xs
xsm
sm
md
lg

ปลาหมอคางดำ ไม่เกี่ยวปลานิลจิตรลดา นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงามเอือมมีคนบิดเบือน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงามระบุ การระบาดของปลาหมอคางดำไม่เกี่ยวกับปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม เพราะพัฒนามาจากสายพันธุ์ปลานิลเพื่อการบริโภค ทดลองที่ฟิลิปปินส์ ไม่ใช่ปลาหมอคางดำซึ่งเป็นชนิดแท้ นำเข้ามาแล้วหลุดรอดเกิดปัญหาการรุกราน

วันนี้ (14 ก.ค.) นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Nitipat Bhandhumachinda ว่า "เมื่อเช้าอ่านเจอโพสต์หนึ่งที่กล่าวในทำนองว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่นำเข้ามาเพื่อพัฒนาปลานิลจิตรลดา โดยมีการระบุด้วยว่าเป็นปลานิลจิตรลดารุ่นที่สาม เนื่องจากในรายงานนั้น ปลานิลจิตรลดารุ่นที่สามมีการพัฒนาจากสายพันธุ์หลายชนิดรวมทั้งปลานิลจากประเทศกานา

ก็เลยอยากจะเรียนให้ทราบว่า ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดารุ่นที่สามนั้น เป็นผลผลิตของการนำปลาที่ได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลเพื่อการบริโภค ซึ่งเป็นผลงานการวิจัยที่ทำการทดลองกันที่หน่วยงานวิจัย ICLARM ในประเทศฟิลิปปินส์ โดยการผสมชนิดปลานิลหลายๆ สายพันธุ์ (รวมทั้งสายพันธุ์จิตรลดารุ่นก่อนๆ) จนได้ลูกที่เรียกกันว่า GIFT (Genetic Improvement of Farmed Tilapia) รุ่นที่ 5

และได้นำลูกปลาสายพันธุ์ผสมในรูปแบบสายพันธุ์ที่พัฒนามาแล้วรุ่นนี้จากหน่วยงานการวิจัยดังกล่าวเข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2538 และก็มีการวิจัยพัฒนาต่อเนื่องจนสามารถนำออกมาจำหน่ายจ่ายแจกให้เกษตรกรในชื่อรุ่น ‘นิลจิตรลดารุ่นที่ 3’ ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากการนำปลาชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งเป็นชนิดแท้ (ในกรณีนี้คือปลาหมอคางดำ) เข้ามาในประเทศแล้วหลุดรอดออกไปจนเกิดปัญหาการรุกรานดังที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้นะครับ

จึงขอเรียนนำเสนอข้อเท็จจริงให้ทราบ เผื่อใครจะคิดว่าต้นเหตุปัญหาเกิดจากโครงการปลานิลจิตรลดาครับ"

ด้านชาวเน็ตรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า "นำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อปรับปรุงพันธุ์ปลานิล" ฟังดูมันต้องเอ๊ะหรือเปล่า ปลานิลกับปลาหมอ ชื่อมันไม่คล้ายกัน มันคนละสายพันธุ์กันไหมนะ ปลานิล ชื่อวิทยาศาสตร์ Oreochromis niloticus (Linn.) แต่ปลาหมอสีคางดำ ชื่อวิทยาศาสตร์ Sorotheodon Melanotheron คนละ genus กัน ผสมข้ามกันไม่ได้นะครับ

ถ้า genus เดียวกัน แต่ต่าง species ผสมกันได้ลูก แต่ลูกเป็นหมัน ถ้า species เดียวกัน แต่ต่าง subspecies ผสมกันได้ ได้ลูกผสมครับ การปรับปรุงพันธุ์จะใช้วิธีนี้ ความรู้ชีววิทยา ม.ปลาย (ซึ่งเดี๋ยวนี้เห็นบาง ร.ร.สอนเรื่องนี้ในระดับประถม!!!) ใครเชื่อเรื่องนี้ เรียกควายยังสงสารควายเลยครับ"
กำลังโหลดความคิดเห็น