี อดีตผู้ว่า กทม.และพวก มีเจตนาหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานตามกฎหมายดังกล่าวว่า สตง. ยังคงยืนยัน ผลการชี้มูล โดยการพิจารณาได้ยึดถือตามแนวทางการวินิจฉัยของคณะกรมการกฤษฎีกาเดิม ที่ได้วินิจฉัยไปก่อนหน้านี้
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการนี้ไม่ใช่การจ้างขนขยะตามลำพัง แต่การดำเนินการจะต้องให้เครื่องมือและสถานที่ของทางราชการ ซึ่งเท่ากับว่าราชการเป็นผู้จ้าง เอกชนฝังกลบขยะ แต่ปรากฏว่า ค่าฝังกลบกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีการคิดค่าชดเชยการใช้ทรัพย์สินของราชการ
“สตง.ไม่สนใจ ว่าใครจะขอให้กฤษฎีกาตีความใหม่อย่างไร และการตีความจะมีข้อเท็จจริงครบถ้วนหรือไม่ เพราะนอกจาก ข้อหาเรื่องการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยให้เอกชนเข้าร่วมงานแล้ว ยังมีข้อหาเรื่องการเอื้อหรือกีดกันซึ่งผิด พ.ร.บ.ฮั้วอยู่ด้วย และเรื่องกำลังอยู่ที่ ป.ป.ช. ซึ่งใครจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ ก็ต้องดูผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช.และ สตง.ได้เข้าให้ข้อมูลข้อเท็จจริง ต่อ ป.ป.ช.ไปแล้ว ในส่วนของ กทม.มีข้อเท็จจริงอย่างไร ให้ไปเสนอที่ ป.ป.ช.และไม่เข้าใจว่าทำไม กฤษฎีกาจึงตีความต่างจากเดิม ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนตามยุค”นายพิศิษฐ์ กล่าว
วันนี้ (4เม.ย.) นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส รองผู้ว่าการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) วินิจฉัยการจ้างเอกชนขนมูลฝอยโดยวิธีฝังกลบของ กทม.จำนวน 3 โครงการ มูลค่ารวม 9,589 ล้านบาท ไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2523 ซึ่งขัดกับข้อกล่าวหา ของ สตง. ที่เคยกล่าวหานายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี อดีตผู้ว่า กทม.และพวก มีเจตนาหลีกเลี่ยงการปฏิบัติงานตามกฎหมายดังกล่าวว่า สตง. ยังคงยืนยัน ผลการชี้มูล โดยการพิจารณาได้ยึดถือตามแนวทางการวินิจฉัยของคณะกรมการกฤษฎีกาเดิม ที่ได้วินิจฉัยไปก่อนหน้านี้
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า โครงการนี้ไม่ใช่การจ้างขนขยะตามลำพัง แต่การดำเนินการจะต้องให้เครื่องมือและสถานที่ของทางราชการ ซึ่งเท่ากับว่าราชการเป็นผู้จ้าง เอกชนฝังกลบขยะ แต่ปรากฏว่า ค่าฝังกลบกลับเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่มีการคิดค่าชดเชยการใช้ทรัพย์สินของราชการ
“สตง.ไม่สนใจ ว่าใครจะขอให้กฤษฎีกาตีความใหม่อย่างไร และการตีความจะมีข้อเท็จจริงครบถ้วนหรือไม่ เพราะนอกจาก ข้อหาเรื่องการไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยให้เอกชนเข้าร่วมงานแล้ว ยังมีข้อหาเรื่องการเอื้อหรือกีดกันซึ่งผิด พ.ร.บ.ฮั้วอยู่ด้วย และเรื่องกำลังอยู่ที่ ป.ป.ช. ซึ่งใครจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ ก็ต้องดูผลการดำเนินงานของ ป.ป.ช.และ สตง.ได้เข้าให้ข้อมูลข้อเท็จจริง ต่อ ป.ป.ช.ไปแล้ว ในส่วนของ กทม.มีข้อเท็จจริงอย่างไร ให้ไปเสนอที่ ป.ป.ช.และไม่เข้าใจว่าทำไม กฤษฎีกาจึงตีความต่างจากเดิม ซึ่งอาจขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนตามยุค”นายพิศิษฐ์ กล่าว