1.รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ 26 มี.ค.-30 เม.ย. หวังคุมการระบาดของโควิด-19!
ความพยายามรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย เมื่อวันที่ 24 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบจอภาพทางไกล หรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังประชุมได้แถลงให้ทราบว่า รัฐบาลได้พิจารณาเรื่องการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยจะประกาศและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มี.ค.
ทั้งนี้ ได้มีการจัดระเบียบการทำงาน โดยยกระดับเป็นศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แก้ปัญหาโควิด-19 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ศอฉ.โควิด-19 มีปลัดกระทรวงของแต่ละภารกิจเป็นหัวหน้าส่วนงานรับผิดชอบ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายกฯ แถลงว่า จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนแห่ไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้าเพื่อกักตุนจำนวนมาก
วันต่อมา 25 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ว่า ต่อจากนี้ หลายสัปดาห์และหลายเดือนข้างหน้า อาจจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้าย และยากลำบากจากภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19 จึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆ ด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถหยุดการแพร่ระบาดพร้อมกับลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคนให้ได้ จะเข้ามาบัญชาการการจัดการกับไวรัสโควิด-19 ในทุกมิติอย่างเต็มตัว ทั้งด้านป้องกันการระบาด การรักษาพยาบาล ไปจนถึงการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ โดยจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.2563 เป็นต้นไป
หลังจากนั้น ทรท.ได้เผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคมต้ยังคงมีผลบังคับใช้ควบคู่กัน ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.ถึงวันที่ 30 เม.ย.2563
จากนั้น ได้มีการประกาศข้อกำหนดต่างๆ ตามมา เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง โดยห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ตามมติของ ครม.เมื่อวันที่ 17 มี.ค. หรือตามที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้, ห้ามกักตุนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมอย่างเคร่งครัด, การห้ามชุมนุม ทำกิจกรรม หรือมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ในพื้นที่ที่กำหนด, ห้ามเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ให้ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการที่พึงปฏิบัติ โดยให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย อยู่ในเคหสถาน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากภายนอก ประกอบด้วย 1.ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 2.กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ 3.กลุ่มเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ยกเว้นมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ไปรักษาพยาบาล ไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ หรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม และไปรษณีย์ การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อด้านคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ หรือศาลตามความจำเป็น หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีข้อห้ามสำคัญเกี่ยวกับคนเดินทางเข้าประเทศ ไม่ว่าทางบก เรือ หรืออากาศ ห้ามเข้า ยกเว้นคนไทยที่ตกค้างอยู่ต่างประเทศ หากต้องการเดินทางกลับมา มีสิทธิ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่สามารถหาได้ ให้หาใบแทนอย่างอื่นโดยติดต่อกับสถานทูต
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว “ถ้าจะเคอร์ฟิว ถ้ามี ก็จะไม่เหมือนเคอร์ฟิวที่เคยเจอมาในอดีต ให้ช่วงกลางวันออกบ้านได้ แต่กลางคืนห้ามออก มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากเป็นการเคอร์ฟิวเพื่อรักษาความมั่นคง แต่การเคอร์ฟิวด้วยโรคโควิด-19 จะต้องเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง แต่มีข้อยกเว้น เพื่อให้ระมัดระวัง ด้วยการใช้หน้ากากอนามัย หรือการเว้นระยะทางสังคม การใช้เจลแอลกอฮอล์ การไม่ติดต่อสัมผัส เพื่อให้ซื้อหาอาหารได้ ไปหาหมอได้ ไปแจ้งความได้ ไปขึ้นศาลได้ ไปกดตู้เอทีเอ็มได้ ไปธนาคารได้ การจะประกาศหรือไม่ประกาศ นายกฯ และ ศอฉ.จะต้องประชุมและประเมินสถานการณ์รายวัน”
2.ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มไม่หยุด ล่าสุดยอดป่วย 1,245 ราย ตายแล้ว 6!
ความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเมื่อวันที่ 22 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 188 ราย รวมเป็น 599 ราย โดยมีทั้งผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยเดิม ทั้งในแง่เกี่ยวข้องกับสนามมวย, สถานบันเทิง ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ผู้ทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัด ฯลฯ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 ได้ขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าเดินทางกลับภูมิลำเนาเด็ดขาด เพื่อไม่แพร่กระจายเชื้อถึงกลุ่มเสี่ยง คือเด็กและผู้สูงอายุที่บ้าน ด้านอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขอความร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติ ค้นหา เฝ้าระวัง ป้องกันโรคระดับอำเภอและหมู่บ้านให้ความรู้ผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อแยกตัว สังเกตอาการไข้และทางเดินหายใจ และหลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นที่บ้านจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางถึงภูมิลำเนา
วันต่อมา 23 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 122 ราย รวมเป็น 721 ราย
วันต่อมา 24 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 106 ราย รวมเป็น 827 ราย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ กลุ่มสองเป็นรายใหม่ที่มีทั้งผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งคนไทยและต่างชาติ และกลุ่มสาม รอสอบสวนโรค 47 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอาการหนัก 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย คือ ชายชาวไทยอายุ 70 ปี มีอาการวัณโรคร่วม, ชายไทย อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวหลายโรค, ชายไทย อายุ 45 ปี มีภาวะเบาหวานและอ้วน
วันต่อมา 25 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 107 ราย รวมเป็น 934 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 27 ราย, ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ, ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่แออัด และพบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 2 ราย ส่งผลให้ต้องมีการกักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 25 ราย
วันต่อมา 26 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 111 ราย รวมเป็น 1,045 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 29 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 19 ราย มีทั้งผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ เป็นชาวไทย 5 ต่างชาติ 1 ราย, ผู้ทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัด 9 ราย และบุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย รวมมีแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 รวม 9 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ป่วยที่รอสอบสวนโรคและประวัติเสี่ยงเพิ่มเติม 63 ราย
วันต่อมา 27 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 91 ราย รวมเป็น 1,136 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 30 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 19 ราย มีทั้งกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 10 ราย และกลุ่มคนทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัดหรือเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ 5 ราย และกลุ่มอื่นๆ 4 ราย กลุ่มสาม ผู้ป่วยที่รอสอบสวนโรค 42 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย โดยพบผู้ป่วยในต่างจังหวัดมากขึ้น จำนวน 52 จังหวัดแล้ว
ล่าสุด วันนี้ (28 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 109 ราย รวมเป็น 1,245 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสัมผัสผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 39 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 10 ราย อยู่ กทม.ทั้งหมด กลุ่มสถานบันเทิง 8 ราย ที่ กทม. และศรีสะเกษ และกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 21 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 17 ราย ได้แก่ กลุ่มเดินทางจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ต่างชาติ 2 ราย, กลุ่มทำงานและอาศัยอยู่ในสถานที่แออัดใกล้ชิดผู้คนจำนวนมากหรือเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ 7 ราย ทำอาชีพนวดสปา ขายบริการ พนักงานต้อนรับในโรงแรม เชฟ ขายเครื่องประดับ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย
กลุ่มสาม กลุ่มที่ผลแล็บยืนยันชัดเจน แต่ยังอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 53 จำนวน มีกระจายทั้งเชียงราย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร มุกดาหาร ภูเก็ต ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ กทม. นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 55 ปี มีประวัติเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี มีไขมันในเลือดสูง เข้ามารักษาที่ รพ. เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ด้วยอาการหอบเหนื่อย ตรวจพบปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 ราย
ขณะนี้ มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้วรวม 100 ราย ยังรักษาใน รพ. 1,139 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 17 ราย โดยจำนวนนี้ 12 ราย รักษาใน รพ.สังกัด สธ. โรงเรียนแพทย์ และ รพ.สังกัดกลาโหม ส่วนอีก 5 รายรักษาอยู่ในต่างจังหวัด อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 31-76 ปี
นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศ มีอายุน้อยที่สุด คือ 6 เดือน อายุมากที่สุด 84 ปี อายุเฉลี่ย 40 ปี อย่างไรก็ตาม จากการที่มีผู้ป่วยในกลุ่มสนามมวย สถานบันเทิง ทำให้มีผู้ป่วยอายุน้อยอยู่ในช่วงอายุประมาณ 20-29 ปี อายุ 30-39 ปี และอายุ 40-49 ปี ค่อนข้างมาก เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยกระจายไปใน 57 จังหวัด มากที่สุดคือ กทม. 515 ราย
3.หนุ่มป้ายน้ำลายทั่วลิฟต์ BTS เจอคุก 15 วัน ด้านแพทย์ยันไม่ป่วยทางจิต ไม่ติดโควิด-19!
