xs
xsm
sm
md
lg

“ผอ.ไบโอไทย” โต้ “อ.เจษฎา” รู้ไม่จริงยังกล้าออกโรงหนุน CPTPP ย้ำเกษตรกรเสียประโยชน์ถูกผูกขาดเมล็ดพันธุ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



ผอ.ไบโอไทย ซัด อ.เจษฎา กล้ามาจากไหน รู้ไม่จริงแต่ออกโรงโจมตีกลุ่มค้าน CPTPP ย้ำ UPOV 1991 ห้ามนำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ยกเว้นให้เฉพาะธัญพืชเมล็ดเล็ก แต่ก็ยังยัดเงื่อนไขต้องปลูกในพื้นที่ตัวเอง และไม่ใช่เพื่อขาย ซึ่งทำไม่ได้ในทางปฏิบัติ

วันที่ 16 มิ.ย. 63 นายวิฑูรณ์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี (ไบโอไทย) ได้ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “BIOTHAI vs. นักวิทยาศาสตร์ ผลกระทบ vs ผลประโยชน์ ถ้าไทยเข้าร่วม CPTPP”

จากกรณีที่ รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตอบโต้กลุ่มคัดค้านการเข้าร่วม CPTPP ว่า NGO มักจะนำเอาข้อมูลมาเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆ พูดความจริงไม่ครบทุกด้าน และสร้างสีสันให้เลวร้ายจนเกินความเป็นจริง

นายวิฑูรณ์ กล่าวว่า กล้ามาจากไหน คนซึ่งไม่อ่านตัวบทของ UPOV 1991 ซึ่งมีไกด์ไลน์ว่าถ้าคุณเข้าร่วมเป็นภาคี คุณออกกฎหมาย ทำอะไรได้บ้าง ทำอะไรไม่ได้บ้าง แต่กลับไปอ้างอิงข้อมูลสั้นๆ จากสำนักคุ้มครองพันธุ์พืช และไม่ได้ออกมาแบบเป็นทางการจากกรมวิชาการเกษตรด้วย แล้วเอาสิ่งนั้นมากล่าวหาคนอื่นว่าสร้างความเข้าใจผิด กล้าแบบนี้ได้ไง ทั้งที่ตัวเองไม่ได้รู้ ไม่ได้เข้าใจเรื่องนี้อย่างแท้จริงเลย

ขออนุญาตไล่ทีละประเด็น อ.เจษฎา บอกว่า สมาชิกหลายประเทศไม่เห็นมีปัญหา ตนขอยกตัวอย่าง ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นมี 2 บริษัทเมล็ดพันธุ์ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ของโลก มีเกษตรกรรายย่อย 3.4 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งประเทศ แต่ประเทศไทยมีเกษตรกรรายย่อย 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ทันทีที่กระทรวงเกษตรญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมายให้เป็นไปตาม UPOV ที่ห้ามเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ปรากฏว่า รมว.เกษตรฯ ของญี่ปุ่น ออกมาประท้วงรัฐบาลตัวเอง เดินนำหน้าผู้ชุมนุม จนรัฐบาลต้องถอย เลื่อนการออกกฎหมายออกไป

ที่บอกว่า เกษตรกรไม่เดือดร้อน เพราะไม่ได้มองประชาชน ไม่ได้มองเกษตรกรรายย่อย เป็นตรรกะเดียวกับเวลาที่พูดถึงสารพิษ

กลุ่มคนที่สนับสนุน CPTPP เป็นกลุ่มเดียวกับที่สนับสนุนพาราควอต ไกลโฟเซต และพืช GMO เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ขายไกลโฟเซต พาราควอต เป็นยักษ์ใหญ่ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ และครอบครองตลาดเมล็ดพันธุ์รายใหญ่ของโลกด้วย แล้วเมล็ดพันธุ์ที่บริษัทเหล่านี้ผลักดันก็คือเมล็ดพันธุ์ GMO เมื่อไหร่ก็ตาม แบนไกลโฟเซตจะกระทบต่อการขายเมล็ดพันธุ์ GMO ให้ต้านทานไกลโฟเซต นี่คือ เหตุผลที่สถานทูตอเมริกา ส่งจดหมายว่าอย่าแบนไกลโฟเซต ทั้งที่ของที่ขายในไทยมาจากจีน-อินเดีย แต่เพราะอเมริกากลัวขายเมล็ดพันธุ์ GMO ไม่ได้ จึงไม่แปลกที่คนเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเดียวกัน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มันเชื่อมโยงกัน

