xs
xsm
sm
md
lg

ศบค.ย้ำตัวเลขผู้ป่วยโควิด-19 เบาใจได้ แต่วางใจไม่ได้ แนะ “ชีวิตวิถีใหม่” หลังสัมผัสผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



โฆษก ศบค. แจงตัวเลขผู้ป่วยใหม่หลักหน่วยติดต่อกันวันที่สอง มี 7 ราย แต่เสียชีวิตเพิ่มอีก 2 มาจากสัมผัสผู้ป่วยยืนยัน ชี้ตัวเลขเบาใจได้ แต่วางใจไม่ได้ แนะ “ชีวิตวิถีใหม่” รักษาระยะห่าง รอมาตรการจากมติ ครม.วันนี้

วันนี้ (28 เม.ย.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวสถานการณ์ประจำวัน ระบุว่า ผู้ป่วยรายใหม่ในวันนี้ 7 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 2,938 ราย ใน 68 จังหวัด หายป่วยแล้ว 43 ราย หายป่วยสะสม 2,652 ราย รักษาอยู่ 232 ราย เสียชีวิต 2 ราย สะสมรวม 54 ราย พบผู้ติดเชื้อมากที่สุดช่วงอายุ 20-29 ปี ผู้เสียชีวิตเป็นชายไทย อายุ 52 ปี อาชีพธุรกิจส่วนตัว สัมผัสผู้ป่วยยืนยันในช่วงการสัมมนา อีกราย หญิงไทย อายุ 63 ปี อาชีพค้าขาย เป็นเจ้าของร้านอาหาร ทำหน้าที่รับเงิน มีภาวะอ้วน สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน คือ สามี หลานสาว รักษาตัวที่ จ.ภูเก็ต โดยเน้นย้ำเรื่อง Social Distancing รักษาระยะห่าง เพราะทุกคนมีโอกาสติดเชื้อ

ผู้ป่วยใหม่มาจากกรุงเทพฯ 3 คน ภูเก็ต 3 คน และนครราชสีมา 1 คน มาจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้า 5 ราย ไปสถานที่ชุมชน/แออัด 1 ราย ส่วนที่กำลังสอบสวนโรค 1 ราย เป็นชาวจีน วันนี้มีจังหวัดใหม่ คือ อุตรดิตถ์ ไม่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 28 วันที่ผ่านมา ส่วนจังหวัดไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อนมี 9 ราย และเมื่อจำแนกผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุ ช่วงอายุ 60 ปี มี 328 ราย คิดเป็น 11% ของผู้ป่วยทั้งหมด เสียชีวิต 21 ราย พบในเพศชายมากที่สุด ช่วงอายุที่พบมากที่สุด 60-69 ปี เมื่อพิจารณาประวัติเสี่ยงพบพิธีทางศาสนามากที่สุด 79 ราย รองลงมาคือ เกี่ยวข้องกับมวยและผู้สัมผัส 78 ราย สัมผัสผู้ป่วยยืนยัน 58 ราย จังหวัดที่พบมากที่สุด คือ ยะลา ภูเก็ต และ ปัตตานี สองจังหวัดเชื่อมโยงประกอบพิธีทางศาสนาที่ต่างประเทศ ส่วนจำนวนผู้ป่วยยืนยันตามปัจจัยเสี่ยง ยังคงเกิดจากสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้านี้ แต่เริ่มพบมากขึ้นในการทำ Active Case Findng การค้นหาเชิงรุก และไปสถานที่ชุมชนแออัด แนะถ้ารู้ว่าญาติป่วย ให้ป้องกันตัวเองอย่างดี ใส่หน้ากาก กินร้อน ช้อนส่วนตัว

สำหรับสถานการณ์โลก ผู้ป่วยยืนยันสะสม 3,065,374 ราย รักษาตัว 56,300 ราย รักษาหายแล้ว 921,795 ราย เสียชีวิต 211,606 ราย สหรัฐอเมริกายังเป็นอันดับหนึ่ง ผู้ป่วยใหม่ 23,196 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,010,356 ราย เสียชีวิต 1,384 ราย เสียชีวิตสะสมสะสม 56,797 ราย เฉพาะวัน 1,384 ราย รองลงมาสเปนและอิตาลี สิงคโปร์และญี่ปุ่นมีจำนวนผู้ป่วยสะสมมากถึง 1.4 หมื่นราย ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 58 ส่วนที่ประเทศสิงคโปร์เร่งผลิตเตียงผู้ป่วยมากขึ้น รวมทั้งจัดหาสถานที่ เช่น ศูนย์แสดงสินค้าเพื่อรองรับจำนวนผู้ป่วยที่สูงขึ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยสูงเป็นอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับ 6 ในเอเชีย ร้อยละ 80 เป็นชาวต่างชาติ อีกด้านพบผู้ป่วยชาวอังกฤษที่โกหกข้อมูลการเดินทางเข้าประเทศ แต่งงานกับหญิงที่อาศัยถาวรที่สิงคโปร์ จึงต้องเนรเทศและห้ามเข้าประเทศอีก