สัปดาห์ที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์คลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิด กรณีที่ชายคนหนึ่งได้เข้าไปในลิฟต์ก่อนที่จะใช้นิ้วป้ายน้ำลายตนเองและไปแปะตามตำแหน่งต่างๆ ในลิฟต์จนทั่ว รวมทั้งล้วงกางเกงก่อนป้ายไปยังปุ่มกดต่างๆ ภายในลิฟท์ ซึ่งเหตุเกิดที่ BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาตินั้น
ต่อมา ตำรวจ สน.ปทุมวัน ทราบตัวผู้ก่อเหตุ คือ หนุ่มร้อยเอ็ด อายุ 32 ปี จึงเชิญตัวมาสอบสวน ทราบว่า หนุ่มดังกล่าวพักอาศัยอยู่แมนชั่นแห่งหนึ่งในซอยลาดพร้าว 98 ปัจจุบันว่างงาน ได้นั่งบีทีเอสมายังสถานีสนามกีฬาฯ เพื่อทานข้าว เมื่อทานเสร็จ กำลังจะนั่งรถไฟฟ้ากลับ ระหว่างออกจากลิฟต์ มือของตนได้ไปโดนของเหลวมีกลิ่น จึงรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ จึงเอามือป้ายไปยังราวทางเดินและในลิฟต์
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้นำตัวผู้ต้องหาฟ้องต่อศาลแขวงปทุมวัน ในความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ ให้ของโสโครกเปรอะเปื้อนทรัพย์ หรือแกล้งทำให้ของโสโครก เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ตาม ป.อาญา มาตรา 389 ประกอบกับผลการตรวจสอบร่างกายและการวินิจฉัยโรคของแพทย์ พบว่า ผู้ต้องหาไม่ได้มีอาการป่วยทางจิตและไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด
ด้านจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลแขวงปทุมวันศาลพิเคราะห์แล้ว จึงมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกป็นเวลา 1 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 15 วัน โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นกักขังแทนที่สถานกักขังกลาง จ.ปทุมธานี
ทั้งนี้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ได้ฝากประชาชนถึงการป้องกันตนเอง จากโควิด-19 โดยใช้หลักการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน ไม่ไปที่ชุมชนหรือแออัด ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เว้นระยะห่างในการพูดคุย นำแนวทาง Social Distancing มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
4.“บิ๊กแดง” เด้ง “พล.ต.ราชิต” เข้ากรุ ทบ. รอผลสอบจัดมวยลุมพินี 6 มี.ค. แพร่โควิด-19!
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เผยว่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบหมายให้กรมกำลังพลทหารบกดำเนินการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีมีการร้องเรียนเรื่องการจัดการแข่งขันมวยที่สนามมวยลุมพินี เมื่อ 6 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา (วันที่ผู้เข้าชมและร่วมงานติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก) พร้อมมีคำสั่งให้ พล.ต.ราชิต อรุณรังษี เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก ในฐานะนายสนามมวยลุมพินี และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด มาช่วยราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก ในระหว่างที่มีการการสอบสวนเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า พล.อ.อภิรัชต์ให้สอบสวนผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยให้ชี้แจงว่า เหตุใดต้องจัดชกมวยในวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำไมถึงเลื่อนออกไปไม่ได้ หลังการกีฬาแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงนายสนามมวยเวทีลุมพินี เพื่อแจ้งข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่ขอความร่วมมืองดกิจกรรม หรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมากและอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโดยไม่จำเป็น เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดคอนเสิร์ต และการจัดมหรสพ
รายงานแจ้งด้วยว่า หลัง พล.อ.อภิรัชต์เซ็นคำสั่งดังกล่าว ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของกำลังพลในกองทัพบกอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการสั่งย้ายนายทหารชั้นนายพล ที่มีตำแหน่งระดับเจ้ากรมให้มาช่วยราชการภายในกองบัญชาการกองทัพบก อีกทั้ง พล.ต.ราชิตยังเป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 20 (ตท.20) และมีความสนิมสนมกับ พล.อ.อภิรัชต์
อนึ่ง ขณะนี้ทาง พล.ต.ราชิต ยังอยู่ระหว่างรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่ง พล.ต.ราชิต ติดเชื้อจากสนามมวยลุมพินีเมื่อวันที่ 6 มี.ค.เช่นกัน
5.รบ.เยียวยาผลกระทบโควิด-19 แจกเงินลูกจ้างนอกระบบ 1.5 หมื่นบาท ด้านประกันสังคมลดเงินสมทบ-เพิ่มประโยชน์ว่างงาน!
