xs
xsm
sm
md
lg

อย่าดูถูก "วิทยุทรานซิสเตอร์" สิ่งสำคัญในการรับมือภัยพิบัติ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



หลากหลายเพจออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของ "วิทยุทรานซิสเตอร์" เป็นจำนวนมาก ทำชาวเน็ตและนักการเมืองหลายรายหงายเงิบ ชี้ดป็นอุปกรณ์สุดสำคัญต่อการรับมือภัยพิบัติ หลายประเทศที่เจริญแล้วยังแนะนำให้ทุกบ้านควรมีติดไว้

จากกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ประชุมการบริหารจัดการสถานการณ์อุทกภัยและให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ ร่วมกับผู้ว่าราชการทุกจังหวัด ซึ่งบางช่วงบางตอนนายกฯ ได้ระบุถึงการใช้บริการไฟฟ้า ประปา และโทรศัพท์ ต้องให้ใช้ได้นานที่สุด ถ้าระบบมันล่มไปทั้งหมด การสื่อสารแจ้งข้อมูลจะทำได้ลำบาก อาจจะต้องไปใช้ "วิทยุทรานซิสเตอร์" ในการออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนได้อีกทาง ซึ่งเคยใช้กันเมื่อปี 2554 เพราะตอนนั้นไฟฟ้าดับหมด ดังนั้นเราต้องเตรียมแผนตรงนี้ไว้ด้วยในกรณีที่อาจจะเกิดปัญหา

ต่อมาพบว่าเพจ “Drama-addict” ได้ออกมาโพสต์ข้อความเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยได้อ้างอิงคำบอกเล่าจากชาวบ้านในพื้นที่ จ.ชัยนาท ที่ออกมาบอกว่าการที่เอาแนวคิดใช้วิทยุทรานซิสเตอร์มาใช้ ทำให้รู้สึกว่าตกยุคและถอยหลังลงคลอง เพราะปัจจุบันมีสมาร์ทโฟนเข้ามาแทนที่ สามารถที่จะฟังวิทยุได้เหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตาม ล่าสุดวันนี้ (4 ต.ค.) เพจ "Drama-addict" ได้ออกมาโพสต์ข้อความอีกครั้ง โดยได้นำข้อมูลอีกด้านเกี่ยวกับการใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ในช่วงเกิดเหตุภัยพิบัติ ซึ่งย้ำว่าสิ่งที่นายกฯ ได้แนะนำนั้นถูกต้องแล้ว โดยได้ระบุข้อความว่า

"มิตรสหายท่านหนึ่งฝากมาอธิบายข่าววิทยุทรานซิสเตอร์ว่า ที่นายกฯ แนะนำเรื่องวิทยุทรานซิสเตอร์ จริงๆ แล้วถือเป็นคำแนะนำที่ถูกต้อง เพราะตามคำแนะนำสากล จะมีวิทยุใส่ถ่าน หรือมือหมุน อยู่ใน survival kit ถุงใส่อุปกรณ์เอาตัวรอดหากเกิดเหตุภัยพิบัติ

ซึ่งจะช่วยผู้ประสบภัยในการรับฟังข่าวสารคำเตือนจาก จนท.ได้ หรือรับฟังประกาศว่าจะให้ไปรวมตัวจุดไหน ให้อพยพไปจุดใด กรณีเกิดมหาภัยพิบัติ แบบไม่มีไฟฟ้าไม่มีห่าเหวอะไรเหลือเลยจริงๆ"

นอกจากนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก "Annie Handicraft" ได้ออกมาโพสต์ข้อความย้ำว่า "วิทยุทรานซิสเตอร์" คืออุปกรณ์ที่จำเป็นในยามที่เกิดเหตุภัยพิบัติฉุกเฉิน หลายประเทศก็แนะนำให้ทุกบ้านมี วิทยุทรานซิสเตอร์ ติดไว้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศนอร์เวย์ ประเทศญี่ปุ่น และประเทศ​ออสเตรเลีย อีกทั้งเมื่อปี 2554 รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์สื่อสารประสานงานในพื้นที่ภัยพิบัติน้ำท่วมต่างๆ โดยได้จัดรายการวิทยุ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ผ่านทางสถานีวิทยุกระจายเสียง เครือข่ายกรมประชาสัมพันธ์