การนำคนไทยกลับจากต่างประเทศ พบจากสเปน 12 คน อินเดีย จากนิวเดลี 189 คน จากมุมไบ 189 คน ส่วนคนไทยที่จะเดินทางกลับประเทศผ่านจุดผ่านแดนทางบก พบมาเลเซีย 303 คน เมียนมา 14 คน สปป.ลาว 8 คน และกัมพูชา 7 คน ทุกคนต้องเข้าสู่กระบวนการ State Quarantine และจัดพื้นที่ 76 จังหวัด รวม 799 แห่ง รองรับได้ 21,180 คน และมีหน่วยงานด้านความมั่นคง 5,415 ห้อง มีระบบการดูแลชัดเจน เหลือแต่ในประเทศที่ต้องดูแลตัวเองอย่างดี อย่าให้กระจายเชื้อ ส่วนมาตรการเคอร์ฟิว พบการกระทำความผิดออกนอกเคหสถาน 461 ราย ชุมนุมมั่วสุม 143 ราย อยากให้ร่วมมือเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี เราต้องใช้ชีวิตวิถีใหม่ วันนี้ต้องรอมติ ครม. จะมีมาตรการอย่างไร อยากได้อย่างไรต้องปรับสมดุลใหม่เพื่อควบคุมและป้องกันโรคได้

ในช่วงตอบคำถาม ถามว่า ตัวเลขผู้ติดเชื้อกรุงเทพฯ เป็นสัญญาณที่ดีหรือไม่ และสามารถคลายล็อกให้คนกรุงเทพฯ ได้หรือไม่ ยืนยันว่า เบาใจได้ แต่วางใจไม่ได้ ขึ้นอยู่กับการเจอเคสสนั้นๆ ต้องหาคนที่มีความเสี่ยงเข้าสู่ระบบมากขึ้น ทางเดียวคือมีวัคซีนหรือยารักษาให้หาย ซึ่งยังไม่มี วันนี้ยังต้องเข้มป้องกันและควบคุมเพื่อให้ตัวเลขเหมือนกันใน 14 วันข้างหน้า แต่ถ้าปล่อยปละละเลยตัวเลขเพิ่มขึ้น เมื่อถามว่า ถ้ามีจำนวนผู้ติดเชื้อ แสดงว่า คนรอบตัวหรือคนใกล้ชิดไม่ติดเชื้อ จะใช้ชีวิตปกติได้หรือไม่ ยืนยันว่าไม่ใช่ว่าไม่มีมี แต่อาจจะไม่แสดงอาการ มีคนประมาณ 80% ไม่แสดงอาการหรือไม่มี คนที่ไปสถานที่ชุมนุมชนกลับมาก็ติดเชื้อ มีตัวอย่างมาแล้ว จึงวางใจไม่ได้

มีประชาชนเสนอให้ปูพรมตรวจทั่วประเทศ อ้างว่า คุ้มค่าหากทำถูกวิธี โดยคัดกรองด้วย Rapid Test แล้วใช้วิธี PCR ต่อไปนั้น ชี้แจงว่า ต้องใช้ข้อมูลทางวิชาการ รวมกับนโยบายการบริหารจัดการ ดีที่สุดคือการใช้ PCR โดยใช้ไม้พันสำลีแยงโพรงจมูก และการใช้น้ำลายที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ส่วนการใช้ Rapid Test ผลยังไม่รับรองเท่าไหร่ และการตรวจภูมิค้มกันยังช้าเกินไป ยืนยันว่า ยังคงใช้การตรวจแบบ PCR ซึ่งพิสูจน์ในเชิงวิชาการ มีการทดลองทำแล้วจึงใช้กับกลุ่มเฉพาะ เช่น แรงงานต่างด้าว คนที่อยู่ตามแนวชายแดน อยู่ในพื้นที่แออัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขหางบประมาณมาได้ 3 พันล้านบาท สามารถได้ตัวเลขเพื่อความสบายใจได้ การประชุมศูนย์ EOC สั่งการให้ผู้ตรวจราชการทุกเขตวางแผนหากลุ่มเสี่ยง และประสาน สปสช. และกรมควบคุมโรคนำงบประมาณออกมา ภายใน 2 สัปดาห์ ในช่วงที่จะออกมาตรการผ่อนปรนเพื่อให้กลับมาใช้ชีวิตที่ดีขึ้น

เมื่อถามบุคลากรทางการแพทย์ที่ติดเชื้อโควิด-19 ตอบว่า เท่าที่มีโดยประมาณ 80-90 ราย ส่วนการชะลอการเดินทางเข้าประเทศ คนไทยซื้อตั๋วเข้าประเทศ ทำให้ได้รับผลกระทบ รัฐบาลจะช่วยเหลืออย่างไร ชี้แจงว่า ขออภัยที่ทำให้ไม่ได้รับความสะดวก แต่เป็นมาตรการป้องกันนำเชื้อโรคเข้าสู่ประเทศ ถ้ามีภารกิจเร่งด่วนให้ติดต่อสถานกงสุลหรือเอกอัครราชทูตได้ทุกแห่งทั่วโลก เจ้าหน้าที่สถานทูตจะรับเรื่อง จัดลำดับความสำคัญ กระบวนการพากลับบ้านจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนการเปิดร้านค้าหรือสถานประกอบการ จากการขอความร่วมมือ เป็นการให้กระทรวงสาธารณสุขออกข้อบังคับ ชี้แจงว่า การประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน มี 11 มาตรการที่จะต้องทำ เช่น การทำความสะอาดพื้นที่ผิวสัมผัส การใช้หน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร เป็นมาตรการพื้นฐานที่ต้องให้ความร่วมมือ เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมและช่วยกันดูแล






































กำลังโหลดความคิดเห็น