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย รัฐบาลและหน่วยงานรัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ โดยในส่วนของสำนักงานประกันสังคม นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ว่า คณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน โดย 1.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2563 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ประกันที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน กรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม กำหนดให้การจ่ายชดเชยกรณีว่างงานสูงสุดไม่เกินรายละ 15,000 บาทต่อเดือน ในกรณีการจ่ายชดเชยจากสถานการณ์โควิด-19 มติคณะกรรมการประกันสังคมให้ชดเชยร้อยละ 50 ต่อเดือน หรือเท่ากับไม่เกิน 7,500 ต่อเดือน ของเงินชดเชยสูงสุด 15,000 บาทต่อเดือน
2.เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอัตราร้อยละ 4 เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค.2563 ออกไปอีก 3 เดือน โดยงวดค่าจ้างเดือน มี.ค.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ก.ค.2563 สำหรับงวดค่าจ้างเดือน เม.ย.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ส.ค.2563 ส่วนงวดค่าจ้างเดือน พ.ค.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ก.ย.2563
นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังมีมติเห็นชอบให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากกรณีลาออก ร้อยละ 45 เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน และจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นเวลาไม่เกิน 200 วัน โดยมาตรการนี้ให้ใช้บังคับเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนี้คณะกรรมการจะพิจารณาวิเคราะห์และมีมติพิจารณาอีกครั้ง
ด้านนายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยถึงมาตรการเยียวยากรณีผู้ประกันตนที่ป่วย ได้รับการวินิจฉัยว่าติดโควิด-19 ว่า ไม่ต้องจ่ายค่าตรวจหรือค่ายาใดๆ รวมถึงสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลของรัฐตามระบบประกันสังคม และเบิกจ่ายกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง หากผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน แต่ต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี ด้านการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนั้น หากลาออกจะได้รับเงินทดแทนทั้งกรณีการขาดรายได้ กรณีเลิกจ้าง และกรณีเหตุสุดวิสัย ซึ่งครอบคลุมทั้งผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน และนายจ้างที่ถูกสั่งให้หยุดประกอบกิจการ
ส่วนในแง่รัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ออกมาตรการลดผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 ด้วยการสนับสนุนเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ให้กับกลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม รวมรับเงินคนละ 15,000 บาท คาดว่ามีกลุ่มนี้ประมาณ 3 ล้านคน และหากเงิน 5,000 ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต มีสินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นบาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกัน นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อพิเศษ 5 หมื่นบาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ต้องมีหลักประกัน มาตรการทั้งหมดเริ่มทันทีช่วงต้นเดือน เม.ย.นี้
ด้านนายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยว่า การลงทะเบียนรับเงินเยียวยาของแรงงานนอกระบบจากภาครัฐ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ออนไลน์ และติดต่อธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย แต่อยากให้ยื่นเรื่องผ่านออนไลน์มากกว่าเพื่อลดการแพร่เชื้อโควิด-19 โดยสามารถยื่นคำขอออนไลน์ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.เป็นต้นไป ไม่มีกำหนดเวลาปิด เปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายลวรณ ยังเตือนไปถึงกลุ่มมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสในช่วงวิกฤติเอารัดเอาเปรียบผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การหักหัวคิวหรือการหลอกลวงประชาชน เป็นต้น ขอให้หยุดการกระทำ โดยขณะนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และพร้อมจะดำเนินการตามกฎหมายทันที ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ความพยายามรับมือและควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย เมื่อวันที่ 24 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เป็นประธานประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบจอภาพทางไกล หรือวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ หลังประชุมได้แถลงให้ทราบว่า รัฐบาลได้พิจารณาเรื่องการประกาศ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยจะประกาศและมีผลบังคับใช้ในวันที่ 26 มี.ค.
ทั้งนี้ ได้มีการจัดระเบียบการทำงาน โดยยกระดับเป็นศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) แก้ปัญหาโควิด-19 หรือเรียกง่ายๆ ว่า ศอฉ.โควิด-19 มีปลัดกระทรวงของแต่ละภารกิจเป็นหัวหน้าส่วนงานรับผิดชอบ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังนายกฯ แถลงว่า จะมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนแห่ไปซื้อสินค้าตามห้างสรรพสินค้าเพื่อกักตุนจำนวนมาก
