สธ.แถลงผู้ป่วยโควิดรายใหม่พุ่งพรวด 188 ราย กลุ่มสนามมวย 21 ราย ผับบาร์ 5 ราย สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้าทยอยป่วยอีก 37 ราย ยอดสะสม 599 ราย ย้ำ กทม. ปริมณฑล หยุดอยู่บ้าน อย่ากลับภูมิลำเนา เสี่ยงแพร่เชื้อเพิ่มในคนต่างจังหวัด มท.เสนอปิดด่านทั่วประเทศ 18 แห่ง ผู้ว่าฯกทม. ออกประกาศเพิ่ม เคลียร์ชัด ปิดห้างสรรพสินค้าทุกประเภท เว้นแต่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา ส่วนร้านอาหาร ให้รวมถึงร้านอาหารที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอย ต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น เชียงใหม่ สั่งปิดกราวรูดเหมือนกรุงเทพฯ เริ่มวันนี้-13 เม.ย. "อุตตม" ชงครม. คลอดมาตรการเยียวยา ชุด 2 เน้นดูแล "รายได้-ภาระค่าใช้จ่าย" ประชาชน ลุ้นแจกเงิน 2 พัน ขณะที่กระทรวงแรงงาน ยันผู้ประกันตนได้รับผลกระทบ หยุดงานช่วงโควิด ได้ชดเชยไม่เกินรายละ 7,500 บาท
วานนี้ (22 มี.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ว่ามีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่188 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องสถานที่มีผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 65 ราย คือ กลุ่มสนามมวย 21 ราย เป็นนักมวย เซียนมวย และผู้ชมจากกทม. เลย หนองบัวลำภู ปทุมธานี อุดรธานี ชลบุรี นนทบุรี พัทลุง แพร่ และสมุทรปราการ กลุ่มสถานบันเทิง 5 ราย เกี่ยวข้องพนักงานร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานต้อนรับ ทั้งจาก กทม. อุดรธานี และเพชรบูรณ์ โดยมีประวัติทำงานผับ ย่านทองหล่อ กลุ่มเข้าร่วมพิธีศาสนาที่มาเลเซีย 2 ราย ที่ นราธิวาส และยะลา และกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 37 ราย กระจายใน กทม. สมุทรปราการ สุโขทัย นนทบุรี ชลบุรี ปัตตานี สงขลา ขอนแก่น ปราจีนบุรี อุดรธานี สัมผัสผู้ป่วยกลุ่มสนามมวย กลุ่มสถานบันเทิง และกลุ่มกลับจากปอยเปต ประเทศกัมพูชา
2.ผู้ป่วยรายใหม่ 123 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเดินทางจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ทำงานผับปอยเปต นักเรียนกลับจากอิหร่าน เป็นต่างชาติ 2 ราย คือชาวสวิตเซอร์แลนด์ และอเมริกัน กลุ่มทำงาน หรืออาศัยในที่แออัด เจอคนจำนวนมาก หรือใกล้ชิดชางต่างชาติ 7 ราย คือ คนขายลอตเตอรี และค้าขายแถวสนามมวย และกลุ่มที่ได้รับผลแล็บ ยืนยันพบเชื้อแล้ว แต่รอการสอบสวนโรค 108 ราย เนื่องจากปริมาณเข้ามาจำนวนมาก ต้องขอเวลาสอบสวนโรค
สำหรับผู้ป่วยหนัก ยังเท่าเดิม 7 ราย ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจ ต้องเฝ้าระวังอาการใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 1 ราย เป็นชายชาวสิงคโปร์ อายุ 36 ปี จากสถาบันบำราศนราดูร โดยสรุปมีผู้ป่วยสะสม 599 ราย รักษาหาย 45 ราย ยังรักษาใน รพ. 553 ราย เสียชีวิต 1 ราย
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอความร่วมมือประชาชน หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และไม่มีอาการ ขอให้กักตัวเองที่บ้าน เพื่อสังเกตอาการ ไม่จำเป็นต้องมาตรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อในคนที่จำเป็น คือ มีไข้ ทางเดินหายใจเท่านั้น ซึ่งปริมาณตอนนี้ ที่ตรวจในแล็บ เป็นหลักหมื่นราย แต่เจอผู้ป่วย 4%
"ผู้ป่วยรายใหม่ ส่วนใหญ่พบในกทม. วัยหนุ่มสาว วัยทำงาน มีอาการเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ยังไปมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ และเมื่อป่วย ก็เกิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวนมาก เช่น กรณีสถานบันเทิง สนามมวย แม้ผู้ว่าฯ กทม. และผู้ว่าราชการจังหวัดในปริมณฑล จะสั่งปิดแล้วก็ตาม ก็ขอให้ทุกท่านอยู่ที่บ้าน อย่าเดินทางกลับไปภูมิลำเนาเด็ดขาด มีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลมีมาตรการนี้ขึ้นมา เพื่อหยุดการเคลื่อนย้าย ตอนนี้หยุดงานแล้ว พักที่บ้านก่อน อย่ากลับภูมิลำเนา เพราะคนต่างจังหวัดมี เด็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงรับเชื้อติดจากกทม.จำนวนมาก" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
เตือนผู้ว่าฯสกรีนเข้มคนออกจากกทม.