นายวิฑูรณ์ กล่าวอีกว่า ทัศนคตินักวิทยาศาสตร์บางคนไปทิศทางแบบนั้น บางคนเขียนหนังสือ เพราะได้ทุนสนับสนุนการพิมพ์ และใช้ข้อมูลจากบริษัทที่พัฒนาพืช GMO บางคนที่เขียนเชียร์ ก็เพราะได้ไปดูงานโดยงบของบริษัทที่ผลิต พวกนี้จึงมองแค่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ส่วนกรณีที่ อ.เจษฎา บอกว่า เกษตรกรเสียประโยชน์ไม่จริง การร่วม CPTPP สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้

นายวิฑูรณ์ กล่าวว่า จะกล่าวหาว่าคนอื่นเข้าใจผิด ควรได้อ่านข้อตกลงก่อน ในมาตรา 15 ของ UPOV 1991 บอกว่า การเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ไม่สามารถทำได้ เว้นแต่ว่ารัฐจะอนุญาต ประเด็นที่ อ.เจษฎา เข้าใจผิด ว่ารัฐจะอนุญาต รวมถึงนักวิชาการบางคนก็ตีความด้านนี้ผิด

UPOV 1991 ระบุชัดเจน การเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ ที่จะเป็นข้อยกเว้นให้เกษตรกร มี 2 กรณี 1. ไม้ผล ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ หรือพืชอื่น ทำไมได้ เมื่อพูดถึง UPOV หมายถึงเมล็ดพันธุ์ที่เกษตรกรไปซื้อมาจากตลาด ตัดเรื่องพันธุ์เก่า พันธุ์ใหม่ไปก่อน ตรงนั้นมันมีกติกาอีกชุดนึง

2. ในกรณีธัญพืชเมล็ดเล็ก พวกข้าวต่างๆ อาจสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อได้ แต่มีเงื่อนไข คือ ต้องปลูกในพื้นที่ตัวเอง และต้องไม่ใช่เพื่อการขาย ขอถามว่ามีชาวนากี่คนในประเทศ ที่ซื้อข้าวมาปลูกแล้วเก็บไว้กินเองทั้งหมด สิ่งที่เป็นข้อยกเว้นมันทำไมได้ในทางปฏิบัติ อ.เจษฎา ไม่รู้เรื่องนี้เลย
คำต่อคำ : BIOTHAI vs นักวิทยาศาสตร์ ผลกระทบ vs ผลประโยชน์ ถ้าไทยเข้าร่วม CPTPP

เติมศักดิ์ - สวัสดีครับ ขอต้นรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2563 วันนี้เกาะติดเนื้อหาและความคืบหน้าจากโต๊ะประชุมกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP ของสภาผู้แทนราษฎรนะครับ วันนี้เราจะสนทนากับ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี หรือ ไบโอไทย และเป็นอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบด้านการเกษตรและพันธุ์พืชจากการเข้าร่วมข้อตกลง CPTPP คุณวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ นะครับ สวัสดีครับคุณวิฑูรย์ ครับ

วิฑูรย์ - สวัสดีครับ คุณเติมศักดิ์ ครับ

เติมศักดิ์ - คุณวิฑูรย์ เพิ่งออกจากโต๊ะประชุมมาวันนี้ ล่าสุดความคืบหน้าเป็นยังไงบ้างครับ

วิฑูรย์ - ครับ สัปดาห์นี้ก็เป็นการประชุมนัดแรกของทั้งกรรมาธิการวิสามัญฯ และอนุกรรมาธิการ ซึ่งมีทั้งหมด 3 ชุดนะครับ ก็มีชุดๆ หลักๆ ก็มีอนุกรรมาธิการฯ เรื่องเกษตรและพันธุ์พืช นะครับ อีกชุดหนึ่งเป็น อนุกรรมาธิการฯ ด้านยาและสาธารณสุข แล้วก็ชุดที่ 3 เป็น อนุกรรมาธิการฯ ด้านเศรษฐกิจ

เติมศักดิ์ - ทั้งกรรมาธิการชุดใหญ่ และ อนุกรรมาธิการฯ นี้จะประชุมคู่ขนานกันไปเลยใช่ไหมครับ ในแต่ละสัปดาห์