วันต่อมา 25 มี.ค. พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) ว่า ต่อจากนี้ หลายสัปดาห์และหลายเดือนข้างหน้า อาจจะต้องเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้าย และยากลำบากจากภาวะวิกฤตไวรัสโควิด-19 จึงจำเป็นต้องดำเนินมาตรการต่างๆ ด้วยความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถหยุดการแพร่ระบาดพร้อมกับลดผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับพี่น้องประชาชนทุกคนให้ได้ จะเข้ามาบัญชาการการจัดการกับไวรัสโควิด-19 ในทุกมิติอย่างเต็มตัว ทั้งด้านป้องกันการระบาด การรักษาพยาบาล ไปจนถึงการเยียวยาและฟื้นฟูประเทศ โดยจะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร เพื่อควบคุมสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่ออันตรายร้ายแรงตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.2563 เป็นต้นไป
หลังจากนั้น ทรท.ได้เผยแพร่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ขณะที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่จังหวัดชายแดนภาคมต้ยังคงมีผลบังคับใช้ควบคู่กัน ตั้งแต่วันที่ 26 มี.ค.ถึงวันที่ 30 เม.ย.2563
จากนั้น ได้มีการประกาศข้อกำหนดต่างๆ ตามมา เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เสี่ยง โดยห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงหรือสถานที่ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ตามมติของ ครม.เมื่อวันที่ 17 มี.ค. หรือตามที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้, ห้ามกักตุนสินค้า ไม่ว่าจะเป็นยา เวชภัณฑ์ อาหาร น้ำดื่ม หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมอย่างเคร่งครัด, การห้ามชุมนุม ทำกิจกรรม หรือมั่วสุม ณ ที่ใดๆ ในพื้นที่ที่กำหนด, ห้ามเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่เป็นความจริงและอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว ให้ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ
นอกจากนี้ยังกำหนดมาตรการที่พึงปฏิบัติ โดยให้กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้ง่าย อยู่ในเคหสถาน เพื่อป้องกันตนเองจากการติดเชื้อจากภายนอก ประกอบด้วย 1.ผู้สูงอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป 2.กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง โรคในระบบทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ 3.กลุ่มเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปีลงมา ยกเว้นมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์ ไปรักษาพยาบาล ไปปฏิบัติหน้าที่แพทย์พยาบาล หรือบุคลากรทางการแพทย์ หรือการทำธุรกรรมเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์และสถาบันการเงิน ตู้เอทีเอ็ม การสื่อสารมวลชน โทรคมนาคม และไปรษณีย์ การให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า การจัดหาและซื้อขายอาหาร การติดต่อด้านคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ หรือศาลตามความจำเป็น หรือมีเหตุจำเป็นอื่นใด โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ด้านนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มีข้อห้ามสำคัญเกี่ยวกับคนเดินทางเข้าประเทศ ไม่ว่าทางบก เรือ หรืออากาศ ห้ามเข้า ยกเว้นคนไทยที่ตกค้างอยู่ต่างประเทศ หากต้องการเดินทางกลับมา มีสิทธิ แต่ต้องมีใบรับรองแพทย์ หากไม่สามารถหาได้ ให้หาใบแทนอย่างอื่นโดยติดต่อกับสถานทูต
นายวิษณุ กล่าวอีกว่า ยังไม่มีการประกาศเคอร์ฟิว “ถ้าจะเคอร์ฟิว ถ้ามี ก็จะไม่เหมือนเคอร์ฟิวที่เคยเจอมาในอดีต ให้ช่วงกลางวันออกบ้านได้ แต่กลางคืนห้ามออก มีกลางวันกลางคืน เนื่องจากเป็นการเคอร์ฟิวเพื่อรักษาความมั่นคง แต่การเคอร์ฟิวด้วยโรคโควิด-19 จะต้องเคอร์ฟิว 24 ชั่วโมง แต่มีข้อยกเว้น เพื่อให้ระมัดระวัง ด้วยการใช้หน้ากากอนามัย หรือการเว้นระยะทางสังคม การใช้เจลแอลกอฮอล์ การไม่ติดต่อสัมผัส เพื่อให้ซื้อหาอาหารได้ ไปหาหมอได้ ไปแจ้งความได้ ไปขึ้นศาลได้ ไปกดตู้เอทีเอ็มได้ ไปธนาคารได้ การจะประกาศหรือไม่ประกาศ นายกฯ และ ศอฉ.จะต้องประชุมและประเมินสถานการณ์รายวัน”
2.ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยยังเพิ่มไม่หยุด ล่าสุดยอดป่วย 1,245 ราย ตายแล้ว 6!
ความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย ยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ยังเพิ่มขึ้นทุกวัน โดยเมื่อวันที่ 22 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงว่า พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 188 ราย รวมเป็น 599 ราย โดยมีทั้งผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยเดิม ทั้งในแง่เกี่ยวข้องกับสนามมวย, สถานบันเทิง ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ผู้ทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัด ฯลฯ
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 10 ได้ขอความร่วมมือประชาชนให้อยู่บ้าน อย่าเดินทางกลับภูมิลำเนาเด็ดขาด เพื่อไม่แพร่กระจายเชื้อถึงกลุ่มเสี่ยง คือเด็กและผู้สูงอายุที่บ้าน ด้านอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัด ขอความร่วมมือจัดทำแผนปฏิบัติ ค้นหา เฝ้าระวัง ป้องกันโรคระดับอำเภอและหมู่บ้านให้ความรู้ผู้เดินทางกลับมาจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อแยกตัว สังเกตอาการไข้และทางเดินหายใจ และหลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นที่บ้านจนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางถึงภูมิลำเนา
