xs
xsm
sm
md
lg

สืบสาน รักษา ต่อยอด : ตำราฝนหลวงคือแก่นแกน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงนำฝนหลวงของไทยสู่การเป็นสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในปี 2529 ในกลุ่มประเทศที่มีการดัดแปรสภาพอากาศ ณ วันนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรตระหนักดีว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้านเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสู้กับสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยมีตำราฝนหลวงพระราชทานเป็นแนวทางหลักในการปฏิบัติ

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า กรมฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาต่อเนื่อง โดยนับแต่ปี 2529 ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบิดาแห่งฝนหลวง มีพระราชกระแสรับสั่งถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฝนหลวงบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์สากล กรมฯ จึงได้มีโครงการศึกษาวิจัยหลากหลายเพื่อต่อยอดเทคโนโลยีในการทำฝน โดยมีตำราฝนหลวงพระราชทานเป็นหลัก และเป็นแนวทางหลักในการปฏิบัติของการศึกษาของกรมฯ

กิจกรรมที่กรมฝนหลวงฯ ได้ศึกษา เช่น โครงการการพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเพื่อการทำฝน โครงการพัฒนาเทคนิคการติดตามและวัดผลการปฏิบัติการฝนหลวง โครงการพัฒนาระบบตรวจวัดข้อมูลน้ำฝนด้วยเรดาร์และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ การทำแผนที่ความต้องการน้ำ

“ทั้งนี้ เป็นการทำฝนหลวงเชิงรุกสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน 120 ล้านไร่ พื้นที่เกษตรน้ำฝนบางครั้งน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งปกติการบินจะมีการวางแผนเป็นปฏิทินรายปีเพื่อทำฝนในพื้นที่ลุ่มรับน้ำ แต่ในบางพื้นที่อยู่นอกแผนปฏิบัติการ อาจขาดแคลนน้ำ ก็จะมีการร้องขอผ่านช่องทางของเครือข่ายอาสาสมัครฝนหลวง หรือช่องทางหน้าเว็บไซต์ของกรมฯ บางครั้งการร้องขอของเกษตรกรอาจไม่ทันต่อความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรเพราะขาดน้ำหลายวัน ในขณะที่อีกจุดในพื้นที่ใกล้เคียงที่ปลูกพืชอีกชนิดอาจไม่ต้องการน้ำ ดังนั้น กรมฯ จึงได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือ เทคโนโลยีเพื่อสามารถที่จะระบุตำแหน่งที่ต้องการน้ำได้ด้วยกรมฯ เอง เป็นแผนที่ความต้องการน้ำ”

การทำฝนเชิงพื้นที่ จึงเป็นโจทย์สำคัญที่กรมฯ กำลังดำเนินการ เนื่องจากแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาคลักษณะอากาศและการเกิดเมฆจะต่างกัน บางพื้นที่เป็นเขตอับฝน ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาทำฝนเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา ซึ่งลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน พื้นที่ลุ่มรับน้ำแก่งกระจาน พื้นที่ขาดแคลนน้ำ เช่น ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นต้น ผลการศึกษาจะเป็นชุดข้อมูลเพื่อประกอบการทำฝนเชิงรุก

นางนรีลักษณ์ วรรณสาย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ กล่าวว่า งานวิจัยสำคัญที่กรมฯ กำลังดำเนินการ เช่น การพัฒนาเครื่องโปรยสารกึ่งอัตโนมัติเพื่อให้การโปรยสารมีความสม่ำเสมอมากที่สุดเพื่อให้จับกับเม็ดน้ำได้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันยังใช้คนขึ้นไปกับเครื่องบินฝนหลวงเพื่อโปรยสารจึงขาดความสม่ำเสมอ เรื่องนี้กรมฯ ได้ของบวิจัยปี 2563 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาอีก 2-3 ปี

