เพจ “Live NBT2HD” ได้นำข้อมูลข่าวสารดีๆ จากองค์กรอนามัยโลก (WHO) มาอธิบายกรณีการถนอมน้ำใจกัน เมื่อเราพูดถึงเรื่องเชื้อไวรัสโควิด-19 วอนอย่าปล่อยข่าวลือจนทำให้ผู้อื่นหวาดกลัว
เมื่อวันที่ 30 มี.ค. เพจ “Live NBT2HD” ได้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารดีๆ จากองค์กรอนามัยโลก (WHO) มาอธิบายกรณีการถนอมน้ำใจกัน เมื่อเราพูดถึงเรื่องเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยได้อธิบายว่า โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่ง CO ย่อมาจาก Corona และ VI ย่อมาจาก virus และ d หมายถึง disease ส่วน 19 เกิดขึ้นในปี 2019 ชื่อที่ไม่ควรเรียกคือ ไวรัสอู่ฮั่น, ไวรัสจีน, ไวรัสเอเชีย
สำหรับคำที่ควรใช้กับคนที่ติดเชื้อ เช่น ผู้ติดเชื้อ โควิด-19, คนที่ได้รับการรักษา โควิด-19, คนที่ทุเลาจาก โควิด-19 หรือผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ โควิด-19 และคำที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้ติดเชื้อ โควิด-19 คือ เป็นผู้ป่วย โควิด-19 และเหยื่อผู้ติดเชื้อโควิด-19 นอกจากนี้ ยังมีคำที่ใช้กับคนที่อาจติดเชื้อ ระบุว่า คนที่อาจติดเชื้อโควิด-19 หรือคนที่สันนิษฐานว่าติดเชื้อโควิด-19 คำที่ไม่ควรใช้คือ “ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ โควิด-19, ผู้ป่วยต้องสงสัย”
ในส่วนที่ใช้กับผู้คนที่ได้รับเชื้อ ควรใช้คำว่า “ได้รับเชื้อ, ติดเชื้อโควิด-19” และไม่ควรใช้คำว่า “แพร่เชื้อโควิด-19, ทำให้คนอื่นติดเชื้อ, แพร่เชื้อไวรัส” หรือการสื่อสารที่ดี ควรพูดถึงความเสี่ยงจากโควิด-19 อย่างถูกต้องตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และคำแนะนำการดูแลสุขภาพล่าสุดที่ประกาศอย่างเป็นทางการ และไม่ควรกระจายข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยัน โดยการสร้างความหวาดกลัวต่อผู้ที่ได้รับข่าวสาร เช่น โรคนี้เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงที่คร่าชีวิตคนจำนวนมาก, เป็นหายนะของโลก ฯลฯ
ทั้งนี้ การกล่าวถึงถึงการดำเนินการ สิ่งที่ควรทำคือ 1. พูดในแง่ดีเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการป้องกันและรักษาโรค 2. สำหรับคนส่วนใหญ่โรคนี้เป็นโรคที่ประชาชนเอาชนะได้มีขั้นตอนง่ายๆ ที่เราทุกคนสามารถทำได้เพื่อดูแลตนเอง คนใกล้ชิด และผู้เสี่ยงติดเชื้อมากที่สุดให้ปลอดภัย และสิ่งที่ไม่ควรพูด คือพูดเน้นถึงเรื่องที่หมกมุ่นอยู่กับสิ่งที่ไม่ดี หรือถ้วยคำที่สร้างความหวาดกลัวเราจำเป็นต้องจับมือกันช่วยกันดูแลความปลอดภัย