วันต่อมา 23 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 122 ราย รวมเป็น 721 ราย
วันต่อมา 24 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 106 ราย รวมเป็น 827 ราย โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือผู้สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ กลุ่มสองเป็นรายใหม่ที่มีทั้งผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งคนไทยและต่างชาติ และกลุ่มสาม รอสอบสวนโรค 47 ราย นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยอาการหนัก 4 ราย เสียชีวิต 3 ราย คือ ชายชาวไทยอายุ 70 ปี มีอาการวัณโรคร่วม, ชายไทย อายุ 79 ปี มีโรคประจำตัวหลายโรค, ชายไทย อายุ 45 ปี มีภาวะเบาหวานและอ้วน
วันต่อมา 25 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 107 ราย รวมเป็น 934 ราย แบ่งเป็น กลุ่มที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 27 ราย, ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย เป็นผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ, ผู้ที่ทำงานหรืออาศัยอยู่ในพื้นที่แออัด และพบบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 2 ราย ส่งผลให้ต้องมีการกักตัวผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 25 ราย
วันต่อมา 26 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 111 ราย รวมเป็น 1,045 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 29 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 19 ราย มีทั้งผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ เป็นชาวไทย 5 ต่างชาติ 1 ราย, ผู้ทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัด 9 ราย และบุคลากรทางการแพทย์ 3 ราย รวมมีแพทย์ติดเชื้อโควิด-19 รวม 9 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ และผู้ป่วยที่รอสอบสวนโรคและประวัติเสี่ยงเพิ่มเติม 63 ราย
วันต่อมา 27 มี.ค. กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 91 ราย รวมเป็น 1,136 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 30 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 19 ราย มีทั้งกลุ่มที่เดินทางมาจากต่างประเทศ 10 ราย และกลุ่มคนทำงานหรืออาศัยในพื้นที่แออัดหรือเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ 5 ราย และกลุ่มอื่นๆ 4 ราย กลุ่มสาม ผู้ป่วยที่รอสอบสวนโรค 42 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5 ราย โดยพบผู้ป่วยในต่างจังหวัดมากขึ้น จำนวน 52 จังหวัดแล้ว
ล่าสุด วันนี้ (28 มี.ค.) กระทรวงสาธารณสุขแถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่อีก 109 ราย รวมเป็น 1,245 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกสัมผัสผู้ป่วยหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้า 39 ราย ได้แก่ กลุ่มสนามมวย 10 ราย อยู่ กทม.ทั้งหมด กลุ่มสถานบันเทิง 8 ราย ที่ กทม. และศรีสะเกษ และกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 21 ราย กลุ่มสอง ผู้ป่วยรายใหม่ 17 ราย ได้แก่ กลุ่มเดินทางจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ต่างชาติ 2 ราย, กลุ่มทำงานและอาศัยอยู่ในสถานที่แออัดใกล้ชิดผู้คนจำนวนมากหรือเกี่ยวข้องกับคนต่างชาติ 7 ราย ทำอาชีพนวดสปา ขายบริการ พนักงานต้อนรับในโรงแรม เชฟ ขายเครื่องประดับ และกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย
กลุ่มสาม กลุ่มที่ผลแล็บยืนยันชัดเจน แต่ยังอยู่ระหว่างสอบสวนโรค 53 จำนวน มีกระจายทั้งเชียงราย นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร มุกดาหาร ภูเก็ต ปัตตานี นราธิวาส ยะลา และ กทม. นอกจากนี้ ยังมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย เป็นผู้หญิงอายุ 55 ปี มีประวัติเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี มีไขมันในเลือดสูง เข้ามารักษาที่ รพ. เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ด้วยอาการหอบเหนื่อย ตรวจพบปอดอักเสบรุนแรง ต่อมาต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ รวมยอดผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 ราย
ขณะนี้ มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้วรวม 100 ราย ยังรักษาใน รพ. 1,139 ราย ในจำนวนนี้อาการหนัก 17 ราย โดยจำนวนนี้ 12 ราย รักษาใน รพ.สังกัด สธ. โรงเรียนแพทย์ และ รพ.สังกัดกลาโหม ส่วนอีก 5 รายรักษาอยู่ในต่างจังหวัด อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 31-76 ปี
นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศ มีอายุน้อยที่สุด คือ 6 เดือน อายุมากที่สุด 84 ปี อายุเฉลี่ย 40 ปี อย่างไรก็ตาม จากการที่มีผู้ป่วยในกลุ่มสนามมวย สถานบันเทิง ทำให้มีผู้ป่วยอายุน้อยอยู่ในช่วงอายุประมาณ 20-29 ปี อายุ 30-39 ปี และอายุ 40-49 ปี ค่อนข้างมาก เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง โดยกระจายไปใน 57 จังหวัด มากที่สุดคือ กทม. 515 ราย
3.หนุ่มป้ายน้ำลายทั่วลิฟต์ BTS เจอคุก 15 วัน ด้านแพทย์ยันไม่ป่วยทางจิต ไม่ติดโควิด-19!