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึง กรณีที่ผู้ว่าฯ กทม. และ ผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนของปริมณฑล ที่ประกาศปิดสถานบริการต่างๆ เพื่อให้คนออกจากบ้านน้อยลง ในช่วง 3 สัปดาห์ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะทำให้แรงงาน คนทำงาน มีการเคลื่อนย้ายออกไปส่วนภูมิภาค ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายตัวโรคไปด้วย คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดให้จัดทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรค ระดับอำเภอ และหมู่บ้าน กรณีผู้เดินทางกลับจาก กทม. และปริมณฑล โดยขอให้ดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดตั้งทีมอาสา โควิด-19 ระดับอำเภอและหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวัง 2. จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจาก กทม. และปริมณฑล ที่มาถึงภูมิลำเนาตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.63 เป็นต้นไป 3. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เดินทางกลับจาก กทม.และ ปริมณฑล เพื่อแยกตัว สังเกตอาการไข้ และอาการทางเดินหายใจทุกวัน หลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นในที่พำนักอาศัย จนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา 4. แจ้งผู้เดินทางกลังจาก กทม. และ ปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำเคร่งครัด คือ ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมผู้อื่น หลีกเลี่ยงการพูดคุยใกล้ชิดผู้อื่น โดยเฉพาะสูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง และหากมีไข้ อาการทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัย และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังทำหนังสือถึง อธิบดีกรมขนส่งทางบก ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสนามบินดอนเมือง และผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ขอให้มีการทำความสะอาดยานพาหนะ ทั้งก่อนและหลังเดินทาง เก็บบันทึกข้อมูลชื่อ นามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้โดยสารเพื่อติดตามสอบถาม โดยบันทึกลงในแอปพลิเคชัน ของหน่วยงานหรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ตามความเหมาะสม คัดกรองผู้โดยสารก่อนออกเดินทางจาก กทม. และปริมณฑล หากพบมีไข้ อาการทางเดินหายใจ ขอให้งดเดินทาง และแนะนำให้กลับไปพัก เพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการในที่พำนัก หากอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
เผยผู้ป่วยต่างจังหวัดเพิ่มเท่าตัว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในต่างจังหวัด ขณะนี้ถือว่าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยวันที่ 19 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 213 ราย ต่างจังหวัด 59 ราย วันที่ 20 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 247 ราย ต่างจังหวัด 75 ราย วันที่ 21 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 284 ราย ต่างจังหวัด 127 ราย วันที่ 22 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 363 ราย ต่างจังหวัด 236 ราย จึงนำมาสู่การขอความร่วมมือว่า ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่ถูกสั่งปิด อย่าเพิ่งเดินทางกลับภูมิลำเนา เพราะอาจนำเชื้อไปแพร่ให้คนต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเเด็ก ผู้สูงอายุ คนใกล้ชิดในครอบครัว
มท.เสนอปิดด่านทางบกทั้งหมด18แห่ง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (22 มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะประธานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล และได้เรียก นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดสธ. ขึ้นหารือที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนที่เวลา 11.15 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เดินทางมาถึง และเข้าร่วมหารือด้วย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอเรื่องปิดด่านชายแดนทั้งหมดทั่วประเทศ เดิมอนุโลมให้เปิดด่านชายแดนถาวร จุดผ่อนปรนการค้า จังหวัดละ 1 ด่าน แต่ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. จะให้ปิดทั้งหมด 18 ด่าน 17 ในจังหวัด เฉพาะด่านทางบก ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ไม่ให้คนเข้า-ออก ใช้ส่งสินค้าได้เท่านั้น จะให้ผู้ว่าฯ สั่งการให้หยุดชั่วคราว ส่วนแต่ละด่านจะปิดถึงเมื่อไรนั้น แต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน โดยจะให้ผู้ว่าฯ ประสานประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีด่านทางบกทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา มาเลยเซีย ในการปิดด่าน
"อนุทิน"ชี้ไม่มีอำนาจประกาศเคอร์ฟิว
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเข้าประชุมกับนายกฯ ว่า ได้มารายงานสถานการณ์ หลังจากมีการประชุมชุดใหญ่ ร่วมกับคณะบดีแพทย์ศาสตร์ ซึ่งขณะนี้พบว่าผู้ป่สวยโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ขณะที่ รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขมี 3-4 แห่ง โดยส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น รามา ศริรราช ฯลฯ ดังนั้น ต้องเชิญคณบดี จากรพ.เหล่านี้มาหารือกัน ว่าจะร่วมทำงานกันอย่างไร และขณะนี้ขาดอะไร และต้องการให้สธ. สนับสนุนด้านใดเพิ่มเติม เพราะขณะนี้สธ. เป็นคนคุมสต๊อกทั้ง ยา และเวชภัณฑ์ ไปจนถึงชุดถุงมือ และหน้ากากอนามัยให้แพทย์ ซึ่งของส่วนใหญ่ ซื้อมาจากประเทศจีน จึงนำรายละเอียดมารายงานนายกฯ
เมื่อถามว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น นายกฯได้แสดงความกังวล หรือมีการเสนอให้มีใช้มาตรการที่เข้มข้นกว่านี้ หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้มาตราการต่างๆ ก็ใช้เต็มที่แล้ว เหลืออย่างเดียว ต่อให้เป็นกฎหมายออกมาอย่างไร ก็สู้ความร่วมมือไม่ได้ ทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการอยู่บ้าน หรือโซเชียล ดิสแพลนซิ่ง งดการสังสรรค์ แค่เพียง 2-3 สัปดาห์ ซึ่งองค์การอนามันโลก ได้ย้ำเรื่องนี้ให้ประชาชนได้ยินทุกวันว่า ให้แยกตัว และดูแลตัวเองให้ดี เป็นวิธีที่จะป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าทุกมาตรการ