วิฑูรย์ - ใช่ครับ ใช่ครับ ส่วนใหญ่ก็จะนัดกัน สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นะครับ จะเป็นวันอังคารพุธ หรือจะเป็นวันอังคาร และอีกวันก็จะเป็น วันศุกร์ นะครับ แล้วแต่ว่าชุดไหนจะเลือกวันไหน แต่ว่าโดยรวมจะต้องมีการประชุมประมาณ ประมาณ 6 ครั้ง นะครับ 6 ครั้ง ใน 30 วัน จะต้องประชุมให้ได้ 6 ครั้ง เพื่อที่จะทำเป็นข้อสรุป เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ภายในวันที่ 15 กรกฎา

เติมศักดิ์ - อ๋อ ขีดเส้นวันที่ 15 กรกฎาคม กรรมาธิการวิสามัญฯ ที่มีคุณวีระกร คำประกอบ ที่มีจุดยืนจะไม่ตกรถเมล์

วิฑูรย์ - ใช่ครับ

เติมศักดิ์ - คนนี้นะ ต้องยื่นให้สภาฯ ใน 15 กรกฎา โอเค วันนี้ ที่อนุกรรมาธิการฯ ที่คุณวิฑูรย์ อยู่ด้วยก็คืออนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษาผลกระทบด้านการเกษตรและพันธุ์พืช วันนี้บรรยากาศ เป็นยังไงบ้างครับ พอจะเห็นสัญญาณอะไรไหมครับ จากการประชุมวันนี้

วิฑูรย์ - เห็นระดับหนึ่งนะครับ

เติมศักดิ์ - เห็นระดับหนึ่ง

วิฑูรย์ - ว่าที่จริงแล้ว ที่จริงรวมถึงบทบาทกรรมาธิการวิสามัญฯ ชุดใหญ่ด้วยนะครับ และที่จริงมีกรรมาธิการ ชุดอื่นอีกนะครับ เช่น กรรมาธิการการต่างประเทศ ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ศึกษาเรื่องนี้ ด้วยนะครับ แต่ว่าเป็น เป็นเรื่อง เขาเรียกประชุมสั้นๆ นะครับ แต่ว่าหลังจากที่มีการตั้งกรรมาธิการชุดนี้ขึ้นมา กรรมาธิการชุดอื่น ก็จะเสนอประเด็นมายังกรรมาธิการชุดนี้เป็นหลัก เพื่อหาข้อสรุปนะครับ บทบาทของกรรมการชุดอื่น ก็จะค่อยๆ ลดลง แต่โดยรวมผมเห็นภาพแล้วครับ ตอนนี้ว่า ทิศทางจะไปอย่างไร

เติมศักดิ์ - ทิศทางที่ว่า พอจะสรุปได้ไหมครับว่าที่เห็นทิศทางเนี่ย เห็นจากข้อสังเกตตรงไหน อย่างไร เห็นจากท่าทีตรงไหน ตัวบุคคลไหนครับ คุณวิฑูรย์ ครับ

วิฑูรย์ - ผมคิดว่าภาพชัดเจนอยู่แล้วนะคะ เอ่อ คำให้สัมภาษณ์ของท่านประธานกรรมาธิการวิสามัญฯ คุณวีระกร เนี่ยก็ชัดเจนครับ การบอกว่าเราต้องไม่ตกรถเมล์ ก็ทิศทางว่า เอ่อ ในทีมของซีก ที่เป็นแกนนำ ในทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลเอง ก็อยากจะให้มีข้อสรุปเร็วๆ เพื่อที่จะไปเสนอต่อที่ประชุมของภาคีของ CPTPP ในเดือนสิงหา นี้ เพื่อที่จะแสดงความจำนงว่า ประเทศไทยต้องการที่จะเข้าร่วม นะครับ แล้วก็จะต้นกระบวนการเจรจา นะครับ อันนี้คือท่าทีหลัก แต่เดิมผมเคยคิดว่า ท่าทีนี้น่าจะมาจาก ทีมเศรษฐกิจกลางนะครับ แต่ว่าหลังจากการประชุม 2-3 ครั้ง นะครับ จากข้อมูลที่ผมได้ประชุมเองด้วย ได้พบปะครับ กรรมาธิการหลายท่าน ผมก็ได้เห็นแล้วว่ามีทีมเศรษฐกิจของพรรคการเมืองที่ดูแล ด้านเศรษฐกิจก็มีทิศทางว่าต้องการผลักดันเรื่องนี้ด้วย

เติมศักดิ์ - อ๋อ เพื่อให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น เรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับกระทรวงพาณิชย์โดยตรง