สัปดาห์ที่ผ่านมา โซเชียลมีเดียได้มีการแชร์คลิปวิดีโอจากกล้องวงจรปิด กรณีที่ชายคนหนึ่งได้เข้าไปในลิฟต์ก่อนที่จะใช้นิ้วป้ายน้ำลายตนเองและไปแปะตามตำแหน่งต่างๆ ในลิฟต์จนทั่ว รวมทั้งล้วงกางเกงก่อนป้ายไปยังปุ่มกดต่างๆ ภายในลิฟท์ ซึ่งเหตุเกิดที่ BTS สถานีสนามกีฬาแห่งชาตินั้น
ต่อมา ตำรวจ สน.ปทุมวัน ทราบตัวผู้ก่อเหตุ คือ หนุ่มร้อยเอ็ด อายุ 32 ปี จึงเชิญตัวมาสอบสวน ทราบว่า หนุ่มดังกล่าวพักอาศัยอยู่แมนชั่นแห่งหนึ่งในซอยลาดพร้าว 98 ปัจจุบันว่างงาน ได้นั่งบีทีเอสมายังสถานีสนามกีฬาฯ เพื่อทานข้าว เมื่อทานเสร็จ กำลังจะนั่งรถไฟฟ้ากลับ ระหว่างออกจากลิฟต์ มือของตนได้ไปโดนของเหลวมีกลิ่น จึงรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจ จึงเอามือป้ายไปยังราวทางเดินและในลิฟต์
เมื่อวันที่ 24 มี.ค. พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน ได้นำตัวผู้ต้องหาฟ้องต่อศาลแขวงปทุมวัน ในความผิดฐานกระทำด้วยประการใดๆ ให้ของโสโครกเปรอะเปื้อนทรัพย์ หรือแกล้งทำให้ของโสโครก เป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ตาม ป.อาญา มาตรา 389 ประกอบกับผลการตรวจสอบร่างกายและการวินิจฉัยโรคของแพทย์ พบว่า ผู้ต้องหาไม่ได้มีอาการป่วยทางจิตและไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่างใด
ด้านจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลแขวงปทุมวันศาลพิเคราะห์แล้ว จึงมีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุกป็นเวลา 1 เดือน ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 15 วัน โดยให้เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นกักขังแทนที่สถานกักขังกลาง จ.ปทุมธานี
ทั้งนี้ พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ได้ฝากประชาชนถึงการป้องกันตนเอง จากโควิด-19 โดยใช้หลักการป้องกันโรคติดต่อทางเดินหายใจ ได้แก่ สวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ หรือ แอลกอฮอล์เจลล้างมือ ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รับประทานอาหารปรุงสุกร้อน ไม่ไปที่ชุมชนหรือแออัด ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เว้นระยะห่างในการพูดคุย นำแนวทาง Social Distancing มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ตลอดจนการ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ
4.“บิ๊กแดง” เด้ง “พล.ต.ราชิต” เข้ากรุ ทบ. รอผลสอบจัดมวยลุมพินี 6 มี.ค. แพร่โควิด-19!
เมื่อวันที่ 27 มี.ค. พ.อ.วินธัย สุวารี โฆษกกองทัพบก เผยว่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ได้มอบหมายให้กรมกำลังพลทหารบกดำเนินการสอบสวนผู้ที่เกี่ยวข้องกรณีมีการร้องเรียนเรื่องการจัดการแข่งขันมวยที่สนามมวยลุมพินี เมื่อ 6 มี.ค. 2563 ที่ผ่านมา (วันที่ผู้เข้าชมและร่วมงานติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมาก) พร้อมมีคำสั่งให้ พล.ต.ราชิต อรุณรังษี เจ้ากรมสวัสดิการทหารบก ในฐานะนายสนามมวยลุมพินี และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด มาช่วยราชการที่กองบัญชาการกองทัพบก ในระหว่างที่มีการการสอบสวนเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ มีรายงานข่าวว่า พล.อ.อภิรัชต์ให้สอบสวนผู้รับผิดชอบและเกี่ยวข้องทั้งหมด โดยให้ชี้แจงว่า เหตุใดต้องจัดชกมวยในวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ทำไมถึงเลื่อนออกไปไม่ได้ หลังการกีฬาแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงนายสนามมวยเวทีลุมพินี เพื่อแจ้งข้อสั่งการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 มี.ค. ที่ขอความร่วมมืองดกิจกรรม หรือเลื่อนการจัดกิจกรรมที่มีการรวมตัวของประชาชนจำนวนมากและอาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโดยไม่จำเป็น เช่น การแข่งขันกีฬา การจัดคอนเสิร์ต และการจัดมหรสพ
รายงานแจ้งด้วยว่า หลัง พล.อ.อภิรัชต์เซ็นคำสั่งดังกล่าว ได้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของกำลังพลในกองทัพบกอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นครั้งแรกที่มีการสั่งย้ายนายทหารชั้นนายพล ที่มีตำแหน่งระดับเจ้ากรมให้มาช่วยราชการภายในกองบัญชาการกองทัพบก อีกทั้ง พล.ต.ราชิตยังเป็นเพื่อนเตรียมทหารรุ่น 20 (ตท.20) และมีความสนิมสนมกับ พล.อ.อภิรัชต์
อนึ่ง ขณะนี้ทาง พล.ต.ราชิต ยังอยู่ระหว่างรักษาตัวจากการติดเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่ง พล.ต.ราชิต ติดเชื้อจากสนามมวยลุมพินีเมื่อวันที่ 6 มี.ค.เช่นกัน
5.รบ.เยียวยาผลกระทบโควิด-19 แจกเงินลูกจ้างนอกระบบ 1.5 หมื่นบาท ด้านประกันสังคมลดเงินสมทบ-เพิ่มประโยชน์ว่างงาน!