เมื่อถามว่า ในช่วงประกาศงดออดจากบ้าน ปรากฏว่ามีประชาชนเดินทางกลับต่างจังหวัด เนื่องจากสถานประกอบการต่างๆ ปิดด้วย นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ออกมาตรการแบบนี้มา ก็เพื่อให้ทุกคนอยู่นิ่ง ถ้าผู้คนอยู่นิ่งได้ถึง 14 วัน ก็เท่ากับโรคนี้จะไม่มีการกระจาย จะเหลือเพียงผู้ป่วย แล้วเราก็ไปรักษาผู้ป่วย เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ ในการประกาศเคอร์ฟิว นายอนุทิน กล่าวว่า สธ.ทำงาน ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ไม่มีอำนาจ และบังคับอะไรมากไม่ได้ มีเพียงคำแนะนำว่า ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ร้านอาหารต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ออกประกาศกทม. เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศกทม. สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 21 มี.ค.63 เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแล้วนั้น เพื่อให้ความหมายของสถานที่ ที่จะต้องปิดเป็นการชั่วคราวตามประกาศดังกล่าวมีความเข้าใจตรงกัน และได้ปฏิบัติตามประกาศได้อย่างถูกต้อง จึงให้แก้ไขข้อความใน ข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศกทม. ดังนี้
1. ร้านอาหาร โดยรวมถึงร้านอาหารที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอยจำหน่ายอาหาร (ให้เปิด เฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น และร้านอาหารในโรงแรมที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยใน โรงแรม หรือจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น) ยกเว้นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบิน
2. ห้างสรรพสินค้า โดยรวมถึงศูนย์การค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ เว้นแต่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา หรือสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหาร (ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไป บริโภคที่อื่น) ไม่รวมถึงพื้นที่ตั้งของธนาคาร
เชียงใหม่ปิดกราวรูดเหมือนกรุงเทพฯ
วานนี้ (22 มี.ค.) ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร จ.เชียงใหม่ ได้แถลงข่าว สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ว่า เนื่องจากพบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม คณะกรรมการโรคติดต่อของจังหวัดฯ จึงต้องเพิ่มมาตรการปิดกั้นวงจรการแพร่ระบาด โดยประกาศปิดสถานที่เพิ่มเติมชั่วคราว ตั้งแต่ 18.00 น. วันที่ 23 มี.ค.- 24.00 น. วันที่ 13 เม.ย. 63 ประกอบด้วย
สถาบันการศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา, ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดแสดงนิทรรศการ, ปิดพื้นที่บางส่วนของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าที่มีร้านค้าย่อยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ยกเว้นพื้นที่ ซูเปอร์มาร์เกต ร้านขายยา หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำนักงาน ธนาคาร สำหรับร้านอาหาร ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายให้นำกลับเท่านั้น
ส่วนตลาดให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภค อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต, ถนนคนเดิน, ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม เปิดเฉพาะให้ซื้อกลับ ขณะที่ร้านอาหารในโรงแรม ให้เปิดบริการเฉพาะผู้เข้าพักเท่านั้น
ปิดพื้นที่นั่ง หรือยืนรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม, ปิดสถานบริการ และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ รวมถึงสถานที่มุ่งเน้นการขาย-แลกเปลี่ยนสุรา เพื่อดื่มกินในสถานที่นั้นๆ รวมถึงร้านเหล้าตอง, ปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ได้แก่ สปา ร้านนวด ร้านนวดเสริมความงาม สถานอบไอน้ำ อบสมุนไพร , ปิดร้านเสริมสวย ร้านตัดผม แต่งเล็บ, ปิดสถานที่สัก หรือเจาะผิวหนัง
ปิดสถานที่บริการควบคุมน้ำหนัก หรือฟิตเนส คลินิก/ สถานที่เสริมความงาม , ปิดสระว่ายน้ำ รวมถึงสระว่ายน้ำหมู่บ้าน- อาคารชุดที่พักอาศัย, ปิดสถานที่เล่นสเกต โรเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่นๆ, ปิดเครื่องเล่นภายใน ภายนอกอาคาร สวนสนุก โซนเครื่องเด็กเล่น, ร้านเกม อินเทอร์เน็ต, โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ โรงละคร, ร้านคาราโอเกะ, ปิดสนามกอล์ฟ, ศูนย์พระเครื่อง, สนามยิงปืน, บ่อตกปลา ตกกุ้ง, สนามกีฬาที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน , โต๊ะสนุกเกอร์ โบว์ลิ่ง, สนามมวย โรงเรียนสอนมวย, สนามชนไก่ สนามม้า
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558
สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วย จนถึงวันนี้ในเชียงใหม่ พบผู้ป่วยติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 12 ราย หายกลับบ้านแล้ว 1 ราย ยังรักษาตัวในรพ. 11 ราย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน สะสม 439 ราย กลับบ้านแล้ว 355 ราย ยังอยู่โรงพยาบาล 84 ราย (รวมทั้งผู้ป่วยยืนยัน)
คลังชงครม.ออกมาตรการเยียวยา
วานนี้ (22 มี.ค.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง โพสต์ผ่านFacebook ว่า มาตรการเศรษฐกิจดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากแผนสกัดโควิด-19 ระบุว่า กระทรวงการคลัง ได้ประสานหารือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงบประมาณ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ฯลฯ เพื่อร่วมกันจัดเตรียมชุดมาตรการด้านเศรษฐกิจ ดูแลบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง
มาตรการบรรเทาผลกระทบระยะแรก ได้ออกไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และวันนี้เราเห็นความจำเป็นของมาตรการเพิ่มเติมเป็นระยะที่ 2 เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ และแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับมาตรการระยะ 2 โดยรวมแล้ว เราให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบด้านต่างๆทั้ง รายได้ ภาระค่าใช้จ่าย และอื่นๆโดยพยายามให้ครอบคลุมทุกกลุ่มครับ พร้อมกันนั้นเราจะเตรียมมาตรการทางเศรษฐกิจ ที่อาจจำเป็นต้องเพิ่มเติมในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการมีผลและสามารถช่วยเหลือประชาชนได้รวดเร็ว กระทรวงการคลัง กำลังเตรียมนำเสนอมาตรการระยะ2 ต่อครม.
อีกเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบ คือ เมื่อช่วงบ่าย วานนี้ (22 มี.ค.) กระทรวงการคลัง ธปท. ก.ล.ต. สมาคม บลจ. สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมประกาศมาตรการดูแลตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ ในภาวะที่ไม่ปกติขณะนี้ ซึ่งเราตระหนักครับว่า ปัจจุบันมีผู้ลงทุนหลากหลายโดยเฉพาะประชาชนผู้ลงทุน บุคคลรายเล็กจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์
อีกทั้งเป็นการสร้างเสริมให้ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการไปได้มั่นคง ไม่กระทบภาคส่วนอื่นของเศรษฐกิจ เพราะระบบการเงินของประเทศปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงถึงกันหมด และให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมั่นใจได้ว่า ได้รับการดูแลที่เหมาะสม และทันสถานการณ์ สิ่งที่ประกาศวันนี้จึงถือมาตรการที่จำเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อดูแลประชาชนและระบบการเงินให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
ชดเชยหยุดงานคนละไม่เกิน 7,500 บาท
นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้มีการสั่งปิดสถานประกอบการ อยากชี้แจ้งให้ชัดเจนว่า "สถานประกอบการ"ที่รัฐสั่งปิด" กระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือ แบ่งเป็น 1. กรณีภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้ประกันตน กรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน (50% แต่ไม่ 7,500 บาท) 2.ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจาก Covid-19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานอัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน180วัน (50% แต่ไม่ 7,500 บาท)
ทั้งนี้ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม กำหนดให้การจ่ายชดเชย กรณีว่างงานสูงสุดไม่เกินรายละ 15,000 บาทในกรณีการจ่ายชดเชยจากสถานการณ์ปัญหาไวรัสโควิด มติคณะกรรมการประกันสังคมให้ชดเชยรายละ50% เท่ากับไม่เกินรายละ7,500 ของเงินชดเชยสูงสุด
ลุ้นครม.ฟื้นมาตรการแจกเงิน 2 พัน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง กล่าวว่า รัฐบาลจะนำมาตรการช่วยเหลือประชาชน ชุดที่ 2 เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และเสริมสภาพคล่อง ให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง ไม่มีงานทำ หรือไปทำงานไม่ได้ ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้หารือกันมาอย่างต่อเนื่องโดยครั้งแรกคิดว่าจะกระทบเพียงภาคท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ได้กระทบไปทุกภาคส่วน มาตรการชุด 2 นี้ หากไม่พอ จะผลักดันชุด 3 ออกมา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยประกาศแจกเงิน 2,000 บาท แต่ถูกต่อต้านจากหลายฝ่าย แต่ขณะนี้ผลกระทบจากโควิด-19รุนแรงมาก จน เงิน 2,000 บาท จะไม่เพียงพอ เพราะการพิจารณามาตรการช่วยเหลือครั้งก่อน แจก 2,000 บาทนั้น กับขณะนี้โจทย์เปลี่ยน รัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
"นอกจากนี้ จะนำเรื่องของการเช่าซื้อ โดยเฉพาะลูกค้าเงินกู้ เพื่อซื้อรถยนต์ ที่อาจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนไม่มีรายได้ ประกอบอาชีพตามปกติไม่ได้ จนกระทบต่อการชำระหนี้ เข้าหารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหามาตรการช่วยเหลือ และเตรียมเรียกบริษัทเช่าซื้อเข้าหารือ เพื่อผ่อนปรนเงื่อนไข" นายกอบศักดิ์ กล่าว
อย่าหลงเชื่อโฆษณาขายชุดตรวจ "โควิด-19"
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan”กรณีชุดตรวจอย่างรวดเร็ว “โควิด-19”ที่มีการโฆษณา และขายทางออนไลน์ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน IgG IgM ภูมิต้านทานดังกล่าว จะค่อยๆขึ้น หลังการติดเชื้อ มีอาการแล้ว 5 วันขึ้นไป ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์ในการที่จะมาวินิจฉัยโรค ที่มีอาการในระยะเริ่มแรก ชุดตรวจอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่จะมีความไวต่ำ และใช้ดูด้วยสายตา จึงยากที่จะบอกว่าเป็นบวก หรือลบ ในกรณีที่ขีดที่ขึ้นจางมาก ขออย่าเชื่อตามที่โฆษณา
ชุดตรวจหาภูมิต้านทานที่ใช้เครื่องมือตัว หรือที่เรียกว่า ELISA ยังต้องมีการเทียบค่า อีกมาก ปัจจุบันถึงแม้จะมีการจำหน่าย จะให้ใช้ในงานวิจัยเท่านั้น (RUO)research use only ยังไม่ให้นำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษา
ในการทำชุดตรวจ ถึงแม้ว่าจะเป็นการตรวจหาตัวไวรัส ให้ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการคิดค้น จะมีหลักการคล้ายๆ กันหมด ไม่ใช่เราคิดได้แต่เพียงผู้เดียว แต่จะต้องมีขั้นตอนในการศึกษาถึง หาความไวในการตรวจ เช่น ตรวจได้กี่ตัวของไวรัส และจะต้องเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน ว่าความไวเป็นอย่างไร มีความถูกต้องเท่าไร และจะต้องหาความจำเพาะ ว่ามีความจำเพาะกับ ไวรัส Covid 19 เท่านั้น ไม่ไปมีผลข้างเคียงให้ผลบวกปลอมกับไวรัส corona ตัวอื่นอีก 6 ตัว โดยเฉพาะ coronavirus ที่พบบ่อยและทำให้เกิดโรคหวัด 4 ตัว ได้แก่ OC43, 229E, NL63 และ HKU1 รวมทั้ง SARS CoV, MERS,และไวรัสที่ทําให้เกิดโรคทางเดินหายใจคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก และจะต้องทดสอบการทำซ้ำหลายๆ ครั้งว่าได้ผลเท่าเทียมกัน reproducible
