ผศ.นฤบดี ผดุงสมบัติ จารย์สอนวิชาเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชเคมี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทนไม่ไหวออกมาโพสต์ข้อความพร้อมภาพจากสไลด์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจพบสารเสพติดโคเคนในร่างก่ายที่เกิดจากการใช้ยาหรือสารชนิดอื่น ระบุหากทำได้ให้หาหลักฐานมายืนยัน
จากกรณีอัยการสั่งไม่ฟ้องนายวรยุทธ หรือบอส อยู่วิทยา คดีขับรถชนนายตำรวจเสียชีวิต เมื่อปี 2555 จนถูกประชาชนวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างล้นหลาม โดยเฉพาะประเด็นความเร็วในการขับรถในวันที่เกิดเหตุ รวมไปถึงพบสารแปลกปลอมที่เกิดจากยาเสพติดในร่างกาย ล่าสุดพนักงานสอบสวนให้ข้อมูลว่าทันตแพทย์ยืนยันว่าได้ให้ยาที่มีส่วนผสมของโคเคนในการรักษาฟัน อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมว่าแพทย์ที่ทำการรักษา “บอส อยู่วิทยา” ได้ให้ข้อมูลว่าตนเองไม่เคย
เมื่อวันที่ 1 ส.ค. ผู้ใช้เฟซบุ๊ก “Narubodee Phadoongsombut” ผศ.นฤบดี ผดุงสมบัติ ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์สอนวิชาเภสัชศาสตร์ ภาควิชาเภสัชเคมี ได้ออกมาโพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยได้นำสไลด์มาประกอบการอธิบายในครั้งนี้ด้วย โดยผู้โพสต์ได้ระบุข้อความว่า
“เป็นเภสัชกรที่สอนหนังสือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ครับ มาเขียนเรื่องนี้เพราะหม่นหมองใจที่มีคนพยายามเปลี่ยนหลักวิชาการอย่างข้างๆ คูๆ แทนที่จะใช้หลักฐานวิชาการเชิงประจักษ์สิ่งที่อธิบายในสไลด์ 2-3 แผ่นต่อไปนี้ ไม่ใช่ของใหม่ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในรายงานของหน่วยงานที่ตรวจ ซึ่งได้ชี้แจงไว้แล้ว ผมเพียงแค่อธิบายขยายความคำว่า “”เมทะบอไลท์” เพิ่มเข้าไป
1. เบนโซอิลเอคโกนินเกิดขึ้นในร่างกายจากการได้รับโคเคนอย่างแน่นอน
2. โคคาเอธิลลีน ยิ่งสนับสนุนว่ามีโคเคนอยู่ข้างเคียงเอธานอลที่เซลตับซึ่งมีคาร์บอกซิลเอสเทอเรสอยู่อย่างชุกชุม
ถ้าคิดว่าสารทั้งสองชนิดซึ่งเป็น biomarker ของการใช้โคเคนนั้นเกิดจากยาอื่นหรือสารอื่นในร่างกายได้ ก็ต้องหาหลักฐานมายืนยัน ซึ่งจะทำให้ท่านได้รับความเชื่อถือ และอาจได้รับรางวัลโนเบลในที่สุดจบโพสต์นี้จะหยุดพักเรื่องนี้ก่อน! แต่ก็ไม่คิดว่าที่ผ่านมาเสียเวลาทำ เพราะอย่างน้อยก็เอาไว้ให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์อ่านได้ 555
เห็นแวบๆ จาก twitter ของหน่วยงานที่ตรวจสารนี้ บอกว่าใช้ GC-MS ในการตรวจ ซึ่งเป็นการรับประกันเลยว่าถ้าตรวจเจอทั้งสองสารก็คือ สองสารนั้นแน่ๆ มีโอกาสเป็นสารอื่นหรือผลบวกลวงได้ยากมาก ซึ่งสรุปคือ มีการใช้โคเคนก่อนหน้านี้เคยเขียนถึงการไม่ตรวจโคเคนจากเลือดหรือปัสสาวะโดยตรงว่า เนื่องจากโคเคนหายไปจากเลือดได้เร็วมาก ขับออกในปัสสาวะก็น้อย เขาจึงไปตรวจที่เบนโซอิลเอคโกนิน ซึ่งมีปริมาณในเลือดสูง พบอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง และขับออกทางปัสสาวะในปริมาณมากเช่นกัน”