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในไทย รัฐบาลและหน่วยงานรัฐได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรูปแบบต่างๆ โดยในส่วนของสำนักงานประกันสังคม นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน เผยเมื่อวันที่ 22 มี.ค.ว่า คณะกรรมการประกันสังคมได้มีมติเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ประกันตน โดย 1.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงาน เนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ให้ขยายความคุ้มครองผู้ประกันตนจากภัยอันเกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ รวมทั้งภัยอื่นๆ ไม่ว่าจากธรรมชาติ หรือมีผู้ทำให้เกิดขึ้น โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.2563 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ประกันที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน อัตราร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 180 วัน กรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน
ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม กำหนดให้การจ่ายชดเชยกรณีว่างงานสูงสุดไม่เกินรายละ 15,000 บาทต่อเดือน ในกรณีการจ่ายชดเชยจากสถานการณ์โควิด-19 มติคณะกรรมการประกันสังคมให้ชดเชยร้อยละ 50 ต่อเดือน หรือเท่ากับไม่เกิน 7,500 ต่อเดือน ของเงินชดเชยสูงสุด 15,000 บาทต่อเดือน
2.เห็นชอบให้ลดอัตราเงินสมทบนายจ้างและผู้ประกันตน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอัตราร้อยละ 4 เป็นเวลา 6 เดือน พร้อมทั้งเห็นชอบให้ขยายกำหนดเวลการนำส่งเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตน มาตรา 33 39 สำหรับงวดค่าจ้างเดือน มี.ค. เม.ย. และ พ.ค.2563 ออกไปอีก 3 เดือน โดยงวดค่าจ้างเดือน มี.ค.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ก.ค.2563 สำหรับงวดค่าจ้างเดือน เม.ย.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ส.ค.2563 ส่วนงวดค่าจ้างเดือน พ.ค.2563 ให้นำส่งเงินภายในวันที่ 15 ก.ย.2563
นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังมีมติเห็นชอบให้จ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นแก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากกรณีลาออก ร้อยละ 45 เป็นเวลาไม่เกิน 90 วัน และจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่ว่างงานจากกรณีเลิกจ้าง ร้อยละ 70 เป็นเวลาไม่เกิน 200 วัน โดยมาตรการนี้ให้ใช้บังคับเป็นเวลา 2 ปี หลังจากนี้คณะกรรมการจะพิจารณาวิเคราะห์และมีมติพิจารณาอีกครั้ง
ด้านนายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยถึงมาตรการเยียวยากรณีผู้ประกันตนที่ป่วย ได้รับการวินิจฉัยว่าติดโควิด-19 ว่า ไม่ต้องจ่ายค่าตรวจหรือค่ายาใดๆ รวมถึงสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ หรือโรงพยาบาลของรัฐตามระบบประกันสังคม และเบิกจ่ายกรณีฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง หากผู้ประกันตนลาป่วยโดยได้รับค่าจ้างจากนายจ้างครบ 30 วัน แต่ต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ต่อไปอีก สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินทดแทนการขาดรายได้ ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี ด้านการปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานนั้น หากลาออกจะได้รับเงินทดแทนทั้งกรณีการขาดรายได้ กรณีเลิกจ้าง และกรณีเหตุสุดวิสัย ซึ่งครอบคลุมทั้งผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน และนายจ้างที่ถูกสั่งให้หยุดประกอบกิจการ
ส่วนในแง่รัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ออกมาตรการลดผลกระทบของโควิด-19 ระยะที่ 2 ด้วยการสนับสนุนเงิน 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ให้กับกลุ่มลูกจ้าง ลูกจ้างชั่วคราว อาชีพอิสระที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม รวมรับเงินคนละ 15,000 บาท คาดว่ามีกลุ่มนี้ประมาณ 3 ล้านคน และหากเงิน 5,000 ไม่เพียงพอกับการดำรงชีวิต มีสินเชื่อฉุกเฉิน 1 หมื่นบาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.1% ต่อเดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกัน นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อพิเศษ 5 หมื่นบาทต่อคน ดอกเบี้ย 0.35% ต่อเดือน ต้องมีหลักประกัน มาตรการทั้งหมดเริ่มทันทีช่วงต้นเดือน เม.ย.นี้
ด้านนายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เผยว่า การลงทะเบียนรับเงินเยียวยาของแรงงานนอกระบบจากภาครัฐ สามารถทำได้ 2 วิธี คือ ออนไลน์ และติดต่อธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารกรุงไทย แต่อยากให้ยื่นเรื่องผ่านออนไลน์มากกว่าเพื่อลดการแพร่เชื้อโควิด-19 โดยสามารถยื่นคำขอออนไลน์ผ่าน www.เราไม่ทิ้งกัน.com โดยเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.เป็นต้นไป ไม่มีกำหนดเวลาปิด เปิดให้ลงทะเบียนออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
นายลวรณ ยังเตือนไปถึงกลุ่มมิจฉาชีพที่ฉวยโอกาสในช่วงวิกฤติเอารัดเอาเปรียบผู้ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การหักหัวคิวหรือการหลอกลวงประชาชน เป็นต้น ขอให้หยุดการกระทำ โดยขณะนี้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องมีการตรวจสอบอย่างเข้มงวด และพร้อมจะดำเนินการตามกฎหมายทันที ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