xs
xsm
sm
md
lg

“หมอยง” อธิบายชัด การฉีดวัคซีนโควิดกับยาคุมกำเนิด

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา เผยว่า ทั่วโลกมีการฉีดวัคซีนโควิดไปแล้วกว่า 1.8 พันล้านโดส แต่ยังไม่มีการแนะนำให้หยุดยาคุมกำเนิดหลังมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือด ทั้งนี้ ต้องรอ ก.สาธารณสุขออกมาให้คำแนะนำ

จากกรณีมีความกังวลเกี่ยวกับหญิงสาวที่รับประทานยาคุมกำเนิดจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันสูงกว่าหญิงที่ไม่กินยาคุม เพราะมีฮอร์โมนบางอย่างที่ไปกระตุ้นการทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาวิจัยที่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนจะส่งผลมากน้อยเพียงใดต่อผู้หญิงที่กินยาคุม มีเพียงบางประเทศในแถบยุโรปที่ออกมาเตือนให้ผู้หญิงที่กินยาคุมงดการฉีดวัคซีนไปก่อนจนกว่ายาคุมจะหมดเวลาออกฤทธิ์ ซึ่งกินระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ทั้งนี้ หากท่านที่กินยาคุมอยู่แล้วรู้สึกไม่สบายใจก็ขอให้งดการฉีดวัคซีนไปก่อนได้ หรือถ้าหากอยากจะฉีดวัคซีนก็อาจใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นแทนไปก่อน

ล่าสุดวันนี้ (31 พ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์ โดยได้ระบุข้อความไว้ดังนี้

“โควิด-19 วัคซีน เรื่องของฮอร์โมนเพศหญิง ยาคุมกำเนิด สตรีตั้งครรภ์ ข้อมูลที่ให้จะตามหลักวิชาการ รายละเอียดต่างๆ คงต้องรอราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ และกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงให้คำแนะนำ

ในเพศหญิงที่มีฮอร์โมนเพศหญิง หรือในยาคุมกำเนิด และในสตรีตั้งครรภ์ จะมีฮอร์โมนเพศหญิงสูงอยู่แล้ว และเป็นที่ทราบดีว่าเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดดำใหญ่ได้ (deep vein thrombosis, DVT)

อุบัติการณ์ดังกล่าวในคนเอเชียเกิดได้น้อยกว่าฝรั่ง และชาวแอฟริกันอย่างมาก

เวลาเรานั่งเครื่องบินท่านั่งอยู่กับที่นานๆ จะมีการแนะนำให้ขยับเท้าเคลื่อนไหวร่างกาย ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือดแล้วเกิดลิ่มเลือด คนไทยเราไม่ค่อยเคยเห็น แต่ในฝรั่งเกิดได้บ่อยกว่า

การแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVTหรือมีการพูดถึงฮอร์โมนเพศหญิง ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับมีส่วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน ไม่เหมือนกันการเกิดลิ่มเลือดที่พบในวัคซีน virus vector เช่น AStraZeneca, Johnson &Johnson ซึ่งการแข็งตัวเกิดลิ่มเลือดนั้นจะมี “ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ” ด้วย ที่เรียกกันว่า VITT เป็นคนละโรคกัน และการรักษาก็ต่างกันกับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการแข็งตัวของเลือดที่เส้นเลือดดำใหญ่ DVT เพราะเหตุที่เกิดไม่เหมือนกัน

วัคซีน Sinovac เป็นเชื้อตาย คล้ายกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ พิษสุนัขบ้า ตับอักเสบเอ ที่เป็นเชื้อตายเช่นกัน รวมทั้งวัคซีนบาดทะยักก็เช่นเดียวกัน เป็นวัคซีนที่ใช้กันมานานมาก

การฉีดวัคซีนต่างๆ ก็ไม่มีวัคซีนตัวไหนที่แนะนำให้หยุดยาคุมกำเนิด รวมทั้งวัคซีน covid-19 ในปัจจุบันที่ฉีดไปแล้วทั่วโลกเกือบ 1,800 ล้าน dose ที่ผ่านมาก็ไม่ได้มีการแนะนำให้หยุดยาคุมกำเนิดก่อนฉีดวัคซีน ชีวิตทุกอย่างต้องดำเนินไปอย่างปกติมากที่สุด ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดคงต้องให้ทางราชวิทยาลัยสูติศาสตร์นรีเวชกรรม และกระทรวงสาธารณสุข ออกมาเป็นข้อแนะนำ จะดีที่สุด”




กำลังโหลดความคิดเห็น