“อีกงานวิจัยที่สำคัญคือ การศึกษาหาสารฝนหลวงทางเลือก เพื่อให้สามารถใช้ในการทำฝนกรณีที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศน้อยกว่า 60% ซึ่งเป็นอากาศที่เหมาะต่อการทำฝน แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพอากาศแปรปรวนมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดฤดูแล้งยาวนานมากขึ้น สารฝนหลวงทางเลือกที่กำลังศึกษา จึงมุ่งหวังว่าจะสามารถทำฝนได้แม้จะมีความชื้นในอากาศที่ประมาณ 45% เพื่อใช้ในช่วงที่เกิดภัยแล้งยาวนาน ความชื้นไม่พอและอากาศไม่เอื้ออำนวยที่จะใช้สารฝนหลวงตามสูตรพระราชทาน โดยที่ผ่านมาศึกษามาประมาณ 2 ปี ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือห้องแล็บเพื่อวัดผล ก็พบว่าผลยังไม่เสถียร จึงต้องวิจัยต่อซึ่งได้งบจาก สวก.มาพัฒนาเช่นกัน”

นอกจากนั้น กรมฯ กำลังศึกษาการทำจรวดฝนหลวงมวลเบาร่วมกับกองทัพอากาศ การศึกษาการทำฝนหลวงโดยการเผาสารฝนหลวงจากพื้นดินสู่เมฆ โดยใช้การเผาสารในพื้นที่สูง กรมฯ ได้มีการทดลองที่บริเวณ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการเผาโซเดียมคลอไรด์ และแคลเซียมคลอไรด์ ขึ้นไปในอากาศ ซึ่งหากสำเร็จจะสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในพื้นที่อับฝน ซึ่งในต่างประเทศจะเป็นการยิงซิลเวอร์คลอไรด์ ดังนั้นจึงเป็นการศึกษาเพื่อให้กรมฯ มีโอกาสที่จะทำฝนได้มากที่สุดในทุกสภาพอากาศเพื่อประชาชน

การศึกษาของกรมฝนหลวงฯ ในเชิงรุกครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาฝนหลวง เพื่อให้ตำราฝนหลวงเป็นตำราของโลก ของทุกคน สมดั่งพระราชปณิธาณของพระบิดาแห่งฝนหลวง


พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงนำฝนหลวงของไทยสู่การเป็นสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลกในปี 2529 ในกลุ่มประเทศที่มีการดัดแปรสภาพอากาศ ณ วันนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรตระหนักดีว่าการพัฒนาเทคโนโลยีในหลายด้านเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อสู้กับสภาพอากาศที่แปรปรวน โดยมีตำราฝนหลวงพระราชทานเป็นแนวทางหลักในการปฏิบัติ

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า กรมฯ ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการดัดแปรสภาพอากาศมาต่อเนื่อง โดยนับแต่ปี 2529 ที่ในหลวงรัชกาลที่ ๙ พระบิดาแห่งฝนหลวง มีพระราชกระแสรับสั่งถึงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีฝนหลวงบนพื้นฐานวิทยาศาสตร์สากล กรมฯ จึงได้มีโครงการศึกษาวิจัยหลากหลายเพื่อต่อยอดเทคโนโลยีในการทำฝน โดยมีตำราฝนหลวงพระราชทานเป็นหลัก และเป็นแนวทางหลักในการปฏิบัติของการศึกษาของกรมฯ

กิจกรรมที่กรมฝนหลวงฯ ได้ศึกษา เช่น โครงการการพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศเพื่อการทำฝน โครงการพัฒนาเทคนิคการติดตามและวัดผลการปฏิบัติการฝนหลวง โครงการพัฒนาระบบตรวจวัดข้อมูลน้ำฝนด้วยเรดาร์และเครื่องวัดน้ำฝนอัตโนมัติ การทำแผนที่ความต้องการน้ำ

“ทั้งนี้ เป็นการทำฝนหลวงเชิงรุกสำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทาน 120 ล้านไร่ พื้นที่เกษตรน้ำฝนบางครั้งน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งปกติการบินจะมีการวางแผนเป็นปฏิทินรายปีเพื่อทำฝนในพื้นที่ลุ่มรับน้ำ แต่ในบางพื้นที่อยู่นอกแผนปฏิบัติการ อาจขาดแคลนน้ำ ก็จะมีการร้องขอผ่านช่องทางของเครือข่ายอาสาสมัครฝนหลวง หรือช่องทางหน้าเว็บไซต์ของกรมฯ บางครั้งการร้องขอของเกษตรกรอาจไม่ทันต่อความเสียหายของพืชผลทางการเกษตรเพราะขาดน้ำหลายวัน ในขณะที่อีกจุดในพื้นที่ใกล้เคียงที่ปลูกพืชอีกชนิดอาจไม่ต้องการน้ำ ดังนั้น กรมฯ จึงได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาเครื่องมือ เทคโนโลยีเพื่อสามารถที่จะระบุตำแหน่งที่ต้องการน้ำได้ด้วยกรมฯ เอง เป็นแผนที่ความต้องการน้ำ”