ขั้นตอนในการทำชุดตรวจ จึงมีขั้นตอนมากมายกว่าจะถึงนำมาใช้จริงได้ วิธีการคิดในห้องปฏิบัติการ ไม่ยากเลย แต่วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งความไวและความจําเพาะ มีขั้นตอนมาก อุปสรรคในบ้านเราคือ การเก็บตัวอย่าง ไวรัส เกือบทุกชนิด ของโรคทางเดินหายใจไว้ เปรียบเทียบ ยังมีปัญหา
ชุดตรวจที่มาจากต่างประเทศ ก็จะต้องผ่านการทดสอบ ความไวความจำเพาะ และความถูกต้อง ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค และที่มีอยู่ขณะนี้ยังเป็น research use only ใครที่จะซื้อมาใช้เอง รวมทั้งการโฆษณาทั้งหลาย ก็ขอให้คิดให้หนัก
วานนี้ (22 มี.ค.) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ว่ามีผู้ป่วยยืนยันรายใหม่188 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. ผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องสถานที่มีผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 65 ราย คือ กลุ่มสนามมวย 21 ราย เป็นนักมวย เซียนมวย และผู้ชมจากกทม. เลย หนองบัวลำภู ปทุมธานี อุดรธานี ชลบุรี นนทบุรี พัทลุง แพร่ และสมุทรปราการ กลุ่มสถานบันเทิง 5 ราย เกี่ยวข้องพนักงานร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟ พนักงานต้อนรับ ทั้งจาก กทม. อุดรธานี และเพชรบูรณ์ โดยมีประวัติทำงานผับ ย่านทองหล่อ กลุ่มเข้าร่วมพิธีศาสนาที่มาเลเซีย 2 ราย ที่ นราธิวาส และยะลา และกลุ่มสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 37 ราย กระจายใน กทม. สมุทรปราการ สุโขทัย นนทบุรี ชลบุรี ปัตตานี สงขลา ขอนแก่น ปราจีนบุรี อุดรธานี สัมผัสผู้ป่วยกลุ่มสนามมวย กลุ่มสถานบันเทิง และกลุ่มกลับจากปอยเปต ประเทศกัมพูชา
2.ผู้ป่วยรายใหม่ 123 ราย แบ่งเป็นกลุ่มเดินทางจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นคนไทย 6 ราย ทำงานผับปอยเปต นักเรียนกลับจากอิหร่าน เป็นต่างชาติ 2 ราย คือชาวสวิตเซอร์แลนด์ และอเมริกัน กลุ่มทำงาน หรืออาศัยในที่แออัด เจอคนจำนวนมาก หรือใกล้ชิดชางต่างชาติ 7 ราย คือ คนขายลอตเตอรี และค้าขายแถวสนามมวย และกลุ่มที่ได้รับผลแล็บ ยืนยันพบเชื้อแล้ว แต่รอการสอบสวนโรค 108 ราย เนื่องจากปริมาณเข้ามาจำนวนมาก ต้องขอเวลาสอบสวนโรค
สำหรับผู้ป่วยหนัก ยังเท่าเดิม 7 ราย ทุกรายใส่เครื่องช่วยหายใจ ต้องเฝ้าระวังอาการใกล้ชิด นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 1 ราย เป็นชายชาวสิงคโปร์ อายุ 36 ปี จากสถาบันบำราศนราดูร โดยสรุปมีผู้ป่วยสะสม 599 ราย รักษาหาย 45 ราย ยังรักษาใน รพ. 553 ราย เสียชีวิต 1 ราย
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า การตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ขอความร่วมมือประชาชน หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง และไม่มีอาการ ขอให้กักตัวเองที่บ้าน เพื่อสังเกตอาการ ไม่จำเป็นต้องมาตรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจหาเชื้อในคนที่จำเป็น คือ มีไข้ ทางเดินหายใจเท่านั้น ซึ่งปริมาณตอนนี้ ที่ตรวจในแล็บ เป็นหลักหมื่นราย แต่เจอผู้ป่วย 4%
"ผู้ป่วยรายใหม่ ส่วนใหญ่พบในกทม. วัยหนุ่มสาว วัยทำงาน มีอาการเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้ยังไปมีกิจกรรมทางสังคมร่วมกับผู้อื่นได้ และเมื่อป่วย ก็เกิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวนมาก เช่น กรณีสถานบันเทิง สนามมวย แม้ผู้ว่าฯ กทม. และผู้ว่าราชการจังหวัดในปริมณฑล จะสั่งปิดแล้วก็ตาม ก็ขอให้ทุกท่านอยู่ที่บ้าน อย่าเดินทางกลับไปภูมิลำเนาเด็ดขาด มีความสำคัญอย่างยิ่ง รัฐบาลมีมาตรการนี้ขึ้นมา เพื่อหยุดการเคลื่อนย้าย ตอนนี้หยุดงานแล้ว พักที่บ้านก่อน อย่ากลับภูมิลำเนา เพราะคนต่างจังหวัดมี เด็ก ผู้สูงอายุ กลุ่มเสี่ยงรับเชื้อติดจากกทม.จำนวนมาก" นพ.ทวีศิลป์ กล่าว
เตือนผู้ว่าฯสกรีนเข้มคนออกจากกทม.
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึง กรณีที่ผู้ว่าฯ กทม. และ ผู้ว่าราชการจังหวัดในส่วนของปริมณฑล ที่ประกาศปิดสถานบริการต่างๆ เพื่อให้คนออกจากบ้านน้อยลง ในช่วง 3 สัปดาห์ ซึ่งมีแนวโน้มว่า จะทำให้แรงงาน คนทำงาน มีการเคลื่อนย้ายออกไปส่วนภูมิภาค ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายตัวโรคไปด้วย คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงทำหนังสือถึงผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดให้จัดทำแผนปฏิบัติการค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรค ระดับอำเภอ และหมู่บ้าน กรณีผู้เดินทางกลับจาก กทม. และปริมณฑล โดยขอให้ดำเนินงาน ดังนี้
1. จัดตั้งทีมอาสา โควิด-19 ระดับอำเภอและหมู่บ้าน เพื่อดำเนินการค้นหาและเฝ้าระวัง 2. จัดทำฐานข้อมูลของผู้เดินทางกลับจาก กทม. และปริมณฑล ที่มาถึงภูมิลำเนาตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.63 เป็นต้นไป 3. ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เดินทางกลับจาก กทม.และ ปริมณฑล เพื่อแยกตัว สังเกตอาการไข้ และอาการทางเดินหายใจทุกวัน หลีกเลี่ยงใกล้ชิดผู้อื่นในที่พำนักอาศัย จนครบ 14 วัน นับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา 4. แจ้งผู้เดินทางกลังจาก กทม. และ ปริมณฑล ปฏิบัติตามคำแนะนำเคร่งครัด คือ ไม่รับประทานอาหารและใช้ภาชนะร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมผู้อื่น หลีกเลี่ยงการพูดคุยใกล้ชิดผู้อื่น โดยเฉพาะสูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง และหากมีไข้ อาการทางเดินหายใจ ให้สวมหน้ากากอนามัย และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่