วิฑูรย์ - ถูกต้องครับ

เติมศักดิ์ - เพราะฉะนั้นทีมเศรษฐกิจที่คุณวิฑูรย์ ว่า ทีมเศรษฐกิจของพรรคที่ดูแลกระทรวงพาณิชย์ด้วยใช่ไหมครับ

วิฑูรย์ - ถูกต้องครับ

เติมศักดิ์ - ประชาธิปัตย์

วิฑูรย์ - ถูกต้องครับ

เติมศักดิ์ - เวลาพูดถึงพรรคประชาธิปัตย์ วันก่อนที่ผมดูการอภิปรายที่จะแต่งตั้งกรรมาธิการชุดนี้ อย่างคุณเกียรติ สิทธีอมร ซึ่งท่านเคยเป็นผู้แทนการค้านะ ก็ได้พูดเรื่องนี้ ตกลงท่าที หรือจุดยืนของคุณเกียรติ สิทธีอมร แล้วก็ชัดเจนใช่ไหมครับ

วิฑูรย์ - ผมคิดว่าทั้งทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์เลยนะครับ ไปในมุมที่ว่า ต้องการที่จะเข้าร่วมการเจรจานะครับ ค่อนข้างชัดนะครับ ผมมีโอกาสถูกเชิญไปให้ข้อมูลในที่ประชุมของกรรมาธิการ โทษนะครับ ของทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์

เติมศักดิ์ - ทีมเศรษฐกิจ ประชาธิปัตย์ เลยนะครับ

วิฑูรย์ - ใช่ครับ แล้วก็เห็นได้ชัดว่า ท่าทีไปสู่ทิศทางนั้น ผมอาจจะต้องขอถอนคำพูดว่า แต่เดิมเนี่ยคิดว่าท่านรองนายกฯ สมคิดเนี่ย เป็นตัวหลัก แต่ผุ้เดียว แต่ว่าไม่ใช่และ ตอนนี้ท่าทีทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์เนี่ย มองไปสู่ทิศทางนั้นด้วยและผมคิดว่าอาจจะจำเป็นต้องให้ความเป็นธรรมเล็กน้อยนะครับว่า ในพรรคประชาธิปัตย์ เท่าที่เราทราบนะครับ หมายความว่า ความเห็นของสมาชิกพรรคที่ไม่ได้อยู่ ที่ไม่ได้เห็นพ้องต้องกันก็มี เช่นเดียวกัน ที่รู้สึกว่าการที่จะต้องเป็นคนเสนอให้เข้าร่วม CPTPP เนี่ย จะมีผลกระทบต่อ ต่อพรรคในภาพรวม โดยเฉพาะกลุ่มที่ดูแลคล้ายๆ เป็นจุดยืนทางการเมืองของพรรค เพราะว่าเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนเนี่ยรุนแรงมากๆ นะครับในกรณี นี้ครับ

เติมศักดิ์ - เท่าที่คุณวิฑูรย์ สัมผัสมุมมองของทีมเศรษฐกิจของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งถ้าจะเอ่ยชื่อก็ได้นะครับ จะเห็นภาพแล้วก็จะนึกชื่อ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ ลูกชายของ ดร. ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีต ผอ. WTO

วิฑูรย์ - แล้วก็มาเป็นเลขาธิการของอังค์ถัด ซึ่งดูแลเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนนะครับ

เติมศักดิ์ - จุดยืนของคุณปริญญ์ นั้นก็ดูเหมือนจะโน้มเองไปทาง สนับสนุนให้เข้าร่วม CPTPP ใช่ไหมครับ นี่พูดได้นะ

