xs
xsm
sm
md
lg

เยาวชนเมืองเพชร ทำสื่อการแสดงพื้นบ้าน “ลำตัด” เผยแพร่สร้างความเข้าใจ ป้องกันโควิด-19(ชมคลิป)

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี ทำคลิปกลุ่มเยาชนร้องเพลงพื้นบ้าน "ลำตัด"เพื่อมาใช้เป็นสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19

เมื่อวันที่ 2 เม.ย. เว็บไซต์ยูทูป ชาแนล "Phetchaburi post" เผยคลิปวิดีโอความยาว 3 นาที ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรีได้จัดขึ้นเพื่อประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจ การป้องกัน เฝ้าระวังและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ภายในคลิปเผยให้เห็นเยาวชนกลุ่มรากไทย โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี ได้ร้องลำตัด "ร่วมใจต้านภัย Covid – 19" โดยมีเนื้อร้องระบุว่า

"โควิดติดง่ายแต่ป้องกันได้ต้องทำใจเย็นๆ ไปใส่แมสล้างมือให้สะอาดสะอ้านงดออกจากบ้าน ถ้าไม่จำเป็น ขอวันทาญาติมิตร โรคโควิดกำลังมา ถ้าร่วมใจกันรักษาช่วยเยียวยาอย่างยากเย็น เราก็คือส่วนหนึ่งอย่าหวังพึ่งแต่เพียงหมอช่วยกันลดการติดต่ออย่าให้หมอต้องลำเค็ญ ไปไหนใส่หน้ากากปราศจากการแพร่เชื้อจะไอจามทุก ๆ เมื่อป้องกันเชื้อไม่ให้กระเด็น กินร้อนช้อนกลางสิ่งที่ต้องล้างก็คือมือ ไปหยิบ จับ หิ้ว ถือ หมั่นล้างมืออย่าว่างเว้น

ล้างด้วยแอลกอฮอล์โรคติดต่อจะได้หาย ลดการแพร่กระจายโควิด ตัวร้ายมันจะได้เผ่น หลีกเลี่ยงที่แออัดเพราะโรคระบาดมันน่ากลัวทุกๆ ท่านต้องกักตัว ย้ายออกไปมั่วกันได้ทุกเย็นกิจกรรมท่านต้องลด ท่านต้องงดออกจากบ้านใครจะใช้ไหว้วานบอกว่าติดงานอีเวนท์ วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี เขานั้นมีความห่วงใยถ้าคนไทยไม่ช่วยไทย แล้วจะให้ใครมาเคี่ยวเข็ญถ้าทำตามที่กล่าวมารับรองว่าจะไม่ติดช่วงนี้เราห่างกันซักนิดโรคโควิด ก็จะไม่เป็น โควิดติดง่ายแต่ป้องกันได้ต้องทำใจเย็นๆ ไปใส่แมสล้างมือให้สะอาดสะอ้านงดออกจากบ้าน ถ้าไม่จำเป็น"

อย่างไรก็ตาม ทางด้าน นางกรรณิกา เอี้ยวสกุลรัตน์ วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี เผยว่า สาเหตุที่ดึงเอา"ลำตัด"มาใช้เป็นสื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด19 ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีครั้งนี้ เพราะเล็งเห็นว่า เพลงลำตัดเป็นเพลงพื้นบ้านของภาคกลางของไทย โดยชาวจังหวัดเพชรบุรีก็นิยมชมศิลปินลำตัดมาโดยตลอด นับจากอดีตถึงปัจจุบัน โดยลำตัดมีต้นตอมาจาก “ลิเกบันตน” ของชาวมลายู ในต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยลิเกบันตนดังกล่าว มีรูปแบบของการการแสดงแยกออกเป็น 2 สาขา สาขาหนึ่ง เรียกว่า “ฮันดาเลาะ” และ “ลากูเยา” และลิเกบันตนลากูเยา มีลักษณะของการแสดงว่ากลอนสดแก้กัน โดยมีลูกคู่คอยรับ เมื่อต้นบทร้องจบนั่นเอง








กำลังโหลดความคิดเห็น