การทำฝนเชิงพื้นที่ จึงเป็นโจทย์สำคัญที่กรมฯ กำลังดำเนินการ เนื่องจากแต่ละพื้นที่ แต่ละภูมิภาคลักษณะอากาศและการเกิดเมฆจะต่างกัน บางพื้นที่เป็นเขตอับฝน ที่ผ่านมาได้มีการศึกษาทำฝนเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา ซึ่งลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน พื้นที่ลุ่มรับน้ำแก่งกระจาน พื้นที่ขาดแคลนน้ำ เช่น ต.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เป็นต้น ผลการศึกษาจะเป็นชุดข้อมูลเพื่อประกอบการทำฝนเชิงรุก

นางนรีลักษณ์ วรรณสาย ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีฝนหลวง ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ศึกษาในเรื่องเหล่านี้ กล่าวว่า งานวิจัยสำคัญที่กรมฯ กำลังดำเนินการ เช่น การพัฒนาเครื่องโปรยสารกึ่งอัตโนมัติเพื่อให้การโปรยสารมีความสม่ำเสมอมากที่สุดเพื่อให้จับกับเม็ดน้ำได้มากที่สุด เนื่องจากปัจจุบันยังใช้คนขึ้นไปกับเครื่องบินฝนหลวงเพื่อโปรยสารจึงขาดความสม่ำเสมอ เรื่องนี้กรมฯ ได้ของบวิจัยปี 2563 จากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาอีก 2-3 ปี

“อีกงานวิจัยที่สำคัญคือ การศึกษาหาสารฝนหลวงทางเลือก เพื่อให้สามารถใช้ในการทำฝนกรณีที่ความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศน้อยกว่า 60% ซึ่งเป็นอากาศที่เหมาะต่อการทำฝน แต่เนื่องจากปัจจุบันสภาพอากาศแปรปรวนมาก มีความเสี่ยงต่อการเกิดฤดูแล้งยาวนานมากขึ้น สารฝนหลวงทางเลือกที่กำลังศึกษา จึงมุ่งหวังว่าจะสามารถทำฝนได้แม้จะมีความชื้นในอากาศที่ประมาณ 45% เพื่อใช้ในช่วงที่เกิดภัยแล้งยาวนาน ความชื้นไม่พอและอากาศไม่เอื้ออำนวยที่จะใช้สารฝนหลวงตามสูตรพระราชทาน โดยที่ผ่านมาศึกษามาประมาณ 2 ปี ทำการทดลองในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์หรือห้องแล็บเพื่อวัดผล ก็พบว่าผลยังไม่เสถียร จึงต้องวิจัยต่อซึ่งได้งบจาก สวก.มาพัฒนาเช่นกัน”

นอกจากนั้น กรมฯ กำลังศึกษาการทำจรวดฝนหลวงมวลเบาร่วมกับกองทัพอากาศ การศึกษาการทำฝนหลวงโดยการเผาสารฝนหลวงจากพื้นดินสู่เมฆ โดยใช้การเผาสารในพื้นที่สูง กรมฯ ได้มีการทดลองที่บริเวณ อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการเผาโซเดียมคลอไรด์ และแคลเซียมคลอไรด์ ขึ้นไปในอากาศ ซึ่งหากสำเร็จจะสามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ในพื้นที่อับฝน ซึ่งในต่างประเทศจะเป็นการยิงซิลเวอร์คลอไรด์ ดังนั้นจึงเป็นการศึกษาเพื่อให้กรมฯ มีโอกาสที่จะทำฝนได้มากที่สุดในทุกสภาพอากาศเพื่อประชาชน

การศึกษาของกรมฝนหลวงฯ ในเชิงรุกครั้งนี้จึงเป็นการศึกษาเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอดศาสตร์พระราชาฝนหลวง เพื่อให้ตำราฝนหลวงเป็นตำราของโลก ของทุกคน สมดั่งพระราชปณิธาณของพระบิดาแห่งฝนหลวง






กำลังโหลดความคิดเห็น