วิฑูรย์ - ผมเองไม่ได้ฟังจากปากคำของคุณปริญญ์ โดยตรงนะครับ แต่ถ้าผมคิดว่าอย่างกรณีคุณเกียรติ ก็ดีนะครับ หรือคุณพิสิฐ ลี้อาธรรม เนี่ย ทิศทางก็คือไปสู่เรื่องของการที่จะไปเข้าร่วมการเจรจาเอาไว้ก่อน แต่ว่าคุณปริญญ์ ผมทราบมาจาก อาจจะหลายกระแสนะครับว่า อาจะคล้ายๆ กันกับทีมเศรษฐกิจของพรรคครับ ซึ่งอันนี้เราก็อดตั้งคำถามไม่ได้นะครับ คือถ้าดูบทบาทของคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ เท่าที่ผ่านมานะครับ แม้ว่าจะเคยเป็นผู้อำนววยการ WTO แต่ว่า หลังจากที่ท่านมาดำรงตำแหน่งในอังค์ถัดก็ดี จุดยืนของท่านชัดเจนมากๆ ว่า ท่านไม่ต้องการ ก็คือท่านไม่สนับสนุนที่ทิศทางที่เห็นการเจรจาแบบ FTA นะครับ ซึ่งมันจะกดดันให้ประเทศเล็กๆ ต้องยอมรับกติกาซึ่งมันมากไปกว่ากติกาในองค์การค้าโลกนะครับ แต่ผมยังไม่เห็นจุดยืนของคุณปริญญ์ ชัดเจนนะครับ แต่ว่าแกก็ขอเบอร์ ขอไลน์นะครับ ก็คงจะต้องจับตาดูนะครับว่าจุดยืนแกจะเหมือนคุณพ่อ หรือไปทางคุณเกียรติ นะครับ

เติมศักดิ์ - อังค์ถัด นี่เน้นในการพัฒนาที่ยั่งยืนถูกไหมครับ ใช่คำนี้ได้ไหม

วิฑูรย์ - ใช่ครับ

เติมศักดิ์ - เหตุผลเท่าที่คุณวิฑูรย์ สัมผัสทีมเศรษฐกิจของประชาธิปัตย์เนี่ย เหตุผลที่เขาสนับสนุน มีท่าทีสนับสนุนให้เข้าร่วม CPTPP เนี่ย หลักๆ คืออะไร กลัวตกรถเมล์หรืออะไร ยังไง

วิฑูรย์ - ผมคิดว่าในเบื้องต้นเนี่ย เขาเห็นว่า เมื่อมีช่องทางที่จะขยายเรื่องการค้าและการลงทุนได้และก็ เพราะฉะนั้นเราก็ควร อย่างน้อยที่สุดควรจะเข้าไปเจรจานะครับ ผมอาจจะใช้คำประมาณนี้ก่อน ก็คือจริงๆ ในทางสาธารณะ หรือที่เราได้ยินเนี่ยนะครับ ทางทีมเศรษฐกิจก็ประกาศในเชิงที่ว่า ก็ลองเจรจาดูก่อน ถ้ามันกระทบ เราก็ถอนตัวก็ได้ ประมาณนั้นนะครับ

เติมศักดิ์ - ถ้าไม่เข้าไปเจราจา จะรู้ได้ไงว่า เราต่อรองอะไรได้บ้าง

วิฑูรย์ - ประมาณนั้นนะครับ

เติมศักดิ์ - แต่คุณวิฑูรย์ เห็นต่างเรื่องนี้

วิฑูรย์ - ใช่ครับ ก็ประเด็นมันชัดอยู่แล้วครับ เกิดความตกลง ที่มีการตกลงกันไว้แล้วเนี่ย เราไม่สามารถไปเจรจาอะไรได้ มีแต่ว่าเราจะต้องจ่ายค่าผ่านทาง สำหรับสมาชิก CPTPP บางประเทศนะครับที่จะเรียกร้องจากเราเพิ่มขึ้นเรื่อ UPOV ก็ดี ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษาพันธุ์ ไปปลูกต่อเนี่ยนะครับ ก็เป็นเรื่อง เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะไปเปลี่ยนแปลงอะไรได้

เติมศักดิ์ - บางฝ่ายเขาก็มองว่า ไอ้ค่าผ่านทางเนี่ย มันคุ้มค่าที่จะขึ้นรถคันนี้ ขึ้นรถ CPTPP มันก็คือก็ต้องแยกกัน บางฝ่ายเขาก็มองว่าการขึ้นรถ CPTPP มันคือประโยชน์ ส่วนเรื่องค่าผ่านทาง ค่าตั๋ว ต้องเข้า UPOV ก่อนนะ เมล็ดพันธุ์พืช เราจะได้ผลกระทบเรื่องเกษตร เรื่องยา จะได้รับผลกระทบ แต่บางฝ่ายเขาดูเขาเหมือนจะมองว่า มันคุ้ม ถึงเสียตรงนี้ก็จะคุ้มที่ขึ้น CPTPP