นอกจากนี้ ยังทำหนังสือถึง อธิบดีกรมขนส่งทางบก ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสนามบินดอนเมือง และผู้อำนวยการสนามบินสุวรรณภูมิ ขอให้มีการทำความสะอาดยานพาหนะ ทั้งก่อนและหลังเดินทาง เก็บบันทึกข้อมูลชื่อ นามสกุล และหมายเลขโทรศัพท์ ของผู้โดยสารเพื่อติดตามสอบถาม โดยบันทึกลงในแอปพลิเคชัน ของหน่วยงานหรือแอปพลิเคชันอื่นๆ ตามความเหมาะสม คัดกรองผู้โดยสารก่อนออกเดินทางจาก กทม. และปริมณฑล หากพบมีไข้ อาการทางเดินหายใจ ขอให้งดเดินทาง และแนะนำให้กลับไปพัก เพื่อเฝ้าระวังสังเกตอาการในที่พำนัก หากอาการไม่ดีขึ้น ให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน
เผยผู้ป่วยต่างจังหวัดเพิ่มเท่าตัว
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในต่างจังหวัด ขณะนี้ถือว่าเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยวันที่ 19 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 213 ราย ต่างจังหวัด 59 ราย วันที่ 20 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 247 ราย ต่างจังหวัด 75 ราย วันที่ 21 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 284 ราย ต่างจังหวัด 127 ราย วันที่ 22 มี.ค. ผู้ป่วย กทม.มี 363 ราย ต่างจังหวัด 236 ราย จึงนำมาสู่การขอความร่วมมือว่า ผู้ที่ทำงานในสถานที่ที่ถูกสั่งปิด อย่าเพิ่งเดินทางกลับภูมิลำเนา เพราะอาจนำเชื้อไปแพร่ให้คนต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเเด็ก ผู้สูงอายุ คนใกล้ชิดในครอบครัว
มท.เสนอปิดด่านทางบกทั้งหมด18แห่ง
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (22 มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะประธานศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้เดินทางเข้าทำเนียบรัฐบาล และได้เรียก นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดสธ. ขึ้นหารือที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนที่เวลา 11.15 น. พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เดินทางมาถึง และเข้าร่วมหารือด้วย
ทั้งนี้ มีรายงานว่า กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอเรื่องปิดด่านชายแดนทั้งหมดทั่วประเทศ เดิมอนุโลมให้เปิดด่านชายแดนถาวร จุดผ่อนปรนการค้า จังหวัดละ 1 ด่าน แต่ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค. จะให้ปิดทั้งหมด 18 ด่าน 17 ในจังหวัด เฉพาะด่านทางบก ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย ไม่ให้คนเข้า-ออก ใช้ส่งสินค้าได้เท่านั้น จะให้ผู้ว่าฯ สั่งการให้หยุดชั่วคราว ส่วนแต่ละด่านจะปิดถึงเมื่อไรนั้น แต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน โดยจะให้ผู้ว่าฯ ประสานประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีด่านทางบกทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา มาเลยเซีย ในการปิดด่าน
"อนุทิน"ชี้ไม่มีอำนาจประกาศเคอร์ฟิว
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวภายหลังเข้าประชุมกับนายกฯ ว่า ได้มารายงานสถานการณ์ หลังจากมีการประชุมชุดใหญ่ ร่วมกับคณะบดีแพทย์ศาสตร์ ซึ่งขณะนี้พบว่าผู้ป่สวยโควิด-19 ส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ขณะที่ รพ.ของกระทรวงสาธารณสุขมี 3-4 แห่ง โดยส่วนใหญ่ ขึ้นอยู่กับคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น รามา ศริรราช ฯลฯ ดังนั้น ต้องเชิญคณบดี จากรพ.เหล่านี้มาหารือกัน ว่าจะร่วมทำงานกันอย่างไร และขณะนี้ขาดอะไร และต้องการให้สธ. สนับสนุนด้านใดเพิ่มเติม เพราะขณะนี้สธ. เป็นคนคุมสต๊อกทั้ง ยา และเวชภัณฑ์ ไปจนถึงชุดถุงมือ และหน้ากากอนามัยให้แพทย์ ซึ่งของส่วนใหญ่ ซื้อมาจากประเทศจีน จึงนำรายละเอียดมารายงานนายกฯ
เมื่อถามว่า ตัวเลขที่เพิ่มขึ้น นายกฯได้แสดงความกังวล หรือมีการเสนอให้มีใช้มาตรการที่เข้มข้นกว่านี้ หรือไม่ นายอนุทิน กล่าวว่า ขณะนี้มาตราการต่างๆ ก็ใช้เต็มที่แล้ว เหลืออย่างเดียว ต่อให้เป็นกฎหมายออกมาอย่างไร ก็สู้ความร่วมมือไม่ได้ ทุกคนต้องให้ความร่วมมือในการอยู่บ้าน หรือโซเชียล ดิสแพลนซิ่ง งดการสังสรรค์ แค่เพียง 2-3 สัปดาห์ ซึ่งองค์การอนามันโลก ได้ย้ำเรื่องนี้ให้ประชาชนได้ยินทุกวันว่า ให้แยกตัว และดูแลตัวเองให้ดี เป็นวิธีที่จะป้องกันเชื้อโควิด-19 ได้ดีกว่าทุกมาตรการ
เมื่อถามว่า ในช่วงประกาศงดออดจากบ้าน ปรากฏว่ามีประชาชนเดินทางกลับต่างจังหวัด เนื่องจากสถานประกอบการต่างๆ ปิดด้วย นายอนุทิน กล่าวว่า ที่ออกมาตรการแบบนี้มา ก็เพื่อให้ทุกคนอยู่นิ่ง ถ้าผู้คนอยู่นิ่งได้ถึง 14 วัน ก็เท่ากับโรคนี้จะไม่มีการกระจาย จะเหลือเพียงผู้ป่วย แล้วเราก็ไปรักษาผู้ป่วย เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ ในการประกาศเคอร์ฟิว นายอนุทิน กล่าวว่า สธ.ทำงาน ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ไม่มีอำนาจ และบังคับอะไรมากไม่ได้ มีเพียงคำแนะนำว่า ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ร้านอาหารต้องซื้อกลับบ้านเท่านั้น
พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯกทม. ออกประกาศกทม. เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 3) ระบุว่า ตามที่ได้มีประกาศกทม. สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 21 มี.ค.63 เพื่อลดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไปแล้วนั้น เพื่อให้ความหมายของสถานที่ ที่จะต้องปิดเป็นการชั่วคราวตามประกาศดังกล่าวมีความเข้าใจตรงกัน และได้ปฏิบัติตามประกาศได้อย่างถูกต้อง จึงให้แก้ไขข้อความใน ข้อ 1 และข้อ 2 ของประกาศกทม. ดังนี้
1. ร้านอาหาร โดยรวมถึงร้านอาหารที่อยู่ในคูหา รถเข็น และแผงลอยจำหน่ายอาหาร (ให้เปิด เฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น และร้านอาหารในโรงแรมที่ให้บริการเฉพาะผู้ที่พักอาศัยใน โรงแรม หรือจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไปบริโภคที่อื่น) ยกเว้นร้านอาหารที่ตั้งอยู่ในบริเวณสนามบิน
2. ห้างสรรพสินค้า โดยรวมถึงศูนย์การค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ เว้นแต่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านขายยา หรือสินค้าเบ็ดเตล็ด ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต ร้านอาหาร (ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารเพื่อนำกลับไป บริโภคที่อื่น) ไม่รวมถึงพื้นที่ตั้งของธนาคาร
เชียงใหม่ปิดกราวรูดเหมือนกรุงเทพฯ
วานนี้ (22 มี.ค.) ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร จ.เชียงใหม่ ได้แถลงข่าว สถานการณ์การแพร่ระบาด โควิด-19 ว่า เนื่องจากพบผู้ป่วยใหม่เพิ่ม คณะกรรมการโรคติดต่อของจังหวัดฯ จึงต้องเพิ่มมาตรการปิดกั้นวงจรการแพร่ระบาด โดยประกาศปิดสถานที่เพิ่มเติมชั่วคราว ตั้งแต่ 18.00 น. วันที่ 23 มี.ค.- 24.00 น. วันที่ 13 เม.ย. 63 ประกอบด้วย
สถาบันการศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา, ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม สถานที่จัดแสดงนิทรรศการ, ปิดพื้นที่บางส่วนของห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือ ร้านค้าที่มีร้านค้าย่อยอยู่ในบริเวณเดียวกัน ยกเว้นพื้นที่ ซูเปอร์มาร์เกต ร้านขายยา หรือสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต สำนักงาน ธนาคาร สำหรับร้านอาหาร ให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายให้นำกลับเท่านั้น
ส่วนตลาดให้เปิดเฉพาะการจำหน่ายอาหารสด อาหารแห้ง อาหารปรุงสำเร็จ เพื่อนำกลับไปบริโภค อาหารสัตว์ ร้านขายยา และสินค้าเบ็ดเตล็ดที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต, ถนนคนเดิน, ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม เปิดเฉพาะให้ซื้อกลับ ขณะที่ร้านอาหารในโรงแรม ให้เปิดบริการเฉพาะผู้เข้าพักเท่านั้น
ปิดพื้นที่นั่ง หรือยืนรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม, ปิดสถานบริการ และสถานประกอบการที่คล้ายสถานบริการ รวมถึงสถานที่มุ่งเน้นการขาย-แลกเปลี่ยนสุรา เพื่อดื่มกินในสถานที่นั้นๆ รวมถึงร้านเหล้าตอง, ปิดสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ได้แก่ สปา ร้านนวด ร้านนวดเสริมความงาม สถานอบไอน้ำ อบสมุนไพร , ปิดร้านเสริมสวย ร้านตัดผม แต่งเล็บ, ปิดสถานที่สัก หรือเจาะผิวหนัง
ปิดสถานที่บริการควบคุมน้ำหนัก หรือฟิตเนส คลินิก/ สถานที่เสริมความงาม , ปิดสระว่ายน้ำ รวมถึงสระว่ายน้ำหมู่บ้าน- อาคารชุดที่พักอาศัย, ปิดสถานที่เล่นสเกต โรเลอร์เบลด หรือการเล่นอื่นๆ, ปิดเครื่องเล่นภายใน ภายนอกอาคาร สวนสนุก โซนเครื่องเด็กเล่น, ร้านเกม อินเทอร์เน็ต, โรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ โรงละคร, ร้านคาราโอเกะ, ปิดสนามกอล์ฟ, ศูนย์พระเครื่อง, สนามยิงปืน, บ่อตกปลา ตกกุ้ง, สนามกีฬาที่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน , โต๊ะสนุกเกอร์ โบว์ลิ่ง, สนามมวย โรงเรียนสอนมวย, สนามชนไก่ สนามม้า
ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม มาตรา 52 แห่ง พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558
สำหรับสถานการณ์ผู้ป่วย จนถึงวันนี้ในเชียงใหม่ พบผู้ป่วยติดเชื้อรวมทั้งสิ้น 12 ราย หายกลับบ้านแล้ว 1 ราย ยังรักษาตัวในรพ. 11 ราย มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน สะสม 439 ราย กลับบ้านแล้ว 355 ราย ยังอยู่โรงพยาบาล 84 ราย (รวมทั้งผู้ป่วยยืนยัน)
คลังชงครม.ออกมาตรการเยียวยา
วานนี้ (22 มี.ค.) นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง โพสต์ผ่านFacebook ว่า มาตรการเศรษฐกิจดูแลผู้ได้รับผลกระทบจากแผนสกัดโควิด-19 ระบุว่า กระทรวงการคลัง ได้ประสานหารือกับทุกหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ สำนักงบประมาณ สภาอุตสาหกรรม หอการค้า ฯลฯ เพื่อร่วมกันจัดเตรียมชุดมาตรการด้านเศรษฐกิจ ดูแลบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนอย่างต่อเนื่อง
มาตรการบรรเทาผลกระทบระยะแรก ได้ออกไปเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และวันนี้เราเห็นความจำเป็นของมาตรการเพิ่มเติมเป็นระยะที่ 2 เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ และแนวโน้มที่เปลี่ยนแปลงไป
สำหรับมาตรการระยะ 2 โดยรวมแล้ว เราให้ความสำคัญในการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบด้านต่างๆทั้ง รายได้ ภาระค่าใช้จ่าย และอื่นๆโดยพยายามให้ครอบคลุมทุกกลุ่มครับ พร้อมกันนั้นเราจะเตรียมมาตรการทางเศรษฐกิจ ที่อาจจำเป็นต้องเพิ่มเติมในอนาคตด้วย
ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรการมีผลและสามารถช่วยเหลือประชาชนได้รวดเร็ว กระทรวงการคลัง กำลังเตรียมนำเสนอมาตรการระยะ2 ต่อครม.