การที่ลุงตู่ออกมาแนะนำถ้าน้ำท่วมทำไฟฟ้า-โทรศัพท์ล่ม ให้ใช้วิทยุทรานซิสเตอร์ ออกอากาศแจ้งเตือนประชาชนอีกทางนั้น แสดงถึงความเป็น #ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ที่สุด คิดถึงทุกคน ทุกอาชีพ คนแก่ชรา, ชาวไร่, ชาวนา, คนต่างจังหวัด ใช้วิทยุกันทั้งนั้น.... เรื่องบางเรื่อง ไม่รู้ไม่ผิด แต่ไม่รู้แล้วออกมาด่าแสดงความโง่เขลา เขาเรียกว่า โคตรโง่

นอกจากนี้ ยังมีเพจ "The Structure" ได้ออกมาให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยุทรานซิสเตอร์ ว่ามีความสำคัญอย่างไรต่อการรับมือภัยพิบัติ และทำไมจึงยังเป็นอุปกรณ์ที่ทั่วโลกยังใช้อยู่ทุกวันนี้ โดยมีใจความว่า

"การสื่อสารเพื่อการเตือนภัยแก่ประชาชนในช่วงภัยพิบัติเป็นหัวใจสำคัญในการรักษาชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เลวร้ายถึงขีดสุดที่ระบบไฟฟ้าในพื้นที่ประสบภัยล้มเหลวทั้งระบบ

“การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุ (Radio Wave)” จึงเป็นทางเลือกที่ทุกประเทศเลือกใช้ เนื่องจากเป็นวิธีการสื่อสารที่สามารถกระจายสัญญาณออกไปได้ไกลที่สุด โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางอย่างสายเคเบิล (Cable) หรือสายใยแก้วนำแสง (ไฟเบอร์ออฟติก; Fiber Optic)

และมีรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นตั้งแต่เครื่องรับวิทยุแบบพกพา หรือเครื่องรับวิทยุในรถยนต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถรับฟังรายการโปรดของตนเองได้ทั้งในระบบคลื่นวิทยุแบบ F.M. (Frequency Modulation) และ A.M. (Amplitude Modulation)

แม้ในเหตุการณ์ภัยพิบัตินิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิ พ.ศ. 2554 รัฐบาลญี่ปุ่นก็เลือกใช้ระบบคลื่นวิทยุในการสื่อสารกับประชาชนของเขาเช่นกัน

สำหรับ “เครื่องรับวิทยุ” (Radio Receiver) นั้น หลายคนยังติดปากคำ “วิทยุทรานซิสเตอร์” เนื่องจากเครื่องรับวิทยุในยุคเริ่มแรกนั้น ใช้ “ทรานซิสเตอร์” เป็นองค์ประกอบสำคัญในวงจรแปลงสัญญาณวิทยุให้เป็นเสียง

แต่ด้วยการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้ในปัจจุบัน ผู้ผลิตหันไปผลิตวิทยุที่ใช้ “วงจรรวม (Integrated Circuit; IC)” ที่มีราคาถูกกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่ากันหมดแล้ว แต่คนไทยหลายคนยังคงติดปากเรียกว่า วิทยุทรานซิสเตอร์ อยู่นั่นเอง

การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุ ถึงแม้ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารที่ดูเก่า แต่ก็ยังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่ สำหรับในประเทศไทย ผู้ขับขี่ยานพาหนะก็ยังคงใช้กันเป็นปกติ หรือในเขตชนบทชาวบ้านก็ยังใช้ทั้งเวลาอยู่บ้าน หรือออกไปทำงานตามพื้นที่ห่างไกล

และสำหรับในงานบรรเทาสาธารณภัย การสื่อสารผ่านระบบคลื่นวิทยุยังคงเป็นกระดูกสันหลังในการสื่อสารระหว่างทีมปฏิบัติงานอยู่เสมอ"
กำลังโหลดความคิดเห็น