วิฑูรย์ - ค่าผ่านทางมัน ความหมายมันยังนี้ครับ ก็คือว่า UPOV ยังไงเราก็ต้องยอมรับ แต่ว่าค่าผ่านทางหมายถึงว่า ยกตัวอย่างเช่น แคนาดา เนี่ยนะครับ เห็นว่าไทย ต้องการจะเข้าร่วม ฉะนั้นแคนาดา จึงเรียกร้องต่อประเทศไทยขึ้นว่า ในกรณีอย่างเช่น ของเนื้อหมูนะครับ ประเทศไทย ยอม ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ ในการนำเข้าทั้งเนื้อหมู ทั้งโคเนื้อ โคนม เป็นต้นเนี่ยนะครับ เพราะฉะนั้นประเทศไทยเนี่ยต้องให้สิทธิ ในการเปิดตลาดเนี่ยเท่ากับออสเตรเลีย หรือมากกว่า อันนี้คือข้อเรียกร้อง คือมันจะมากไปกว่าตัวผลกระทบที่เราเห็นกันอยู่ตอนนี้ ในเรื่อง UPOV 1991 เป็นต้น แต่เขาจะเรียกร้องมากกว่านั้น อันนี้คือค่าผ่านทาง

เติมศักดิ์ - ค่าผ่านทางตรงนี้เราเจรจาไม่ได้เหรอให้ลดลง ให้ลด ให้เพิ่ม ให้แตกต่างจากที่เขาต้องการ

วิฑูรย์ - อันนี้เป็นเรื่องยากมากครับ

เติมศักดิ์ - ยากมาก

วิฑูรย์ - มีแต่จะเพิ่มขึ้นนะครับ ก็คือตัวบรรทัดฐานของความตกลงถือว่าเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น กรณีที่เราเจรจานั้นยากมาก ผมยกตัวอย่างเช่น กรณี UPOV 1991 นะครับ การเจรจาที่ทำได้มากที่สุดก็คือการขยายเวลาการเข้าเป็นภาคี อย่างเช่น แทนที่จะมีผลทันทีก็ขอว่า 3 ปี อย่างนี้เป็นต้น ไม่มีทางที่เราจะขอว่า เราเป็นประเทศที่ต้องการจะเข้าไปด้วยนะครับ ผมขอ 10 ปีนะครับ เป็นไปไม่ได้ เป็นไปไม่ได้เลย

เติมศักดิ์ - ถ้าเขายืดให้ 3 ปีเนี่ย เราปรับตัวทันไหม

วิฑูรย์ - ไม่มีทางครับ ไม่มีทาง คือเรื่องการ เขาเรียกอะไร การเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อของเกษตรกร การคัดเลือกสายพันธุ์นะครับ ในแปลงปลูกของเกษตรกรเนี่ย เขาเรียกเป็นวิถีปรับปรุงพันธุ์ ของเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านมามันสร้างความหลากหลาย สร้างพืชพันธุ์ดีต่างๆ มากมาย เพราะฉะนั้นการที่เราบอกว่า โอเค ขอถอยไป 3 ปี หรือ 4 ปี มีข้อบังคับใช้มันไม่มีทางที่จะลดผลกระทบตรงนี้ได้ ผลกระทบมันจะเกิดขึ้นแน่ๆ แต่ว่าเราอาจจะรอไปอีก 3 ปี ท้ายที่สุด มันก็จะมีผลโดยถาวร แล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่อันตรายมากนะครับ

เติมศักดิ์ - อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ วิทยาศาสตร์ จุฬาฯ โพสต์เรื่อง ความเข้าใจผิดๆ นี่ท่านตัดสินเลยนะ ความเข้าใจผิดๆ เกี่ยวกับ CPTPP โดยเฉพาะในประเด็นด้านการเกษตร ท่านบอกว่า นี่ผมขอ Quote เลยนะครับ ท่านใช้คำว่า NGO ที่คัดค้านเรื่องนี้ มักจะนำเอาข้อมูลมาย่อแนะนำไปเผยแพร่ให้เกิดความเข้าใจที่ผิดๆ ดังเช่น เรื่องที่บอกว่า การเข้าร่วม CPTPP จะทำให้เกษตรกรไทยต้องซื้อเมล็ดพันธุ์จากนายทุนรายใหญ่ ห้ามเก็บเมล็ดพืชไปปลูกใหม่ ทำให้ต้นทุนการผลิตพืชผักของเกษตรกรแพงขึ้น จนไม่สามารถทำมาหากินได้อีก แต่จริงๆ หยุดคิดดีๆ จะเห็นว่า สมาชิกหลายประเทศของ CPTPP ก็เป็นประเทศเกษตรกรรม (มีต่อ...)


กำลังโหลดความคิดเห็น