อีกเรื่องที่จะแจ้งให้ทราบ คือ เมื่อช่วงบ่าย วานนี้ (22 มี.ค.) กระทรวงการคลัง ธปท. ก.ล.ต. สมาคม บลจ. สมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมประกาศมาตรการดูแลตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะตลาดตราสารหนี้ ในภาวะที่ไม่ปกติขณะนี้ ซึ่งเราตระหนักครับว่า ปัจจุบันมีผู้ลงทุนหลากหลายโดยเฉพาะประชาชนผู้ลงทุน บุคคลรายเล็กจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์
อีกทั้งเป็นการสร้างเสริมให้ตลาดหลักทรัพย์ดำเนินการไปได้มั่นคง ไม่กระทบภาคส่วนอื่นของเศรษฐกิจ เพราะระบบการเงินของประเทศปัจจุบัน มีความเชื่อมโยงถึงกันหมด และให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมั่นใจได้ว่า ได้รับการดูแลที่เหมาะสม และทันสถานการณ์ สิ่งที่ประกาศวันนี้จึงถือมาตรการที่จำเป็นส่วนหนึ่ง เพื่อดูแลประชาชนและระบบการเงินให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
ชดเชยหยุดงานคนละไม่เกิน 7,500 บาท
นายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้มีการสั่งปิดสถานประกอบการ อยากชี้แจ้งให้ชัดเจนว่า "สถานประกอบการ"ที่รัฐสั่งปิด" กระทรวงแรงงานมีมาตรการช่วยเหลือ แบ่งเป็น 1. กรณีภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้ประกันตน กรณีว่างงาน ร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน (50% แต่ไม่ 7,500 บาท) 2.ผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจาก Covid-19 ประกันสังคมจะจ่ายกรณีว่างงานอัตราร้อยละ 50 เป็นระยะเวลาไม่เกิน180วัน (50% แต่ไม่ 7,500 บาท)
ทั้งนี้ตามพ.ร.บ.ประกันสังคม กำหนดให้การจ่ายชดเชย กรณีว่างงานสูงสุดไม่เกินรายละ 15,000 บาทในกรณีการจ่ายชดเชยจากสถานการณ์ปัญหาไวรัสโควิด มติคณะกรรมการประกันสังคมให้ชดเชยรายละ50% เท่ากับไม่เกินรายละ7,500 ของเงินชดเชยสูงสุด
ลุ้นครม.ฟื้นมาตรการแจกเงิน 2 พัน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง กล่าวว่า รัฐบาลจะนำมาตรการช่วยเหลือประชาชน ชุดที่ 2 เข้าสู่การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และเสริมสภาพคล่อง ให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้าง ไม่มีงานทำ หรือไปทำงานไม่ได้ ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้หารือกันมาอย่างต่อเนื่องโดยครั้งแรกคิดว่าจะกระทบเพียงภาคท่องเที่ยว แต่ขณะนี้ได้กระทบไปทุกภาคส่วน มาตรการชุด 2 นี้ หากไม่พอ จะผลักดันชุด 3 ออกมา
ก่อนหน้านี้รัฐบาลเคยประกาศแจกเงิน 2,000 บาท แต่ถูกต่อต้านจากหลายฝ่าย แต่ขณะนี้ผลกระทบจากโควิด-19รุนแรงมาก จน เงิน 2,000 บาท จะไม่เพียงพอ เพราะการพิจารณามาตรการช่วยเหลือครั้งก่อน แจก 2,000 บาทนั้น กับขณะนี้โจทย์เปลี่ยน รัฐบาลต้องช่วยเหลือประชาชนมากขึ้น
"นอกจากนี้ จะนำเรื่องของการเช่าซื้อ โดยเฉพาะลูกค้าเงินกู้ เพื่อซื้อรถยนต์ ที่อาจได้รับผลกระทบจากโควิด-19 จนไม่มีรายได้ ประกอบอาชีพตามปกติไม่ได้ จนกระทบต่อการชำระหนี้ เข้าหารือกับ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เพื่อหามาตรการช่วยเหลือ และเตรียมเรียกบริษัทเช่าซื้อเข้าหารือ เพื่อผ่อนปรนเงื่อนไข" นายกอบศักดิ์ กล่าว
อย่าหลงเชื่อโฆษณาขายชุดตรวจ "โควิด-19"
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว “Yong Poovorawan”กรณีชุดตรวจอย่างรวดเร็ว “โควิด-19”ที่มีการโฆษณา และขายทางออนไลน์ว่า ส่วนใหญ่จะเป็นการตรวจหาภูมิต้านทาน IgG IgM ภูมิต้านทานดังกล่าว จะค่อยๆขึ้น หลังการติดเชื้อ มีอาการแล้ว 5 วันขึ้นไป ดังนั้น จึงไม่มีประโยชน์ในการที่จะมาวินิจฉัยโรค ที่มีอาการในระยะเริ่มแรก ชุดตรวจอย่างรวดเร็วส่วนใหญ่จะมีความไวต่ำ และใช้ดูด้วยสายตา จึงยากที่จะบอกว่าเป็นบวก หรือลบ ในกรณีที่ขีดที่ขึ้นจางมาก ขออย่าเชื่อตามที่โฆษณา
ชุดตรวจหาภูมิต้านทานที่ใช้เครื่องมือตัว หรือที่เรียกว่า ELISA ยังต้องมีการเทียบค่า อีกมาก ปัจจุบันถึงแม้จะมีการจำหน่าย จะให้ใช้ในงานวิจัยเท่านั้น (RUO)research use only ยังไม่ให้นำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค เพื่อการรักษา
ในการทำชุดตรวจ ถึงแม้ว่าจะเป็นการตรวจหาตัวไวรัส ให้ได้อย่างรวดเร็ว วิธีการคิดค้น จะมีหลักการคล้ายๆ กันหมด ไม่ใช่เราคิดได้แต่เพียงผู้เดียว แต่จะต้องมีขั้นตอนในการศึกษาถึง หาความไวในการตรวจ เช่น ตรวจได้กี่ตัวของไวรัส และจะต้องเปรียบเทียบกับวิธีมาตรฐาน ว่าความไวเป็นอย่างไร มีความถูกต้องเท่าไร และจะต้องหาความจำเพาะ ว่ามีความจำเพาะกับ ไวรัส Covid 19 เท่านั้น ไม่ไปมีผลข้างเคียงให้ผลบวกปลอมกับไวรัส corona ตัวอื่นอีก 6 ตัว โดยเฉพาะ coronavirus ที่พบบ่อยและทำให้เกิดโรคหวัด 4 ตัว ได้แก่ OC43, 229E, NL63 และ HKU1 รวมทั้ง SARS CoV, MERS,และไวรัสที่ทําให้เกิดโรคทางเดินหายใจคนอื่นๆ อีกจำนวนมาก และจะต้องทดสอบการทำซ้ำหลายๆ ครั้งว่าได้ผลเท่าเทียมกัน reproducible
ขั้นตอนในการทำชุดตรวจ จึงมีขั้นตอนมากมายกว่าจะถึงนำมาใช้จริงได้ วิธีการคิดในห้องปฏิบัติการ ไม่ยากเลย แต่วิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งความไวและความจําเพาะ มีขั้นตอนมาก อุปสรรคในบ้านเราคือ การเก็บตัวอย่าง ไวรัส เกือบทุกชนิด ของโรคทางเดินหายใจไว้ เปรียบเทียบ ยังมีปัญหา
ชุดตรวจที่มาจากต่างประเทศ ก็จะต้องผ่านการทดสอบ ความไวความจำเพาะ และความถูกต้อง ก่อนที่จะถูกนำมาใช้ในการวินิจฉัยโรค และที่มีอยู่ขณะนี้ยังเป็น research use only ใครที่จะซื้อมาใช้เอง รวมทั้งการโฆษณาทั้งหลาย ก็ขอให้คิดให้หนัก